นิตยสารสกุลไทย : พญ.อรุณวรรณ ผู้ได้รับรางวัล Governors Community Service Award ของสหรัฐอเมริกา

นิตยสาร สกุลไทย รายสัปดาห์  ปีที่ 50  ฉบับที่ 2593  ISSN 0125-068 X

ประจำวันอังคาร วันที่ 29 มิถุนายน 2547

สัมภาษณ์พิเศษ พิชามญช์ เรื่อง สุทธิพันธ์ ภาพ

 

แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์

แพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จากสหรัฐอเมริกา

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

เด็กชายที่กำลังนั่งดูวิดีโอทางการแพทย์อย่างตั้งอกตั้งใจคนนี้ชื่อ เด็กชายกัน ไพโรจน์กีรติกุล วัย 8 ขวบ ดูรูปร่างค่อนข้างผอม แต่ท่าทางเฉลียวฉลาด ที่คอของเขามีรอยแผลเป็นเล็กๆ   ถ้าดูให้ดี หน้าของเขาช่างดูละม้ายคล้ายคลึงกับหน้าของทารกน้อยในภาพบนจอโทรทัศน์ที่กำลังร้องไห้จ้า  ขณะได้รับการดูดเสมหะโดยทีมพยาบาลของโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อ 8 ปีก่อน

ภาพบันทึกจากวิดีโอแสดงถึงวิธีการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่เด็กชายกัน ซึ่งป่วยด้วยโรคไม่มีกระบังลมด้านขวาตั้งแต่แรกเกิด  หันกลับมาดูเทียบกับภาพเด็กชายวัย 8 ขวบ ที่สามารถเดิน วิ่ง พูดและมีชีวิตเหมือนเด็กปกติทั่วไป เป็นภาพที่อธิบายได้ดียิ่งกว่าคำพูดใดๆ ถึงความสำเร็จของทีมแพทย์และพยาบาลหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก นำโดย  รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ หัวหน้าหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี           ซึ่งได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนทางระบบหายใจ ที่จำเป็นต้องใช้ เครื่องช่วยหายใจ ให้สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้อย่างปลอดภัย  และประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 30 ราย

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 1  น้องกัน กำลังถูกดูดเสมหะ โดยอาม่า ที่ รพ.รามาธิบดี

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 2   ทีมแพทย์และพยาบาล รพ.รามาธิบดี ส่งน้องกัน ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ กลับบ้าน 

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

 ภาพที่ 3   น้องกัน หลังเลิกใช้เครื่องช่วยหายใจและถอดท่อเจาะคอ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยยังไม่มีโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในลักษณะดังกล่าว  แต่เดิมผู้ป่วยเหล่านี้จำต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน อาจเป็นเดือน เป็นปี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย ทั้งทางด้านขวัญกำลังใจของผู้ป่วยและครอบครัว  หลายรายต้องจบชีวิตในโรงพยาบาล จากการติดเชื้อ ดื้อยา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ล่าสุด... ความก้าวหน้าด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก ที่มีปัญหาซับซ้อนดังกล่าว ของหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยเมื่อปลายปี 2546 ที่ผ่านมา The American College of Chest Physicians (CHEST) และ The Chest Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คัดเลือกแพทย์โรคระบบหายใจที่ทำงานอุทิศตัว เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและสังคมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้มอบรางวัล Governors Community Service Award ประจำปี 2546 แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ นับเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 4   รับรางวัล Governors Community Service Award จาก Professor Allen Goldberg  ที่สหรัฐอเมริกา

 

 

ภาพที่ 4   รับรางวัล Governors Community Service Award  จาก Professor Allen Goldberg  ที่สหรัฐอเมริกา
 

 ภาพที่ 5   ถ่ายกับแพทย์ต่างชาติที่มารับรางวัล Governors Community Service Award ในปีเดียวกันที่ Universal Studio, Florida, USA.

 

ความสำเร็จของแพทย์ไทยคนหนึ่งในระดับโลกย่อมมีคำถามมากมายถึงที่มาแห่งความสำเร็จ คำตอบแรกของ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงอรุณวรรณ ก็คือ “ขอเรียนว่าสิ่งที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัล คือเรามีทีมงานที่ดี ตั้งแต่อาจารย์ของหมอ 2 ท่าน ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุภรี  สุวรรณจูฑะ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีรชัย  ฉันทโรจน์ศิริ ที่ได้วางรากฐานหน่วยไว้อย่างดี ทีมแพทย์และพยาบาลที่ทุ่มเทเสียสละช่วยเหลือกันทำงานหนัก  โดยเฉพาะพยาบาลต้องใช้เวลามาก ในการฝึกฝนทักษะการปฏิบัติให้แก่พ่อแม่ปู่ย่าตายายของผู้ป่วย  เพื่อบำบัดรักษาทางระบบหายใจ จนเขามั่นใจ มีความสามารถเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยได้ด้วยตัวเอง  ผู้ป่วยแต่ละคนกว่าจะกลับบ้านได้ก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน  โชคดีที่รามามีทีมพยาบาลเยี่ยมบ้าน ออกไปเยี่ยมถึงบ้าน สัปดาห์ละครั้ง   อีกอย่างเราได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธา  เลยทำให้โครงการนี้สำเร็จได้”

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 6   ทีมหน่วยโรคระบบหายใจเด็ก  โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

การดูแลบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านหรือ Pediatric Respiratory Home Care อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศในแถบตะวันตก โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร…….

“ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของระบบหายใจบกพร่อง  จนจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางรายที่เป็นแบบเรื้อรัง ไม่สามารถหยุดใช้เครื่องได้  เลยต้องอาศัยนอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ  มักจะมีปัญหาแทรกซ้อนจนกระทั่งเสียชีวิตไปส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นก็จะสิ้นเปลือง สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

การดูแลรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยเด็กนี้ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2538 ริเริ่มโดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุภรี  สุวรรณจูฑะ หัวหน้าหน่วยในขณะนั้น ตอนนั้นหมอเพิ่งกลับมาจากการฝึกอบรมทางระบบหายใจเด็กที่ Johns Hopkins Hospital สหรัฐอเมริกา และได้เรียนรู้ว่าที่อเมริกาการดูแลผู้ป่วยของเขาดีกว่าเรามาก คนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถกลับบ้านได้ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตดี ไปไหนต่อไหนได้ ไม่ต้องนอนอยู่แต่ในโรงพยาบาล ก็รู้สึกสงสารคนไข้บ้านเรา เพราะตรงข้ามกับเขาอย่างสิ้นเชิง

แต่ทีนี้มีสิ่งหนึ่งที่หมอคิดว่าอเมริกากับเมืองไทยไม่เหมือนกัน ก็คือเขามีเงิน มีเครื่องไม้เครื่องมือเยอะ มีระบบประกันสุขภาพ ถ้าคนไข้มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รัฐบาลหรือบริษัทประกันก็สนับสนุน เพราะเห็นว่าการอยู่โรงพยาบาลเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก   เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ก็จะมีการส่งพยาบาลตามไปดูแลให้ที่บ้านด้วย  ค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ยังถูกกว่าให้คนไข้อยู่โรงพยาบาลมากๆ   ตรงนี้เองที่หมอคิดว่าในเมืองไทยเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เราอาจจะหาบริจาคมาได้ แต่ปัญหาก็คือเราจะไปหาพยาบาลที่ไหนไปดูแลคนไข้ที่บ้าน ก็เลยคิดกันกับทีมว่าเป็นไปได้ไหมที่จะให้ญาติพี่น้องหรือพ่อแม่คนไข้เป็นผู้ดูแลแทนพยาบาล

เมืองนอกเขาไม่เหมือนเรา อย่างในอเมริกา ญาติพี่น้องมักไม่ได้อยู่ด้วยกัน  มักจะเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ก็ต้องออกไปทำงานหาเงิน แต่บ้านเราญาติพี่น้องเยอะ ครอบครัวก็รักกัน ใกล้ชิดกันมากกว่า ก็เลยลองคุยกับญาติๆ คนไข้ว่า เป็นไปได้ไหมที่คุณพ่อคุณแม่หรือญาติจะมาฝึกกับทีมพยาบาลของเรา เป็นการฝึกกันแบบตัวต่อตัวเลยนะ ใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าสามารถทำได้ ลูกของคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้กลับบ้าน”

การบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อน  มีรายละเอียดมากมาย            ทีมแพทย์และพยาบาลต้องให้ความรู้แก่ญาติผู้ป่วย  ทั้งการให้ออกซิเจน การเคาะปอด การพ่นยาขยายหลอดลม การดูดเสมหะ การดูแลท่อเจาะคอ  การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน การสังเกตอาการฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  แต่หัวใจหลักของความสำเร็จกลับไม่ใช่กระบวนการทางการแพทย์ แต่เป็น  “ความรักของคนในครอบครัว”  ซึ่งทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการเสาะแสวงหาความรู้ และฝึกทักษะในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

“ตอนแรกที่เริ่มฝึกญาติ   หมอไม่สบายใจมากเลย เพราะไม่แน่ใจว่าแนวความคิดหรือการกระทำอย่างนี้จะสำเร็จหรือเปล่า เพราะอยู่ๆ เราไปเอาพ่อแม่ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญทางการแพทย์มาปฏิบัติ  กลับบ้านไปคนไข้จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดคนไข้เป็นอะไรไป เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   แต่พอทำต่อๆ ไปสักพัก ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กลับกลายเป็นว่าระดับความรู้ของคนดูแลที่บ้านไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ ความตั้งใจและความรักที่มีต่อเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า อย่างน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  ก็มีอาม่ากับพ่อแม่เป็นคนคอยดูแล  ทำให้เห็นถึงความเสียสละ ความรักของครอบครัวคนไทยที่มีให้ลูกหลาน  ทำให้เด็กป่วยหนักคนหนึ่งสามารถกลับบ้าน ไปใช้ชีวิตเหมือนเด็กปกติได้ ซึ่งตรงนี้ประเทศไหนๆ ก็ไม่เหมือนเรา

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

 ภาพที่ 7   น้องกัน อยู่ที่บ้าน มีอาม่าคอยดูแล ช่วยเคาะปอด ดูดเสมหะ และอื่นๆ

 

ตอนที่หมอไปรับรางวัลที่อเมริกา  เขาชื่นชมเรามากในเรื่องนี้ เขาบอกว่าเมืองไทยอาจจะไม่มีเงินนะ แต่สามารถทำในสิ่งที่ทำได้ยากแล้วก็ลงทุนสูงมากให้ประสบความสำเร็จได้ เหตุผลหนึ่งก็เพราะบ้านเราชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวให้ความสำคัญกับเด็ก   พ่อแม่มีความสุขที่จะเสียสละอุทิศกำลังกาย กำลังใจ ให้ความรักความอบอุ่นกับลูก ผลสำเร็จของเราจึงไม่น้อยหน้าต่างประเทศที่เขาใช้พยาบาลมืออาชีพ นอกจากนี้เราก็ยังมีผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนด้านทุนทรัพย์หมอได้กำลังใจและความสนับสนุนจากเพื่อนๆ ของหมอซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ได้ทุนจากหลายแหล่ง  อย่างเช่น มูลนิธิรามาธิบดี   สโมสรโรตารี่   กองทุนของคุณสุภา  ทองอุไทย และส่วนหนึ่งก็เป็นครอบครัวของคนไข้ที่เห็นอกเห็นใจกัน และได้รับบริจาคเครื่องช่วยหายใจเก่าๆ มาจาก Mr.Tim Buckleys บริษัท Walgreens สหรัฐอเมริกา”

 

ตอนที่หมอไปรับรางวัลที่อเมริกา  เขาชื่นชมเรามากในเรื่องนี้ เขาบอกว่าเมืองไทยอาจจะไม่มีเงินนะ แต่สามารถทำในสิ่งที่ทำได้ยากแล้วก็ลงทุนสูงมากให้ประสบความสำเร็จได้ เหตุผลหนึ่งก็เพราะบ้านเราชอบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวให้ความสำคัญกับเด็ก   พ่อแม่มีความสุขที่จะเสียสละอุทิศกำลังกาย กำลังใจ ให้ความรักความอบอุ่นกับลูก ผลสำเร็จของเราจึงไม่น้อยหน้าต่างประเทศที่เขาใช้พยาบาลมืออาชีพ นอกจากนี้เราก็ยังมีผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนด้านทุนทรัพย์หมอได้กำลังใจและความสนับสนุนจากเพื่อนๆ ของหมอซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ได้ทุนจากหลายแหล่ง  อย่างเช่น มูลนิธิรามาธิบดี   สโมสรโรตารี่   กองทุนของคุณสุภา  ทองอุไทย และส่วนหนึ่งก็เป็นครอบครัวของคนไข้ที่เห็นอกเห็นใจกัน และได้รับบริจาคเครื่องช่วยหายใจเก่าๆ มาจาก Mr.Tim Buckleys บริษัท Walgreens สหรัฐอเมริกา”
 

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

 

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี

ภาพที่ 8   ภาพถ่ายกับ  Tim Buckleys  ที่อเมริกา  และ  คุณจีราพร  พงศาสนองกุล พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางระบบหายใจเด็ก รพ.รามาธิบดี
 

 ภาพที่ 9   น้องอาร์ม ใช้เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา

 

อาจกล่าวได้ว่าขณะนี้หน่วยโรคระบบหายใจเด็กของโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Respiratory Home Care)             ที่ดีที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยผลงานที่ประสบความสำเร็จมากมาย โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเด็กกลับไปใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านได้ 36 ราย มีผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านนานที่สุด 7 ปี ผู้ป่วย 10 ราย สามารถหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจได้ และบางรายก็หายเป็นปกติ

“คนไข้ที่ถือว่าร้ายแรงแต่ประสบความสำเร็จในการรักษา ก็ขอยกตัวอย่างกรณีน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  เมื่อแรกที่เกิดมา ข้างขวาไม่มีกระบังลม เพราะฉะนั้นตับที่ควรจะอยู่ในช่องท้องก็เลยเลื่อนขึ้นมาทับปอดที่อยู่ในช่องอกด้านขวา ทำให้หายใจไม่สะดวก  เนื้อปอดด้านขวาก็มีปริมาณน้อยกว่าปกติด้วย กรณีนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน จนกว่าเด็กจะสามารถหายใจเองได้

กรณีของน้องกัน (เด็กชาย กัน ไพโรจน์กีรติกุล)  หมอประทับใจมาก เพราะว่าเขาอยู่โรงพยาบาลมานานเป็นปี แล้วก็ไม่คิดว่าจะกลับบ้านได้ ฐานะทางบ้านก็ไม่ดีนัก คนดูแลก็คืออาม่าซึ่งเราก็ลองฝึกดู และประกาศขอรับบริจาคอุปกรณ์ ปรากฏว่าอาม่าตั้งใจฝึกดีมาก เวลามีปัญหาเฉพาะหน้าก็แก้ไขได้ ก็เลยให้กลับบ้าน ช่วงแรกที่กลับบ้านก็เกิดเหตุฉุกละหุก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไฟฟ้าดับ เครื่องดูดเสมหะต้องใช้ไฟ พอไฟดับเสมหะก็อุดตันในหลอดลม  พ่อก็ต้องรีบอุ้มพาน้องกันไปโรงพยาบาลใกล้บ้านที่สุด ตอนที่กลับบ้านน้องกันยังเด็กมาก ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแล 24 ชั่วโมง ไม่ให้เขาดึงโน่นดึงนี่

ในที่สุดพอเขาโตขึ้น ปอดขยายใหญ่ขึ้น ก็สามารถหายใจเองได้ เราสามารถเอาท่อเจาะคอออกได้ สามารถไปโรงเรียนได้ กรณีของน้องกันทำให้ทีมงานเรามีกำลังใจ  ทีแรกเราไม่กล้าไปพูดกับใครเลย เพราะไม่แน่ใจว่าเราทำถูกหรือเปล่า ไปเอาพ่อแม่หรือญาติมาฝึก ถ้าเด็กเป็นอะไรไป ใครจะรับผิดชอบ แต่ถ้าพ่อแม่หรือญาติมีความตั้งใจจริง รักเด็กจริงๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาก็สำเร็จ เคยมีนะคะ คนที่ร่ำรวยมหาศาลแต่พ่อแม่ไม่ร่วมมือด้วย มันก็ไม่สำเร็จ เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว

....อีกกรณีหนึ่งก็คือน้องโก๊ะ คนนี้น่าสงสารมาก คือเขาเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง เนื้อปอดถูกทำลายไปหมดแล้ว เขามีชีวิตอยู่ได้เพราะเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ปัญหาก็คือว่าเด็กคนนี้อยู่ที่โรงพยาบาลรามาฯ มา 2 ปีเต็ม ค่าใช้จ่ายที่เตียงสามัญ 2 ปี ประมาณสองล้านบาท  ซึ่งโรงพยาบาลรามาฯ เป็นผู้จ่าย แล้วเขาก็โตขึ้นเรื่อยๆ อายุ 14-15 ปี หมอก็ถามว่าอยากกลับบ้านหรือเปล่า เขาบอกว่าอยากกลับมาก   ถึงแม้บ้านเขาอยู่ในสลัม แต่เขาก็อยากกลับบ้านมาก ปัญหาใหญ่ของเขาก็คือ ไม่มีพ่อ แม่ก็มีสามีใหม่ไม่เคยมาดูแล  โก๊ะอยู่กับยายซึ่งเป็นมะเร็งปากมดลูก แล้วแกก็ขายหวยไม่ค่อยอยู่บ้าน น้าก็เก็บกระดาษขาย แล้วใครจะดูแลโก๊ะถ้ากลับบ้านล่ะ หมอก็มานั่งคิดกับพี่ๆ พยาบาลในทีมว่า   โก๊ะก็อายุ 14-15 แล้ว ถ้าหากว่าโก๊ะอยากกลับจริงๆ ฝึกให้โก๊ะดูแลตัวเองได้ไหม เพราะอย่างน้อยก็ช่วยทำให้ความฝันของเขาเป็นจริง   ทีมพยาบาลของเราก็ใช้เวลาฝึกโก๊ะอยู่นานหลายเดือน   ใช้วิธีส่องกระจกเพื่อดูดเสมหะทางท่อเจาะคอด้วยตัวเอง ตัวโก๊ะก็พยายามมากๆ ปรากฏว่าโก๊ะทำได้ดีเกินคาด

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

 

 

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

ภาพที่ 10   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ฝึกใช้อุปกรณ์ และทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองจนสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้
 

 ภาพที่ 11   น้องโก๊ะ  ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ได้รับบริจาคอุปกรณ์ต่างๆ จากผู้มีจิตศรัทธา

 

ก่อนเขาจะกลับ เราก็ไปสำรวจสถานที่ที่บ้านกัน ปรากฏว่าเป็นสังกะสีทั้งหลังอยู่ติดกับกองขยะ ซึ่งอันตรายเพราะเครื่องช่วยหายใจมันจะร้อนเกินไป เลยต้องเจาะสังกะสีทำเป็นบานกระทุ้ง สุดท้ายโก๊ะก็ได้กลับไปอยู่บ้านในสลัม โก๊ะมีความสุขมากๆ เป็นเวลาปีกว่าก่อนจะเสียชีวิตด้วยภาวะการหายใจล้มเหลวจากปอดที่ถูกทำลาย ซึ่งเราก็ยังภูมิใจว่าได้ทำความฝันของโก๊ะ ให้เป็นจริง  ก็คือการได้กลับบ้าน รูปของโก๊ะก็มีคนนำไปลงในหนังสือต่างประเทศ อันนี้มีส่วนทำให้หมอได้รับรางวัล

....คนไข้คนหนึ่งที่หมอภูมิใจที่ได้รับใช้ก็คือ คุณโกวิท  บุณยัษฐิติ สามีของ ท่านผู้หญิงอังกาบ  บุณยัษฐิติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา ท่านผู้หญิงเคยเป็นอาจารย์ประจำชั้นสอนวิชาเลขหมอมาตั้งแต่เด็กๆ คุณโกวิทเป็นโรคไขสันหลังเสื่อม  ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ที่บ้านซึ่งหมอก็ได้มีโอกาสดูแลท่าน ตอนนี้ท่านก็สามารถกลับบ้านได้โดยใช้เครื่องช่วยหายใจมานาน 7 ปีแล้ว สามารถไปไหนต่อไหนได้ ไปเที่ยวต่างจังหวัดเป็นประจำ”

องค์ความรู้ในเรื่องการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่บ้านแก่ผู้ป่วยถือว่าเป็นความรู้ใหม่ในบ้านเราที่จะต้องเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ฯ ก็มีดำริที่จะขยายความช่วยเหลือทางวิชาการแก่หน่วยงานอื่นๆ และผู้สนใจ

“หมอมีโอกาสสอนทางการประชุมวิชาการต่างๆ ทั้งที่จัดโดยชมรม ราชวิทยาลัย และโรงพยาบาล มีบทความตีพิมพ์ในหนังสือเกี่ยวกับการดูแลระบบหายใจที่บ้าน และตอนนี้เรากำลังพัฒนาผลิตสื่อการสอนเป็นวีดีโอให้โรงพยาบาลต่างจังหวัด เพื่อในอนาคตเขาจะสามารถทำได้ มีการอบรมแพทย์และพยาบาลต่อยอดทางระบบหายใจเด็ก ทำให้แพทย์และพยาบาลในต่างจังหวัดสามารถมาเรียนกับเราแล้วไปฝึกฝนทักษะได้ เป็นโครงการที่เราจะกระจายความรู้ออกไป ในกรณีบางโรงพยาบาลที่มีปัญหา สามารถโทร. มาปรึกษาได้ที่ 0-2201-1727 หมอจะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่คอยประสานงานให้ หรือถ้ามีผู้ป่วยที่ซับซ้อนมากๆ ก็ส่งมาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี”

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 12   สอน workshop ให้แพทย์และพยาบาล

 

ผลงานอันโดดเด่นของแพทย์ไทยคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกอาจเป็นเครื่องชี้วัดถึงความสำเร็จในชีวิตของบุคคลนั้น แต่ภาพรอยยิ้มเปี่ยมสุขของ รศ.พญ.อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์ กับ เด็กชายกัน อดีตคนไข้โรคไม่มีกระบังลมแต่กำเนิด  ที่สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ คือสิ่งที่บ่งบอกว่าความสำเร็จในชีวิตของแพทย์คนหนึ่ง อาจไม่ได้อยู่ที่รางวัลใดๆ แต่อยู่ที่ผลสำเร็จในการ....ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย.....คนแล้วคนเล่าและมอบ “ชีวิตใหม่” ให้แก่พวกเขา

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

ภาพที่ 13   ภาพครอบครัว

 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์  เป็นบุตรสาวคนโตของ นายแพทย์ สุหัท  และ นอ.หญิง แพทย์หญิง ทรงศรี  ฟุ้งเกียรติ  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนราชินีบน   ประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์และต่อยอดสาขาโรคระบบการหายใจเด็ก จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้ไปฝึกอบรมต่อทางระบบหายใจเด็กที่ Johns Hopkins Hospital สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ แสงชัย  พฤทธิพันธุ์ ภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

มีบุตรหญิง-ชาย 3 คน (นวลวรรณ  นันทิชา  อุทัยวิทย์)

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

แพทย์หญิง อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์

 

 

รศ.พญ.อรุณวรรณ ได้รับรางวัล Governors Community Service Award จาก CHEST
 

นิตยสาร สกุลไทย รายสัปดาห์  ปีที่ 50  ฉบับที่ 2593  ISSN 0125-068 X ประจำวันอังคาร วันที่ 29 มิถุนายน 2547