ศ. พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

 ศ. พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก The American College of Chest Physicians (CHEST)

และ The Chest Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

นิตยสาร สกุลไทย รายสัปดาห์  ปีที่ 50  ฉบับที่ 2593  ISSN 0125-068 X

ประจำวันอังคาร วันที่ 29 มิถุนายน 2547

สัมภาษณ์พิเศษ พิชามญช์ เรื่อง สุทธิพันธ์ ภาพ

 

แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์

แพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จากสหรัฐอเมริกา

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

เด็กชายที่กำลังนั่งดูวิดีโอทางการแพทย์อย่างตั้งอกตั้งใจคนนี้ชื่อ เด็กชายกัน ไพโรจน์กีรติกุล วัย 8 ขวบ ดูรูปร่างค่อนข้างผอม แต่ท่าทางเฉลียวฉลาด ที่คอของเขามีรอยแผลเป็นเล็กๆ   ถ้าดูให้ดี หน้าของเขาช่างดูละม้ายคล้ายคลึงกับหน้าของทารกน้อยในภาพบนจอโทรทัศน์ที่กำลังร้องไห้จ้า  ขณะได้รับการดูดเสมหะโดยทีมพยาบาลของโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อ 8 ปีก่อน

ภาพบันทึกจากวิดีโอแสดงถึงวิธีการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่เด็กชายกัน ซึ่งป่วยด้วยโรคไม่มีกระบังลมด้านขวาตั้งแต่แรกเกิด  หันกลับมาดูเทียบกับภาพเด็กชายวัย 8 ขวบ ที่สามารถเดิน วิ่ง พูดและมีชีวิตเหมือนเด็กปกติทั่วไป เป็นภาพที่อธิบายได้ดียิ่งกว่าคำพูดใดๆ ถึงความสำเร็จของทีมแพทย์และพยาบาลหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก นำโดย  รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ หัวหน้าหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี           ซึ่งได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนทางระบบหายใจ ที่จำเป็นต้องใช้ เครื่องช่วยหายใจ ให้สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้อย่างปลอดภัย  และประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 30 ราย

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 1  น้องกัน กำลังถูกดูดเสมหะ โดยอาม่า ที่ รพ.รามาธิบดี

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 2   ทีมแพทย์และพยาบาล รพ.รามาธิบดี ส่งน้องกัน ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ กลับบ้าน 

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

 ภาพที่ 3   น้องกัน หลังเลิกใช้เครื่องช่วยหายใจและถอดท่อเจาะคอ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยยังไม่มีโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในลักษณะดังกล่าว  แต่เดิมผู้ป่วยเหล่านี้จำต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน อาจเป็นเดือน เป็นปี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย ทั้งทางด้านขวัญกำลังใจของผู้ป่วยและครอบครัว  หลายรายต้องจบชีวิตในโรงพยาบาล จากการติดเชื้อ ดื้อยา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ล่าสุด... ความก้าวหน้าด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก ที่มีปัญหาซับซ้อนดังกล่าว ของหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยเมื่อปลายปี 2546 ที่ผ่านมา The American College of Chest Physicians (CHEST) และ The Chest Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คัดเลือกแพทย์โรคระบบหายใจที่ทำงานอุทิศตัว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและสังคมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้มอบรางวัล Governors Community Service Award ประจำปี 2546 แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ นับเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 4   รับรางวัล Governors Community Service Award จาก Professor Allen Goldberg  ที่สหรัฐอเมริกา

 

 

ภาพที่ 4   รับรางวัล Governors Community Service Award  จาก Professor Allen Goldberg  ที่สหรัฐอเมริกา
 

 ภาพที่ 5   ถ่ายกับแพทย์ต่างชาติที่มารับรางวัล Governors Community Service Award ในปีเดียวกันที่ Universal Studio, Florida, USA.

 

ความสำเร็จของแพทย์ไทยคนหนึ่งในระดับโลกย่อมมีคำถามมากมายถึงที่มาแห่งความสำเร็จ คำตอบแรกของ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงอรุณวรรณ ก็คือ “ขอเรียนว่าสิ่งที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัล คือเรามีทีมงานที่ดี ตั้งแต่อาจารย์ของหมอ 2 ท่าน ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุภรี  สุวรรณจูฑะ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีรชัย  ฉันทโรจน์ศิริ ที่ได้วางรากฐานหน่วยไว้อย่างดี ทีมแพทย์และพยาบาลที่ทุ่มเทเสียสละช่วยเหลือกันทำงานหนัก  โดยเฉพาะพยาบาลต้องใช้เวลามาก ในการฝึกฝนทักษะการปฏิบัติให้แก่พ่อแม่ปู่ย่าตายายของผู้ป่วย  เพื่อบำบัดรักษาทางระบบหายใจ จนเขามั่นใจ มีความสามารถเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยได้ด้วยตัวเอง  ผู้ป่วยแต่ละคนกว่าจะกลับบ้านได้ก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน  โชคดีที่รามามีทีมพยาบาลเยี่ยมบ้าน ออกไปเยี่ยมถึงบ้าน สัปดาห์ละครั้ง   อีกอย่างเราได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา  เลยทำให้โครงการนี้สำเร็จได้”

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 6   ทีมหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก  โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

การดูแลบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านหรือ Pediatric Respiratory Home Care อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศในแถบตะวันตก โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร…….

“ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของระบบหายใจบกพร่อง  จนจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางรายที่เป็นแบบเรื้อรัง ไม่สามารถหยุดใช้เครื่องได้  เลยต้องอาศัยนอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ  มักจะมีปัญหาแทรกซ้อนจนกระทั่งเสียชีวิตไปส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นก็จะสิ้นเปลือง สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

การดูแลรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยเด็กนี้ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2538 ริเริ่มโดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุภรี  สุวรรณจูฑะ หัวหน้าหน่วยในขณะนั้น ตอนนั้นหมอเพิ่งกลับมาจากการฝึกอบรมทางระบบหายใจเด็กที่ Johns Hopkins Hospital สหรัฐอเมริกา และได้เรียนรู้ว่าที่อเมริกาการดูแลผู้ป่วยของเขาดีกว่าเรามาก คนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถกลับบ้านได้ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตดี ไปไหนต่อไหนได้ ไม่ต้องนอนอยู่แต่ในโรงพยาบาล ก็รู้สึกสงสารคนไข้บ้านเรา เพราะตรงข้ามกับเขาอย่างสิ้นเชิง

แต่ทีนี้มีสิ่งหนึ่งที่หมอคิดว่าอเมริกากับเมืองไทยไม่เหมือนกัน ก็คือเขามีเงิน มีเครื่องไม้เครื่องมือเยอะ มีระบบประกันสุขภาพ ถ้าคนไข้มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รัฐบาลหรือบริษัทประกันก็สนับสนุน เพราะเห็นว่าการอยู่โรงพยาบาลเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก   เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ก็จะมีการส่งพยาบาลตามไปดูแลให้ที่บ้านด้วย  ค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ยังถูกกว่าให้คนไข้อยู่โรงพยาบาลมากๆ   ตรงนี้เองที่หมอคิดว่าในเมืองไทยเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เราอาจจะหาบริจาคมาได้ แต่ปัญหาก็คือเราจะไปหาพยาบาลที่ไหนไปดูแลคนไข้ที่บ้าน ก็เลยคิดกันกับทีมว่าเป็นไปได้ไหมที่จะให้ญาติพี่น้องหรือพ่อแม่คนไข้เป็นผู้ดูแลแทนพยาบาล

เมืองนอกเขาไม่เหมือนเรา อย่างในอเมริกา ญาติพี่น้องมักไม่ได้อยู่ด้วยกัน  มักจะเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ก็ต้องออกไปทำงานหาเงิน แต่บ้านเราญาติพี่น้องเยอะ ครอบครัวก็รักกัน ใกล้ชิดกันมากกว่า ก็เลยลองคุยกับญาติๆ คนไข้ว่า เป็นไปได้ไหมที่คุณพ่อคุณแม่หรือญาติจะมาฝึกกับทีมพยาบาลของเรา เป็นการฝึกกันแบบตัวต่อตัวเลยนะ ใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าสามารถทำได้ ลูกของคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้กลับบ้าน”

การบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อน  มีรายละเอียดมากมาย            ทีมแพทย์และพยาบาลต้องให้ความรู้แก่ญาติผู้ป่วย  ทั้งการให้ออกซิเจน การเคาะปอด การพ่นยาขยายหลอดลม การดูดเสมหะ การดูแลท่อเจาะคอ  การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน การสังเกตอาการฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  แต่หัวใจหลักของความสำเร็จกลับไม่ใช่กระบวนการทางการแพทย์ แต่เป็น  “ความรักของคนในครอบครัว”  ซึ่งทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการเสาะแสวงหาความรู้ และฝึกทักษะในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

“ตอนแรกที่เริ่มฝึกญาติ   หมอไม่สบายใจมากเลย เพราะไม่แน่ใจว่าแนวความคิดหรือการกระทำอย่างนี้จะสำเร็จหรือเปล่า เพราะอยู่ๆ เราไปเอาพ่อแม่ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญทางการแพทย์มาปฏิบัติ  กลับบ้านไปคนไข้จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดคนไข้เป็นอะไรไป เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   แต่พอทำต่อๆ ไปสักพัก ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กลับกลายเป็นว่าระดับความรู้ของคนดูแลที่บ้านไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ ความตั้งใจและความรักที่มีต่อเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า อย่างน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  ก็มีอาม่ากับพ่อแม่เป็นคนคอยดูแล  ทำให้เห็นถึงความเสียสละ ความรักของครอบครัวคนไทยที่มีให้ลูกหลาน  ทำให้เด็กป่วยหนักคนหนึ่งสามารถกลับบ้าน ไปใช้ชีวิตเหมือนเด็กปกติได้ ซึ่งตรงนี้ประเทศไหนๆ ก็ไม่เหมือนเรา

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

 ภาพที่ 7   น้องกัน อยู่ที่บ้าน มีอาม่าคอยดูแล ช่วยเคาะปอด ดูดเสมหะ และอื่นๆ

 

ตอนที่หมอไปรับรางวัลที่อเมริกา  เขาชื่นชมเรามากในเรื่องนี้ เขาบอกว่าเมืองไทยอาจจะไม่มีเงินนะ แต่สามารถทำในสิ่งที่ทำได้ยากแล้วก็ลงทุนสูงมากให้ประสบความสำเร็จได้ เหตุผลหนึ่งก็เพราะบ้านเราชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวให้ความสำคัญกับเด็ก   พ่อแม่มีความสุขที่จะเสียสละอุทิศกำลังกาย กำลังใจ ให้ความรักความอบอุ่นกับลูก ผลสำเร็จของเราจึงไม่น้อยหน้าต่างประเทศที่เขาใช้พยาบาลมืออาชีพ นอกจากนี้เราก็ยังมีผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนด้านทุนทรัพย์หมอได้กำลังใจและความสนับสนุนจากเพื่อนๆ ของหมอซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ได้ทุนจากหลายแหล่ง  อย่างเช่น มูลนิธิรามาธิบดี   สโมสรโรตารี่   กองทุนของคุณสุภา  ทองอุไทย และส่วนหนึ่งก็เป็นครอบครัวของคนไข้ที่เห็นอกเห็นใจกัน และได้รับบริจาคเครื่องช่วยหายใจเก่าๆ มาจาก Mr.Tim Buckleys บริษัท Walgreens สหรัฐอเมริกา”

 

ตอนที่หมอไปรับรางวัลที่อเมริกา  เขาชื่นชมเรามากในเรื่องนี้ เขาบอกว่าเมืองไทยอาจจะไม่มีเงินนะ แต่สามารถทำในสิ่งที่ทำได้ยากแล้วก็ลงทุนสูงมากให้ประสบความสำเร็จได้ เหตุผลหนึ่งก็เพราะบ้านเราชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวให้ความสำคัญกับเด็ก   พ่อแม่มีความสุขที่จะเสียสละอุทิศกำลังกาย กำลังใจ ให้ความรักความอบอุ่นกับลูก ผลสำเร็จของเราจึงไม่น้อยหน้าต่างประเทศที่เขาใช้พยาบาลมืออาชีพ นอกจากนี้เราก็ยังมีผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนด้านทุนทรัพย์หมอได้กำลังใจและความสนับสนุนจากเพื่อนๆ ของหมอซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ได้ทุนจากหลายแหล่ง  อย่างเช่น มูลนิธิรามาธิบดี   สโมสรโรตารี่   กองทุนของคุณสุภา  ทองอุไทย และส่วนหนึ่งก็เป็นครอบครัวของคนไข้ที่เห็นอกเห็นใจกัน และได้รับบริจาคเครื่องช่วยหายใจเก่าๆ มาจาก Mr.Tim Buckleys บริษัท Walgreens สหรัฐอเมริกา”
 

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

 

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี
 

 ภาพที่ 9   น้องอาร์ม ใช้เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา

 

อาจกล่าวได้ว่าขณะนี้หน่วยโรคระบบหายใจเด็กของโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Respiratory Home Care)             ที่ดีที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยผลงานที่ประสบความสำเร็จมากมาย โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเด็กกลับไปใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านได้ 36 ราย มีผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านนานที่สุด 7 ปี ผู้ป่วย 10 ราย สามารถหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจได้ และบางรายก็หายเป็นปกติ

“คนไข้ที่ถือว่าร้ายแรงแต่ประสบความสำเร็จในการรักษา ก็ขอยกตัวอย่างกรณีน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  เมื่อแรกที่เกิดมา ข้างขวาไม่มีกระบังลม เพราะฉะนั้นตับที่ควรจะอยู่ในช่องท้องก็เลยเลื่อนขึ้นมาทับปอดที่อยู่ในช่องอกด้านขวา ทำให้หายใจไม่สะดวก  เนื้อปอดด้านขวาก็มีปริมาณน้อยกว่าปกติด้วย กรณีนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน จนกว่าเด็กจะสามารถหายใจเองได้

กรณีของน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  หมอประทับใจมาก เพราะว่าเขาอยู่โรงพยาบาลมานานเป็นปี แล้วก็ไม่คิดว่าจะกลับบ้านได้ ฐานะทางบ้านก็ไม่ดีนัก คนดูแลก็คืออาม่าซึ่งเราก็ลองฝึกดู และประกาศขอรับบริจาคอุปกรณ์ ปรากฏว่าอาม่าตั้งใจฝึกดีมาก เวลามีปัญหาเฉพาะหน้าก็แก้ไขได้ ก็เลยให้กลับบ้าน ช่วงแรกที่กลับบ้านก็เกิดเหตุฉุกละหุก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไฟฟ้าดับ เครื่องดูดเสมหะต้องใช้ไฟ พอไฟดับเสมหะก็อุดตันในหลอดลม  พ่อก็ต้องรีบอุ้มพาน้องกันไปโรงพยาบาลใกล้บ้านที่สุด ตอนที่กลับบ้านน้องกันยังเด็กมาก ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแล 24 ชั่วโมง ไม่ให้เขาดึงโน่นดึงนี่

ในที่สุดพอเขาโตขึ้น ปอดขยายใหญ่ขึ้น ก็สามารถหายใจเองได้ เราสามารถเอาท่อเจาะคอออกได้ สามารถไปโรงเรียนได้ กรณีของน้องกันทำให้ทีมงานเรามีกำลังใจ  ทีแรกเราไม่กล้าไปพูดกับใครเลย เพราะไม่แน่ใจว่าเราทำถูกหรือเปล่า ไปเอาพ่อแม่หรือญาติมาฝึก ถ้าเด็กเป็นอะไรไป ใครจะรับผิดชอบ แต่ถ้าพ่อแม่หรือญาติมีความตั้งใจจริง รักเด็กจริงๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็สำเร็จ เคยมีนะคะ คนที่ร่ำรวยมหาศาลแต่พ่อแม่ไม่ร่วมมือด้วย มันก็ไม่สำเร็จ เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว

....อีกกรณีหนึ่งก็คือน้องโก๊ะ คนนี้น่าสงสารมาก คือเขาเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง เนื้อปอดถูกทำลายไปหมดแล้ว เขามีชีวิตอยู่ได้เพราะเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ปัญหาก็คือว่าเด็กคนนี้อยู่ที่โรงพยาบาลรามาฯ มา 2 ปีเต็ม ค่าใช้จ่ายที่เตียงสามัญ 2 ปี ประมาณสองล้านบาท  ซึ่งโรงพยาบาลรามาฯ เป็นผู้จ่าย แล้วเขาก็โตขึ้นเรื่อยๆ อายุ 14-15 ปี หมอก็ถามว่าอยากกลับบ้านหรือเปล่า เขาบอกว่าอยากกลับมาก   ถึงแม้บ้านเขาอยู่ในสลัม แต่เขาก็อยากกลับบ้านมาก ปัญหาใหญ่ของเขาก็คือ ไม่มีพ่อ แม่ก็มีสามีใหม่ไม่เคยมาดูแล  โก๊ะอยู่กับยายซึ่งเป็นมะเร็งปากมดลูก แล้วแกก็ขายหวยไม่ค่อยอยู่บ้าน น้าก็เก็บกระดาษขาย แล้วใครจะดูแลโก๊ะถ้ากลับบ้านล่ะ หมอก็มานั่งคิดกับพี่ๆ พยาบาลในทีมว่า   โก๊ะก็อายุ 14-15 แล้ว ถ้าหากว่าโก๊ะอยากกลับจริงๆ ฝึกให้โก๊ะดูแลตัวเองได้ไหม เพราะอย่างน้อยก็ช่วยทำให้ความฝันของเขาเป็นจริง   ทีมพยาบาลของเราก็ใช้เวลาฝึกโก๊ะอยู่นานหลายเดือน   ใช้วิธีส่องกระจกเพื่อดูดเสมหะทางท่อเจาะคอด้วยตัวเอง ตัวโก๊ะก็พยายามมากๆ ปรากฏว่าโก๊ะทำได้ดีเกินคาด

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

 

 

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้
 

 ภาพที่ 11   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ได้รับบริจาคอุปกรณ์ต่างๆ จากผู้มีจิตศรัทธา

 

ก่อนเขาจะกลับ เราก็ไปสำรวจสถานที่ที่บ้านกัน ปรากฏว่าเป็นสังกะสีทั้งหลังอยู่ติดกับกองขยะ ซึ่งอันตรายเพราะเครื่องช่วยหายใจมันจะร้อนเกินไป เลยต้องเจาะสังกะสีทำเป็นบานกระทุ้ง สุดท้ายโก๊ะก็ได้กลับไปอยู่บ้านในสลัม โก๊ะมีความสุขมากๆ เป็นเวลาปีกว่าก่อนจะเสียชีวิตด้วยภาวะการหายใจล้มเหลวจากปอดที่ถูกทำลาย ซึ่งเราก็ยังภูมิใจว่าได้ทำความฝันของโก๊ะ ให้เป็นจริง  ก็คือการได้กลับบ้าน รูปของโก๊ะก็มีคนนำไปลงในหนังสือต่างประเทศ อันนี้มีส่วนทำให้หมอได้รับรางวัล

....คนไข้คนหนึ่งที่หมอภูมิใจที่ได้รับใช้ก็คือ คุณโกวิท  บุณยัษฐิติ สามีของ ท่านผู้หญิงอังกาบ  บุณยัษฐิติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา ท่านผู้หญิงเคยเป็นอาจารย์ประจำชั้นสอนวิชาเลขหมอมาตั้งแต่เด็กๆ คุณโกวิทเป็นโรคไขสันหลังเสื่อม  ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ที่บ้านซึ่งหมอก็ได้มีโอกาสดูแลท่าน ตอนนี้ท่านก็สามารถกลับบ้านได้โดยใช้เครื่องช่วยหายใจมานาน 7 ปีแล้ว สามารถไปไหนต่อไหนได้ ไปเที่ยวต่างจังหวัดเป็นประจำ”

องค์ความรู้ในเรื่องการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยถือว่าเป็นความรู้ใหม่ในบ้านเราที่จะต้องเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ฯ ก็มีดำริที่จะขยายความช่วยเหลือทางวิชาการแก่หน่วยงานอื่นๆ และผู้สนใจ

“หมอมีโอกาสสอนทางการประชุมวิชาการต่างๆ ทั้งที่จัดโดยชมรม ราชวิทยาลัย และโรงพยาบาล มีบทความตีพิมพ์ในหนังสือเกี่ยวกับการดูแลระบบหายใจที่บ้าน และตอนนี้เรากำลังพัฒนาผลิตสื่อการสอนเป็นวีดีโอให้โรงพยาบาลต่างจังหวัด เพื่อในอนาคตเขาจะสามารถทำได้ มีการอบรมแพทย์และพยาบาลต่อยอดทางระบบหายใจเด็ก ทำให้แพทย์และพยาบาลในต่างจังหวัดสามารถมาเรียนกับเราแล้วไปฝึกฝนทักษะได้ เป็นโครงการที่เราจะกระจายความรู้ออกไป ในกรณีบางโรงพยาบาลที่มีปัญหา สามารถโทร. มาปรึกษาได้ที่ 0-2201-1727 หมอจะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่คอยประสานงานให้ หรือถ้ามีผู้ป่วยที่ซับซ้อนมากๆ ก็ส่งมาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี”

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 12   สอน workshop ให้แพทย์และพยาบาล

 

ผลงานอันโดดเด่นของแพทย์ไทยคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกอาจเป็นเครื่องชี้วัดถึงความสำเร็จในชีวิตของบุคคลนั้น แต่ภาพรอยยิ้มเปี่ยมสุขของ รศ.พญ.อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ กับ เด็กชายกัน อดีตคนไข้โรคไม่มีกระบังลมแต่กำเนิด  ที่สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ คือสิ่งที่บ่งบอกว่าความสำเร็จในชีวิตของแพทย์คนหนึ่ง อาจไม่ได้อยู่ที่รางวัลใดๆ แต่อยู่ที่ผลสำเร็จในการ....ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย.....คนแล้วคนเล่าและมอบ “ชีวิตใหม่” ให้แก่พวกเขา

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 13   ภาพครอบครัว

 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์  เป็นบุตรสาวคนโตของ นายแพทย์ สุหัท  และ นอ.หญิง แพทย์หญิง ทรงศรี  ฟุ้งเกียรติ  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนราชินีบน   ประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์และต่อยอดสาขาโรคระบบการหายใจเด็ก จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้ไปฝึกอบรมต่อทางระบบหายใจเด็กที่ Johns Hopkins Hospital สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ แสงชัย  พฤทธิพันธุ์ ภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

มีบุตรหญิง-ชาย 3 คน (นวลวรรณ  นันทิชา  อุทัยวิทย์)

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

นิตยสาร สกุลไทย รายสัปดาห์  ปีที่ 50  ฉบับที่ 2593  ISSN 0125-068 X ประจำวันอังคาร วันที่ 29 มิถุนายน 2547

 

FILE: EXPERT_S_TIP_491

คอลัมน์: Expert’s Tip

เรื่อง: ศิริกร โพธิจักร

ภาพ: อิทธิศักดิ์ บุญปราศภัย

 

SLEEP FOR BETTER HEALTH

หลับดี ลดเสี่ยงเบาหวาน สมาธิสั้น หยุดหายใจขณะหลับ

    เกณฑ์ทางการแพทย์ล่าสุด ระบุให้นอนหลับอย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาในการนอนหลับไม่เพียงพอ และคุณภาพการนอนหลับไม่ดี หลายคนไม่ให้ความสำคัญกับการนอนหลับ กลับคิดว่านอนน้อยก็ไม่เห็นเป็นไร กลายเป็นสิ่งที่มองข้ามได้ไปเสียอีก

    ชีวจิต ปักษ์นี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นายกสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย จะมาเล่าถึงข้อมูลล่าสุดว่า คุณภาพการนอนหลับส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ติดตามรายละเอียดได้เลยค่ะ

 

Q:    การนอนหลับที่มีคุณภาพ ต้องมีปัจจัยอย่างไรบ้างคะ

A:    หมอขออ้างอิงข้อมูลจาก The American Academy of Sleep Medicine (AASM) สหรัฐอเมริกา ระบุว่า คนวัยผู้ใหญ่ควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่ใช่ 6 ชั่วโมงอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน ปัญหาที่ AASM พบก็คือ 1 ใน 3 ของคนยุคนี้ มีปัญหานอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่ระบุหรือน้อยกว่า 7 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าน้อยเกินไป อาจมีอันตรายกับสุขภาพได้

    ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อปริมาณและคุณภาพการนอนหลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชั่วโมงการนอนไม่พอ นอนไม่หลับ นอนหลับๆ ตื่นๆ ขาดความต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 ส่วนค่ะ 

    ผลระยะสั้น ง่วงนอนระหว่างวัน ตัดสินใจผิดพลาด อารมณ์แปรปรวน ตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นช้าลง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง วูบ หลับใน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นๆ ที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว ปัญหาคือผลระยะยาวไม่ค่อยมีคนทราบค่ะ

    ผลระยะยาว ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิก มีงานวิจัยระบุว่า คนเราถ้านอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน เนื่องจากเมื่อเรานอนน้อยจะทำให้ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ที่ทำให้รู้สึกอิ่มลดลง ขณะที่ฮอร์โมนกรีลิน (Ghrelin) ซึ่งทำให้รู้สึกหิวเพิ่มขึ้น 

    อีก 1 ปัญหาที่สำคัญมาก คือ เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย ทำให้สารเคมีในสมองผิดปกติ งานวิจัยระบุว่า กลุ่มตัวอย่างที่วัยรุ่นซึ่งมีปัญหาคุณภาพการนอนหลับไม่ดี นอนไม่พอ มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มอื่น 

    สุดท้าย มีข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า คนที่นอนน้อยหรือมีชั่วโมงการนอนหลับต่ำกว่าเกณฑ์ จะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มที่มีคุณภาพการนอนหลับดี 

 

Q:    มีวิธีวัดหรือจะทราบอย่างไรบ้างคะ ว่าคนๆนั้นนอนหลับมีคุณภาพหรือไม่ 

A:    เบื้องต้น หมอขออธิบายเรื่องวงจรการนอนหลับก่อนนะคะ การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายเราเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย โดยใน 1 คืนที่เราหลับไปจะเกิดวงจรการนอนหลับ 4-5 วงรอบ (cycle) ในแต่ละวงรอบต้องมีการหลับตื้น หลับลึก หลับฝัน (rapid eye movement, REM) การหลับที่ดี คือ

  • ได้นอนหลับติดต่อกัน จึงจะเกิดวงจรการนอนหลับอย่างที่ว่า จะมีการหลับตื้น หลับลึก หลับฝัน และต้องเกิด 4-5 วงรอบ ไม่ใช่ตื่นขึ้นมาเป็นช่วงๆ อีกอย่างระยะเวลาที่อยู่ในช่วงหลับฝันควรจะนานประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าตื่นอยู่เรื่อย วงจรนี้ก็จะหายไป หลับฝันน้อยลง เราจะรู้สึกได้เลยว่าคืนนั้นเรานอนไม่พอ
  • มีช่วงที่หลับฝัน คนไทยเรามีความเข้าใจว่า การหลับสนิทคือหลับแบบไม่ฝัน จริงๆ แล้ว การนอนที่ดีต้องมีช่วงที่หลับฝันค่ะ เพียงแต่ว่าเราจำความฝันไม่ได้เท่านั้นเอง กรณีที่จำความฝันได้แสดงว่าตื่นขึ้นขณะที่อยู่ในช่วงหลับฝันพอดี ถ้าจะให้รู้แน่ว่า คืนนั้นหลับถึงช่วงหลับฝันหรือไม่ ก็ต้องมาตรวจการนอนหลับ (sleep test) ดูคลื่นสมองค่ะ
  • ตื่นขึ้นมาต้องรู้สึกสดชื่น ดังนั้น ถ้าตื่นมาแล้วงัวเงียอยากนอนต่อ แบบนี้แสดงว่า คุณภาพการนอนหลับไม่ดีค่ะ

 

Q:    แล้วเมื่อไหร่ที่ควรจะมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการนอนหลับคะ

A:    ถ้ามีปัญหานอนไม่หลับต่อเนื่องจนกระทบกิจวัตรประจำวัน มีผลเสียต่อการเรียนการงาน แบบนี้มาพบแพทย์ได้แล้วค่ะ จริงๆ ข้อนี้เป็นปัญหาพื้นฐานมากๆ ทุกคนรู้ดีว่าถ้านอนไม่หลับ วันรุ่งขึ้นตื่นมาต้องงัวเงีย ไม่สดชื่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ แต่มักจะมองข้ามไป แล้วไปแก้ด้วยการกินกาแฟให้ตื่น จะได้ไปทำงานหรือปฏิบัติภารกิจในวันรุ่งขึ้นได้ ช่วงกลางวันพอไหว แต่ผลคือในคืนนั้นตาจะค้าง นอนหลับยาก

    หมอขอแชร์ประสบการณ์ตรงเลยนะคะ มีอยู่ครั้งหนึ่งหมอต้องเร่งทำงานให้เสร็จ คืนก่อนก็โต้รุ่ง พอเช้ามาเริ่มงัวเงีย ตอนพักเที่ยงจึงกินกาแฟเข้าไป 2 แก้ว เพราะหวังว่าช่วงบ่ายจะไม่หลับไปเสียก่อน ก็พอช่วยได้ค่ะ

    แต่พอตกกลางคืน รู้สึกเพลียมาก อยากนอนพักบ้าง แต่ด้วยความที่เรากินกาแฟเข้าไป เลยทำให้นอนไม่หลับค่ะ นอนบนเตียงทำยังไงๆ ก็ไม่หลับ เลยตัดสินใจกินยานอนหลับอย่างที่แรงสุดๆ หวังว่าจะให้หลับ ปรากฏว่าไม่หลับค่ะ อาจเพราะเมื่อช่วงกลางวันกินกาแฟไป 2 แก้วแทนที่จะกินแค่แก้วเดียว ตาค้างเลยค่ะ ดังนั้น กาแฟที่มากเกินไป ส่งผลต่อวงจรการนอนหลับแน่นอนค่ะ

 

Q:    ถ้าอยากมีวงจรการนอนหลับมีคุณภาพสม่ำเสมอ ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

A:    ในทางการแพทย์ใช้เกณฑ์ของ The American Academy of Sleep Medicine ซึ่งระบุถึงแนวทางการปฏิบัติที่เรียกว่า Sleep Hygiene หรือ สุขอนามัยการนอนหลับ ระบุถึงคำแนะนำเพื่อคงคุณภาพการนอนหลับไว้ให้สม่ำเสมอ ดังนี้

  • เข้านอน-ตื่นนอนในเวลาเดิม เนื่องจากการควบคุมวงรอบการหลับและตื่น (sleep-wake cycle) ขึ้นอยู่กับสมดุลฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งจะหลั่งเมื่อมีการปิดไฟ (ความมืด) ส่วนกลไกกระตุ้นการตื่น เรียกว่า circardian pacemaker ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงสว่าง ยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินไปกระตุ้นสารสื่อประสาทอื่นๆที่ทำให้เกิดการตื่น
  • ลดเวลาที่อยู่บนเตียงลง ควรกำหนดระยะเวลาที่อยู่บนเตียงให้ใกล้เคียงกับระยะเวลานอนได้จริง (sleep restriction) เพื่อลดความกังวลว่าจะนอนไม่หลับ เมื่อความกังวลลดลง ย่อมทำให้นอนหลับได้ลึกและต่อเนื่อง (consolidate) ขึ้น
  • งดกินเครื่องดื่มที่มีคาร์เฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลัง และช๊อคโกแล็ต เพราะคาร์เฟอีนไปยับยั้งการจับระหว่างสารสื่อประสาทในสมองชื่อ แอดิโนซีน (adenosine) กับตัวรับแอดิโนซีน (adenosine receptor) ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์เฟอีนใกล้เวลาเข้านอน จะใช้เวลาเข้าสู่การนอนหลับนานขึ้น ตื่นบ่อย และมีผลต่อรูปแบบการนอนหลับ
  • งดเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ แม้การดื่มแอลกอฮอล์ 6 ชั่วโมงก่อน จะทำให้หลับเร็ว แต่รูปแบบการหลับจะไม่ต่อเนื่อง (fragmented sleep) ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย มีผลต่อการทำงานในช่วงกลางวัน
  • งดสูบบุหรี่ สารนิโคติน ทำให้รู้สึกตื่นตัวในเวลากลางวันและหลับไม่ต่อเนื่องในเวลากลางคืน

โดยทั้ง 3 ประการนี้ต้องงดอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน

  • งดออกกำลังกาย เฉพาะเวลาใกล้เข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะการออกกำลังกายจะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นส่งผลให้หลับยาก 
  • งดมื้อดึก รสเผ็ดจัด หวานจัด อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะอาจมีกรดค้างในกระเพาะอาหารและหลอดอาหารนานขึ้น อาหารที่ย่อยไม่หมด เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับลดลง
  • งดงีบกลางวัน เพราะจะทำให้หลับในตอนกลางคืนได้ยากขึ้น ถ้าช่วงกลางวันรู้สึกเพลียมากจริงๆ สามารถงีบพักได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 นาที และห้ามงีบหลังเวลา 15.00 .
  • จัดห้องนอนให้เหมาะสม เตียงต้องสบาย ห้องนอนมีอุณหภูมิเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว ระบายอากาศได้ดี ไม่มีแสงเล็ดลอดเข้ามา และเงียบ ไร้เสียงรบกวน หมอเคยมีเคสเด็กเล็ก มีปัญหานอนกรน เมื่อส่งให้เด็กไปทำทดสอบการนอนหลับ พบว่าเส้นไฟฟ้าสมองกระตุก (arousal) ราว 20 กว่าครั้งใน 1 ชั่วโมง ถือว่าผิดปกติ เมื่อซักประวัติพบว่า ผู้ปกครองเปิดเพลงบรรเลงให้ลูกฟังตลอดคืนทุกๆคืน เพราะคิดว่าจะทำให้เด็กหลับดีแล้วฉลาด  ประวัติอื่นๆ ก็ไม่มีอะไร เลยคิดว่าน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้มากที่สุดในเคสนี้ ก็เลยแนะนำว่าทำให้ห้องนอนเงียบน่าดีกว่าค่ะ เสียดายที่ไม่ได้ทดสอบการนอนหลับอีกที 
  • งดกิจกรรมต่อไปนี้ ห้ามทำงานโดยเอาคอมพิวเตอร์แลบท็อปมาทำงานบนเตียงนอน งดใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต งดดูโทรทัศน์ หรือ กินอาหารบนเตียงนอนเด็ดขาด
  • ถ้านอนไม่หลับภายใน 20 นาทีหลังเอนตัวลงนอน ให้ลุกขึ้นจากเตียงมาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงค่อยกลับมานอนที่เตียงอีกครั้ง
  • ตื่นมารับแสงแดดยามเช้า อย่างน้อย วันละ 30 นาทีเป็นประจำทุกวัน เพราะแสงแดดจะช่วยให้นาฬิกาชีวิตทำงานได้ตามวงจรตามปกติ

 

Q:    คุณภาพการนอนหลับไม่ดี มีผลต่อคนวัยไหนมากที่สุดคะ 

A:    ช่วงวัยที่หมอกังวลมาก คือ วัยเด็ก เพราะสมองของเขายังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา หมอเจอเคสเด็กที่มาด้วยนอนกรนเพราะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เจอบ่อยช่วงอายุ 2-6 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน มีการติดเชื้อบ่อย ต่อมทอลซิลโต ถ้าปล่อยทิ้งไว้เด็กจะนอนกรนต่อเนื่อง คุณภาพการนอนหลับไม่ดี ส่งผลให้สมาธิสั้น ความจำลดลง การเรียนตกต่ำ ไอคิวต่ำได้ ที่เป็นแบบรุนแรงจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด จึงจะแก้ไขปัญหาทางเดินหายใจอุดกั้นนี้ได้ หลังผ่าตัดเด็กหลายคนมีพฤติกรรมดีขึ้น ไม่ก้าวร้าว สมาธิดีขึ้น ผลการเรียนดีขึ้นตามไปด้วย    

    วัยรุ่นที่นอนไม่พอ มักจะมีปัญหาด้านอารมณ์ ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย และถ้าอดนอนต่อเนื่องบ่อยๆ เสี่ยงต่ออาการซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มที่มีคุณภาพการนอนที่ดีค่ะ

    ขณะที่วัยทำงาน ถ้าคุณภาพการนอนหลับไม่ดี จะพบปัญหาสุขภาพเรื่องระบบเมตาบอลิก เสี่ยงโรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะอารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ มีปัญหาความจำและภาวะสมองเสื่อม

 

Q:    ในปีนี้ เทรนด์การส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับมุ่งเน้นไปในทิศทางใดบ้าง

A:    องค์กรระดับสากล World Sleep Society ประกาศคำขวัญของการรณรงค์เนื่องในวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ไว้ว่า “Healthy Sleep, Healthy Aging” หรือ “นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว” ในทางกลับกัน คนที่นอนหลับไม่สนิท มีปัญหาคุณภาพการนอน ย่อมกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และมีผลต่อสมองเมื่อเข้าสู่วัยชรา

    ด็อกเตอร์ Soichiro Miyazaki คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชูบู (Chubu) ประเทศญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพการนอนหลับและปัญหาเรื่องความทรงจำและการเรียนรู้ กล่าวบรรยายในการประชุมวิชาการประจำปี ของสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2018 ว่า ขณะนี้ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีชั่วโมงการนอนต่ำกว่าเกณฑ์สากล (7 ชั่วโมง) จึงทำให้เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจึงมีผู้ป่วยไม่น้อยที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) 

    ล่าสุด ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการรณรงค์ ให้คนญี่ปุ่นเพิ่มเวลาการนอนหลับให้ได้อีก 30 นาที เพื่อลดภาวะสมองเสื่อม จากเกณฑ์เดิมของประเทศอยู่ที่ 6 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 6 ชั่วโมงครึ่ง หลายคนฟังแล้วอาจแปลกใจว่า ทำไมประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและใส่ใจดูแลสุขภาพมาก จนมีผู้ที่มีอายุยืนติดอันดับโลกหลายปีติดต่อกัน กลับตั้งเป้าการรณรงค์ให้นอนเพิ่มขึ้นแค่ 30 นาที

     เหตุเพราะคนญี่ปุ่นทำงานหนักมาก พักผ่อนน้อย เมื่อพิจารณาจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมญี่ปุ่น เกรงว่าถ้าตั้งเป้าไว้สูงเกินไป ประชาชนทั่วไปจะไม่สามารถปฏิบัติให้ถึงตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้น ขอแค่มีชั่วโมงการนอนหลับเพิ่มขึ้นจาก 6 ชั่วโมง เป็น 6 ชั่วโมงครึ่ง เพียงเท่านี้ ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์ที่เหมาะสมลงตัวกับประเทศญี่ปุ่นแล้ว

    คุณภาพการนอนหลับเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อสุขภาพที่สำคัญ เหมือนกับการหายใจ การรับประทานอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการนอนหลับ จึงมีโครงการรณรงค์ทั่วโลกพร้อมกัน ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เรียกว่าเป็นวันนอนหลับโลกหรือ “World Sleep Day” โดยในปีนี้ทาง ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี จะรับเป็นเจ้าภาพ จัดงานนี้ขึ้น ที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 1 ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ฟังความรู้ เที่ยวงานวัด เล่นเกมส์ ชิงโชค ประกวดชุดไทยงดงาม 3 วัย พบครอบครัว น้องวันใหม่ ฉัตรบริรักษ์ ในวันพุธที่ 7 มีนาคม 2562 นี้ค่ะ

++++++++++++++++++++++++++++++

เมื่อทำดีที่สุดแล้ว ได้แค่ไหนแค่นั้น

อย่าไปฝืนทำอะไรที่ทำไม่ไหว หรือไม่ชอบที่จะทำ

ศ. พญ. อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์

หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบหายใจในเด็ก

หัวหน้าศูนย์โรคการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

นายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย 2559 - 2563

กรรมการบริหารราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

แรงบันดาลใจในการเลือกเรียนแพทย์โดยเฉพาะสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบบการหายใจ และการนอนหลับ

จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา แรงบันดาลใจในการเรียนแพทย์ เริ่มจากตอนเด็กมีความฝันอยากเป็นครู แต่ด้วยความที่คุณพ่อเป็นสูตินรีแพทย์ และอยากให้เราเป็นแพทย์ พ่อบอกว่าเป็นแพทย์ก็จะได้เป็นครูเหมือนกัน จึงตัดสินใจเอนทรานซ์เข้าคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตอนอยู่คณะวิทยาศาสตร์ได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น เป็นรองหัวหน้าชั้น เป็นนักกีฬาเทนนิส เข้าวงเล่นดนตรีไทย และร่วมทำกิจกรรมกับชมรมต่าง ๆ

หลังจากจบแพทย์ ได้ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 1 ปี และไปที่โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบอีก 1 ปี หลังจากนั้นได้มาเทรนแพทย์ประจำบ้านทางด้านกุมารเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 3 ปี เหตุที่ชอบกุมารแพทย์ เพราะไม่ชอบหัตถการ เวลาเข้าไปในห้องผ่าตัด เราจะเครียด อะไรที่เป็นการผ่าตัดจะต้อง rule out ออกไปก่อน ก็จะเหลือ med กับกุมารฯ เวลาเรียน med ต้องทบทวนประวัติคนไข้หนามาก แต่เด็กมีประวัติไม่มาก จึงเลือกเรียนกุมารฯ อาจารย์กุมารฯ น่ารัก ดูแลนักศึกษาแพทย์ดีมาก จากนั้นเป็นจังหวะชีวิต .เกียรติคุณ นพ. ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ชักชวนให้มาเป็นอาจารย์ ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันอย่างหนึ่งของคุณพ่อที่อยากให้เป็นอาจารย์ที่รามาฯ ตอนนั้นสาขาที่ชอบมีอยู่ 2 สาขา คือโรคระบบหายใจ และทารกแรกเกิด คิดว่าเรียนโรคระบบหายใจน่าจะดี เพราะรู้สึกสนุกในการดูแลทางด้านระบบหายใจถ้ารักษาถูกต้องทันท่วงที เด็กมีโอกาสหายสูง คิดว่าเป็นโรคที่ช่วยคนไข้ได้มาก การใช้เครื่องช่วยหายใจเหมือนเป็นการต่อชีวิตให้กับคนไข้ เรียน fellow อีก 2 ปี ก็เป็นอาจารย์ จากนั้น .เกียรติคุณ พญ. สุภรี สุวรรณจูฑะ ช่วยติดต่อ Professor Mark C. Rogers ให้ จึงได้ไปเรียนที่ The Johns Hopkins Hospital ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ปี ตอนนั้นโชคดีมาก เพราะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็น Pediatric sleep medicine ด้วยกัน 3 คน คนแรกคือ Prof. Dr. Carole L. Marcus เป็นผู้บุกเบิกในสาขาวิชา Pediatric sleep คนที่สอง Prof. Dr. Gerald M. Loughlin คนที่สาม คือ Prof. Dr. John L. Carroll ทั้ง 3 คน เป็นบรรณาธิการหนังสือ Sleep and Breathing in Children ซี่งเป็นหนังสือด้านการนอนหลับและการหายใจในเด็กเล่มแรก ๆ ตอนนั้นถือว่าเป็นจังหวะชีวิตที่โชคดีมาก Prof. Dr. Gerald M. Loughlin ยังแซวเล่น ๆ ว่า ท่าทางอรุณวรรณจะกลับไปเป็นหมอทาง pediatric sleep คนแรกของ Southeast Asia พอกลับมาต้องทำงานทาง chest กับ ICU แล้วต้องทำทาง sleep ด้วย นั่งอ่าน sleep test ตอน
5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน ตอนนั้นงานหนักมาก แต่ความที่ชอบทาง sleep ก็ทำงานทางด้าน Pediatric sleep ต่อยอดมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน

สิ่งที่รู้สึกภูมิใจมากที่สุด

สิ่งที่ภูมิใจแรก ภูมิใจเรื่องงาน ทางด้าน sleep ได้ทำงานมาตั้งแต่คนไม่รู้จักไม่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญอะไร สู้งาน จนสามารถสร้างแล็บที่ตรวจการนอนหลับในเด็กที่ได้มาตรฐานสากล และขยายงานทางด้าน Pediatric sleep แล้วมาเป็นหัวหน้าศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี ดูแลทั้งผู้ใหญ่และเด็ก จนถึงระดับประเทศ เป็นนายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2563 ได้รับความร่วมมือจากหมอทุกสถาบันที่ทำงานทาง sleep ในประเทศไทยมาช่วยกันบุกเบิกงานด้าน sleep ได้รับรางวัลระดับโลก คือ รางวัล Distinguished Activity Award จาก World Sleep Society ที่ Vancouver ประเทศแคนาดาโดยสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลในการจัด World Sleep Day ในระดับนานาชาติ ถึง
3 ปีติดต่อกัน จาก World Sleep Society งานทางด้านโรคปอดเด็ก ได้รับรางวัลระดับโลก ที่เขาใช้ชื่อว่า Governor’s Community Service Award เรื่องการใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านในเด็ก ไปรับรางวัลที่ Universal Studios Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา จาก The American College of Chest Physicians ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละและบุกเบิกงานทางด้านการช่วยให้คนไข้กลับบ้านพร้อมกับเครื่องช่วยหายใจไปดูแลต่อที่บ้านได้ แล้วก็มีงานด้านนวัตกรรมที่ได้รับอนุสิทธิบัตรหลายชิ้น งานที่ทำเรื่องอุปกรณ์ทางระบบหายใจ จะมีกล่องตุนออกซิเจน หรือ oxygen box ซึ่งบริจาคให้โรงพยาบาลทั่วประเทศพันกว่า box ให้เพื่อนช่วยดีไซน์ และติดต่อ บริษัท อริยทอยส์ ให้ผลิตนวัตกรรม oxygen box ผลิตจุ๊กล้างจมูก จำหน่ายที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี

สิ่งที่ภูมิใจต่อมา ภูมิใจที่ได้สร้างคน เพราะหน้าที่ของเราคือ การสร้างคนรุ่นใหม่ไว้ ให้เขาเก่งกว่าเราสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ได้เป็นแกนหลักที่ทำให้มีการเปิดเทรน sub board เป็นสาขาสุดท้ายที่แพทยสภารับรอง ให้เป็นวุฒิบัตร sleep medicine จากการนำโดย .เกียรติคุณ นพ. ประพาฬ ยงใจยุทธ .เกียรติคุณ พญ. คุณนันทา มาระเนตร์ และเราเป็นคนสานต่อ ทางสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ได้ไปร่วมมือกับ 4 ราชวิทยาลัย อันได้แก่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ ประเทศไทย ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมมือกันผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง sleep ที่ครอบคลุมทุกด้าน

แล้วก็ภูมิใจ เรื่องครอบครัว ต้องขอบคุณ คุณพ่อ นพ. สุหัท ฟุ้งเกียรติ คุณแม่ น.อ.หญิง พญ. ทรงศรี ฟุ้งเกียรติ ที่ปูพื้นฐานให้เราเป็นแบบนี้ คือ อะไรที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าทำได้ไม่ยากนัก ก็จะพยายามทำ พยายามช่วย วัยเด็ก รู้สึกว่าโชคดีกว่าคนอื่น มีอะไรสมบูรณ์แบบมากกว่าคนอื่น เราก็น่าจะช่วยคนอื่นได้ให้เขามีโอกาสที่ดีขึ้น และสามี ศ.เกียรติคุณ นพ. แสงชัย พฤทธิพันธุ์ เป็นปรมาจารย์แพทย์ผ่าตัดส่องกล้องทาง
นรีเวช เป็นผู้สนับสนุนงานทุกอย่าง มีลูก 3 คน คนแรก พญ. นวลวรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ เป็นอาจารย์แพทย์ที่ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี คนที่สองเป็นทันตแพทย์ ชื่อ นันทิชา หรือกะทิ ตอนนี้ไปเรียนต่อทางด้านรากฟัน คนที่สาม เป็นนักศึกษาแพทย์ อยู่มหาวิทยาลัยสยาม ชื่อ อุทัยวิทย์ ส่วนใหญ่ต้องเอางานไปทำที่บ้าน เบียดบังเวลาครอบครัว ต้องขอบคุณทางครอบครัวที่เข้าใจ ยอมให้เราทำงานเพื่อส่วนรวม

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยแรก มีความอดทนต่อความยากลำบาก ถ้าเห็นว่าอะไรที่คิดว่าทำแล้ว มีประโยชน์ก็จะทำ ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ทำด้วยความยากลำบาก ก็จะมุ่งมั่นทำต่อให้ถึงที่สุด เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน เมื่อพิจารณาดูก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่คนอื่นอาจจะไม่เคยทำ หรือเคยทำมาแล้วแต่ไม่ได้ทำเป็นระบบ แม้จะเกิดความ
ยากลำบาก ก็มีความมุ่งมั่นที่จะทำต่อ คุณพ่อบอกว่า คนเราอย่ากลัวงาน ต้องพยายามทำให้ได้ทุกอย่าง ถ้ามีงานหลายอย่างมาพร้อมกัน ต้องรู้จักจัดความสำคัญจัดงานไว้ในลิ้นชัก แล้วทำงานทีละลิ้นชัก ทำให้เสร็จทีละงาน อย่าไปพะวงหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน คนเรามีเวลาวันละ 24 ชั่วโมง ไม่มากไปกว่านี้ ทำงานได้แค่ไหนแค่นั้นแล้วก็ต้องนอน

ปัจจัยที่สอง มีใจรักในการทำงาน เริ่มจากการทำในสิ่งที่มีประโยชน์ พอนึกถึงผลงานที่จะเกิดขึ้น การ
ทำให้คนไข้ดีขึ้น เราก็มีความสุข เกิดความภาคภูมิใจในผลของการทำงาน ทำงานจะให้ดีต้องไม่ฝืนตนเอง เมื่อเราอยากทำชอบที่จะทำงานนั้นมักจะสำเร็จ เช่น การทำเรื่อง sleep medicine เราก็คิดว่าคนไทยน่าจะได้รับการดูแลเรื่องการนอนหลับให้ดีขึ้นได้นะ อยากให้หมอมีความรู้เรื่องการนอนหลับมากขึ้น ถ้าคุณภาพการนอนของคนเราดีขึ้น คุณภาพชีวิตโดยรวมก็จะดีขึ้น อยากให้เมืองไทยรู้เรื่องการนอนหลับให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ถึงเวลาแล้วที่เราจะมีหมอที่เชี่ยวชาญด้าน Sleep โดยเฉพาะ เราก็จะพยายามทำในสิ่งที่เราทำได้ หรือมีโอกาสอะไรก็จะพยายามทำต่อจนสำเร็จ

กว่าจะถึงวันที่ประสบความสำเร็จ เจออุปสรรคอะไรบ้าง แล้วเอาชนะอย่างไร

อุปสรรคที่สำคัญ คือ เรื่องเวลาในการทำงาน อย่างจะตีพิมพ์เอกสารเรื่องหนึ่งไปที่วารสารต่างประเทศ อยากทำมาก และคิดว่าทำได้ ไม่เกินความสามารถ ปรากฏว่าไม่มีเวลา ต้องทำงานอื่นอีกหลายอย่าง จนต้องมานั่งทำเอกสารถึงตีสี่ งานมีหลายเรื่องมาก ทั้งเรื่องที่ทำงาน รามาฯ สารพัด ครอบครัว งานส่วนตัว และยังต้องทำงานเอกชนอีกด้วย เราอาจจะเป็นคนทำงานช้า งานแต่ละอย่างออกมาช้าเกินไป อยากจะทำงานให้เร็วกว่านี้ แก้ไขโดย 1. ไม่ทำงานที่ไม่จำเป็น กระจายงาน และพยายามให้คนอื่นมาทำแทนในสิ่งที่สามารถช่วยได้ 2. จัดลำดับความสำคัญของงาน เพราะบางทีมีเข้ามาพร้อมกันหลายเรื่อง

อุปสรรคอีกอย่าง คือ ในอดีต คนยังไม่เห็นความสำคัญของเรื่อง sleep ตอนที่กลับมาจากอเมริกาใหม่ ๆ ผู้บริหารบางท่านไม่สนับสนุนในการขอซื้อเครื่อง sleep แต่เรารู้ว่าจะมีประโยชน์ต่อไปในอนาคต ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสนิท พยายามอธิบายให้เห็นว่า sleep มีประโยชน์มาก ถ้าเขาบริจาคเครื่องให้กับเรา จะทำให้ช่วยคนได้มาก ตอนนั้นได้คุณวรางคณา ล่ำซำ ให้ทุนมาหนึ่งล้านบาท ให้มาซื้อเครื่อง sleep test เอามาใส่ในตู้ไม้ใส่ล้อให้เคลื่อนย้ายได้ มีคุณอัญชลี ลี้จากภัย เป็น sleep technician คนแรกที่มาช่วย ตอนนั้นลำบากมากไม่มีสถานที่ให้ตั้งเครื่อง เครื่องต้องเคลื่อนย้ายไปย้ายมา ใช้ทั้งการบริการ การเรียนการสอน และการวิจัย หลังจากที่ทำ sleep ในเด็กมาพอสมควร มีผลงาน มีคนมาเชิญไปบรรยาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ sleep ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยโครงสร้างของศูนย์ sleep เป็นสหสาขาวิชา ที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ถ้าย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้บางเรื่อง อยากกลับไปทำเรื่องใดมากที่สุด

อยากแก้ไขให้ตัวเองทำงานเร็วขึ้น เพราะกว่างานแต่ละอย่างจะออกมา ต้องใช้เวลามาก ถ้าทำงานได้เร็วขึ้นคงจะดีกว่านี้ น่าจะทำชิ้นงานได้มากกว่านี้ เพราะตอนนี้มีงานที่ยังไม่ทำอีกหลายเรื่อง

ใครคือบุคคลที่เป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตหรือการทำงาน

ท่านแรก คือ ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์และท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ เป็นต้นแบบของความเป็นครู คือคนที่รักลูกศิษย์จริง เสียสละ role model ของความเป็นครู อยากให้ลูกศิษย์ได้ดี ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์และมีความหวังดี ชื่นชมกับลูกศิษย์ ให้กำลังใจ ช่วยเหลือเมื่อลูกศิษย์มีปัญหา ตั้งแต่สมัยโรงเรียนจิตรลดา จนกระทั่งปัจจุบันอาจารย์ก็ยังมีเมตตาศิษย์และครอบครัวอยู่เสมอ

ท่านต่อไป คือ .เกียรติคุณ พญ. สุภรี สุวรรณจูฑะ อาจารย์เป็นคนบุกเบิกเริ่มต้นทำงานทางด้านโรคระบบหายใจในเด็กในประเทศไทย เป็นอาจารย์ที่ดีมาก คือ ชอบในการสอน รักในการสอน ปลูกฝังความเป็นครูให้กับเรา สอนให้รู้จักการดูแลคนไข้ทางด้านระบบหายใจแบบองค์รวม ด้านการติดต่อกับต่างประเทศ อาจารย์เป็นอาจารย์ตัวอย่างของ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระราชทานรางวัลของมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินับไม่ถ้วน

อีกท่าน คือ Prof. Dr. Carole L. Marcus เป็นผู้บุกเบิกทางด้าน Pediatric sleep ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่มีความรอบรู้สูงมาก ฉลาด และสามารถทำการวิจัย ซึ่งตอบโจทย์ปัญหาของคนไข้ได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่สอนให้เห็นความสำคัญของ sleep ในเด็กเป็นคนแรก คล้ายเปิดโลกทัศน์ทาง sleep ให้กับเรา แล้วยังแนะนำให้คนต่างชาติในวงการ sleep รู้จักเราด้วย ทุกครั้งที่ไปประชุมด้าน sleep ก็จะได้ไปพักไปเที่ยวต่อกับ Carole สนิทกันมาก เสียใจมาก ๆ ที่ Carole จากไปอย่างกะทันหันเมื่อ 2 ปีก่อน

คติหรือหลักการที่ยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดในเวลาที่เรามีอยู่ เมื่อทำให้ดีที่สุดแล้ว ได้แค่ไหนแค่นั้น อย่าไปฝืนทำอะไรที่เราทำไม่ไหว หรือไม่ชอบที่จะทำ

มองการแพทย์ของเมืองไทยว่าอย่างไร ทิศทางอนาคตเป็นอย่างไร

การแพทย์เมืองไทยน่าจะเป็นยุคของแพทย์รุ่นใหม่ เพราะตอนนี้อะไรทุกอย่างเป็นดิจิตอลไปหมด แม้แต่การดูแลคนไข้ ในอนาคตน่าจะมีดิจิตอลเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ประชากรในประเทศไทย ช่วงนี้มีผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก ตอนนี้การดูแลทางการแพทย์ของเราคงมุ่งไปอยู่ที่สุขภาพ และการดูแลผู้สูงวัยมากขึ้นกว่าทางเด็ก แพทย์เด็กน่าจะมีจำนวนคนไข้น้อยลง อยากจะให้เน้นไปทางด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ เช่น สามารถรักษาคนไข้ที่มีความเจ็บป่วยซับซ้อนมากขึ้น มากกว่าสมัยก่อน ไม่เน้นปริมาณ เน้นการรักษาที่ยุ่งยากใช้เทคโนโลยีระดับสูงขึ้น ๆ

ข้อแนะนำให้แพทย์รุ่นใหม่ว่าจะประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร

แพทย์ทั่วไป ขอให้มีความภูมิใจว่าเราได้มีโอกาสเป็นแพทย์ ซึ่งมันยากในสังคมไทย กว่าจะเรียนเข้ามาเป็นแพทย์ได้ เท่ากับเราต้องขยัน มานะบุกบั่นมาก พยายามที่จะรักษาความเป็นแพทย์เอาไว้ให้ดีที่สุด อย่าไปทิ้งโอกาส อยากให้ทุกคนพยายามหาความรู้ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สามารถที่จะค้นหาแหล่งที่มาของความรู้ในเวลาอันสั้นได้ นำมาใช้ในการดูแลรักษาคนไข้หรือในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว พยายามทำให้ดีที่สุดในแต่ละจังหวะของการเป็นแพทย์ เช่น ตอนเรียนก็เรียนเนื้อหาวิชาความรู้ให้ติดตัวเราให้ได้มากที่สุด ตอนที่ไปใช้ทุน ก็พยายามหาประสบการณ์ในการเป็นแพทย์ใช้ทุน หรือการทำหัตถการต่าง ๆ ให้ดีที่สุด หลังจากนั้นเมื่อเราได้มาเทรน ขอให้เลือกในสิ่งที่ตนเองชอบ ถ้าเป็นสิ่งที่เราชอบจริง เราจะทำสิ่งนั้นได้ดี เมื่อจบจากการเป็นแพทย์ อย่าลืมเรื่องครอบครัว ถ้ายังไม่มีครอบครัวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าจะคิดสร้างครอบครัวก็เป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างครอบครัวให้ดีที่สุด ถ้าครอบครัวเรามีพื้นฐานที่ดี จะทำให้ต่อยอด ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการทำงานต่อไปด้วย

แพทย์ทางด้านระบบหายใจ ต้องเป็นคนที่ดูแลคนไข้แบบองค์รวมได้ดี เพราะโรคระบบหายใจจะไปเกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา เช่น ระบบหายใจจะต้องไปดูคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคระบบประสาท โรคทางด้านมะเร็งโลหิตวิทยา มีทักษะในการที่จะประยุกต์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทั้งระบบหายใจให้เหมาะสมกับการดูแลคนไข้แต่ละคนได้ ตลอดจนการสอนผู้ปกครองในการดูแลต่อที่บ้านสามารถทำงานร่วมกับพยาบาล และผู้ร่วมงานทุกระดับได้ดี

สำหรับแพทย์การนอนหลับ ต้องมีความอดทนสูง งาน sleep เป็นงานที่ทำตอนกลางคืน เพราะฉะนั้นเป็นงานหนักอีกแบบที่ต้องทำงานคู่กับ technician ซึ่งจะมาช่วยดูแลคนไข้ตอนกลางคืน ต้องเข้าใจคนไข้ที่มีปัญหาทาง sleep ซึ่งบางทีคนไข้พูดหลายครั้งจำไม่ได้ เพราะขณะหลับ สมองเขาขาดออกซิเจน บางทีพูดอะไรกัน สื่อสารอะไรกัน เขาอาจจะเข้าใจน้อยกว่าที่เราคาดหวังไว้ ต้องมีความอดทนกับคนไข้อดทนกับวิชาชีพที่ต้องทำงานกลางดึก ในขณะที่คนอื่นเขาหลับกัน