ตำแหน่งสถานที่ : อาคาร 1 ชั้น 4 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันและเวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 20.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 8.30-16.30 น.
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-201-1444,02-201-0039 E-mail : emramathibodi@gmail.com
บุคลากรภายในหน่วย :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุชิน วรวิชชวงษ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน |
ปรเมศร์ ริมทอง นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน) |
|||
กัญญารัตน์ ภูคัง |
ปาณิศา ทาขุน นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
||
ไพรินทร์ รักษ์ชน ผู้ปฏิบัติงานบริหาร |
|
ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เปิดบริการเพื่อวินิจฉัยชิ้นเนื้อ และให้บริการด้านการวิจัยในระดับจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Transmission และ Scanning electron microscope) แก่อาจารย์และนักวิทยาศาสตร์ ในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติดังนี้
การส่งตรวจ
1. ด้านการวินิจฉัยชิ้นเนื้อ
1.1 แพทย์ผู้สั่งตรวจต้องติดต่อกับพยาธิแพทย์ในภาควิชาพยาธิวิทยา เพื่อขอสั่งตรวจวินิจฉัยในระดับจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่เบอร์โทร 1667,1444,0039 และนัดหมายเวลาส่งสิ่งส่งตรวจที่เบอร์โทร 1431,1249
1.2 กรอกรายละเอียดของผู้ป่วยพร้อมข้อมูลทางคลินิกที่สำคัญ ชื่อพยาธิแพทย์ผู้รับผิดชอบ และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้ส่งตรวจตามแบบฟอร์มใบสั่งตรวจชิ้นเนื้อ
1.3 ชิ้นเนื้อที่เหมาะสมต้องมีขนาดประมาณ 1x1x1 มม. โดยต้องใส่ใน Fixative 2.5-3 % Glutaraldehyde ในPhosphate buffer pH 7.4 อย่างน้อย 3 ml. ทันทีที่เก็บสิ่งส่งตรวจได้ (ขอรับขวดบรรจุน้ำยา Fixative ขนาดบรรจุ 1.5 ml. ได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน)
1.4 นำสิ่งส่งตรวจ ใบส่งตรวจชิ้นเนื้อ พร้อมหลักฐานการชำระเงิน ลงทะเบียนที่จุดรับชิ้นเนื้อหน้าห้องปฏิบัติการศัลยพยาธิวิทยา ชั้น 4 อาคาร 1
2. ด้านการวิจัย
2.1 ต้องมีอาจารย์ภายในภาควิชาพยาธิวิทยาเป็นผู้ร่วมวิจัย
2.2 ผู้ใช้บริการต้องแนบโครงการวิจัย พร้อมสำเนาเอกสารการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการจริยธรรม และทุนวิจัยเพื่อพิจารณาความพร้อม และความสะดวกในการจัดสรรเวลาให้บริการสำหรับงานวิจัย
2.3 อัตราค่าบริการสำหรับงานวิจัยใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง อัตราค่าบริการของภาควิชาพยาธิวิทยา และ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทางรังสีวิทยา และค่าบริการต่าง ๆ สำหรับโครงการวิจัย
2.4 ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการงานวิจัยที่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติข้างต้น
หมายเหตุ : 2.5-3 % Glutaraldehyde ใน Phosphate buffer pH 7.4 หากยังไม่ใช้ทันทีให้เก็บไว้ที่ 2-8 องศาเซลเซียส โดยเก็บไว้ได้นาน 1 เดือน
เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
1. ไม่ได้ทำการติดต่อพยาธิแพทย์ไว้ล่วงหน้า หรือไม่มีพยาธิแพทย์ผู้รับผิดชอบ
2. ข้อมูลในใบส่งตรวจไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุ ชื่อพยาธิแพทย์ผู้รับผิดชอบ ไม่มีชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจ ขาดข้อมูลทาง คลินิก
เป็นต้น
3. ข้อมูลในใบส่งตรวจ ไม่ตรงกับข้อมูลที่ขวดชิ้นเนื้อ
4. ชิ้นเนื้อไม่ได้รับการ fix ที่เหมาะสม เช่น ชิ้นเนื้อขนาดใหญ่เกินไป ชิ้นเนื้อไม่สัมผัสน้ำยา ใช้น้ำยา fix (fixation) ผิดชนิด
5. ชิ้นเนื้อที่มีปริมาณน้อย ขนาดเล็กเกินไป
การรายงานผล
พยาธิแพทย์รายงานผลการตรวจใน Surgical pathology report (LIS-WI-PAH-001/001Rev.0 03/02/51) ผ่านระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ไปยัง WARD/OPD ต่างๆ แพทย์ผู้รักษาสามารถดูผลการวินิจฉัยได้ทางคอมพิวเตอร์ สำหรับผลชิ้นเนื้อไตที่ส่งมาจากภายนอกโรงพยาบาล พยาธิแพทย์รายงานผลลงใน Electron Microscopy Report (LIS-WI-PAH-001/002 Rev. 0 05/11/55) และพิมพ์ผลที่เป็นเอกสารส่งห้องปฏิบัติการศัลยพยาธิเพื่อส่งผลให้กับผู้รับบริการภายนอก
กำหนดระยะเวลาในการรายงานผล 30 วันทำการ
อัตราค่าบริการห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
การบริการของห้องปฏิบัติการ :
บริการการวินิจฉัยชิ้นเนื้อผู้ป่วย ด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอน (ระดับ ultrastructure) และ งานวิจัยทางชีวภาพการแพทย์ (biomedicine)
ห้องปฏิบัตการนี้ติดตั้งกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน 2 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับงานวินิจฉัย ศึกษาวิจัยทางพยาธิวิทยา และชิวภาพการแพทย์
- กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิชชัน ฮิตาชิ รุ่น H-7100
- กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิชชัน ฮิตาชิ รุ่น HT-7700
- กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน รุ่น SNE-3200M (ปิดบริการชั่วคราว)
การบริการ :
- ตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อส่งตรวจที่มีปัญหาการวินิจฉัยในระดับ กล้องจุลทรรศน์ ธรรมดาโดยพยาธิแพทย์
- ศึกษาวิจัย วินิจฉัยทาง ultrastructural pathology ในสิ่งส่งตรวจจากงานผ่าศพ
- ตรวจวินิจฉัยจุลชีพต่างๆทางจุลชีววิทยาไวรัสวิทยา ตามลักษณะรูปร่างสัณฐาน และรายละเอียด เฉพาะตัวของจุลชีพนั้นๆ ที่ไม่สามารถวินิจฉัยด้วย กล้องจุลทรรศน์ ธรรมดา หรือวิธีการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
- งานวิจัยทางพยาธิวิทยาและชีวภาพการแพทย์สาขาอื่นๆ ที่ต้องใช้บริการของกล้องฯ เพื่อหาข้อมูลในระดับเซลล์หรือระดับอณูชีววิทยา ซึ่งครอบคลุมถึงงานวิจัยหลายๆ สาขาวิชา เช่น พยาธิวิทยาในสัตว์ ทดลอง พยาธิชีววิทยา กีฏวิทยา จุลชีววิทยา ไวรัสวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา และ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
การเรียนการสอน :
สอน Electron Microscopy แก่แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาปริญญาโท - เอก ให้สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน วินิจฉัยชิ้นเนื้อ หรือศึกษาวิจัยงานในโครงการ วิทยานิพนธ์ได้