ตำแหน่งสถานที่ : อาคาร 1 ชั้น 6 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-201-1470, 02-201-1324, 02-201-2115
วันและเวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น.
นอกเวลาราชการ :
- จันทร์ - ศุกร์ เวลา 16.30 - 00.30 น.
- รับตัวอย่างทุกรายการทดสอบ
- รับและทดสอบตัวอย่างส่งตรวจไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
- ตรวจวินิจฉัยการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1 genotypic drug resistance test)
- จันทร์ - ศุกร์ เวลา 00.30 - 8.30 น.
- รับตัวอย่างทุกรายการทดสอบ
- รับและทดสอบตัวอย่างส่งตรวจไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
- ตรวจวินิจฉัยการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1 genotypic drug resistance test)
- เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 - 16.30 น.
- รับตัวอย่างทุกรายการทดสอบ
- ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสจากตัวอย่างส่งตรวจ โดยวิธี real time PCR
- ตรวจวัดปริมาณไวรัส CMV
- รับและทดสอบตัวอย่างส่งตรวจไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
- เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 16.30 - 00.30 น.
- รับตัวอย่างทุกรายการทดสอบ
- รับและทดสอบตัวอย่างส่งตรวจไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
- ตรวจวินิจฉัยการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1 genotypic drug resistance test)
- เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 00.30 - 8.30 น.
- รับตัวอย่างทุกรายการทดสอบ
- รับและทดสอบตัวอย่างส่งตรวจไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
- ตรวจวินิจฉัยการดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1 genotypic drug resistance test)
บุคลากรภายในหน่วย :
อาจารย์ ดร.เอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา |
นายแพทย์พิเชฐ ยุทธนาการวิกรม อาจารย์ |
|||
จุฑาทิพ ทองสุก นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการ) (รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา) |
|||
กาญจนา เปรมชัยพร |
นิภา ทองใบเพ็ชร |
||
วิชุฎา นาคพวง นักวิทยาศาสตร์ |
การัญญุตา วงษ์ทับทิม นักวิทยาศาสตร์ |
||
อมรรัตน์ คล่องแคล่ว นักเทคนิคการแพทย์ |
ญาณิกา กีรติวงศา นักเทคนิคการแพทย์ |
||
กนกนันท์ ถนอนปกรณ์ นักเทคนิคการแพทย์ |
กิ่งกาญจน์ รักษ์มณี นักเทคนิคการแพทย์ |
||
ช่อทิพย์ วาทิตต์พันธุ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
สุภญา อังคะนาวิน นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
||
ปารีณา จันทร์ชมภู นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
สุภาพร ร่มโพธิ์ภักดิ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
||
สุคันธา กวีภัทรนนท์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
จิราภรณ์ เกตุกล้า นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
||
ตรีวัฒน์ วัฒนะโชคชัย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
พลธณัฎฐ์ ลีดอกไม้ นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
||
รุจิกรณ์ กัลยาณดลกิตติ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
อัจฉรา รักขาว ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ |
||
กฤตพล ยืนยาว ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ |
ณัชธพงศ์ เกตุกนก ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ |
||
การบริการ : ขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยไวรัสวิทยาฯ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนงานหลักคือ
1. บริการตรวจวินิจฉัยไวรัสทางห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิคชีวโมเลกุล (Molecular Virologic techniques)
- 1.1 ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆจากตัวอย่างส่งตรวจ (Qualitative assays for diagnosis)
เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสจากสิ่งส่งตรวจว่ามี (+) หรือไม่มี (-), ด้วยเทคนิดทางชีววิทยาโมเลกุล เช่น PCR, RT-PCR และวิธีการ Real-Time RT-PCR ซึ่งมีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สูง ซึ่งจะทำให้แพทย์ได้รับผลตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว แม่นยำ และทันต่อการรักษาของแพทย์ โดยแบ่งการตรวจเป็น 3 หมวด
หมวดแรก เป็นการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัส HIV-1, HCV, HBV และ HPV (เพื่อ screen หาสายพันธุ์ สำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก) จากสิ่งส่งตรวจด้วยวิธีการซึ่งมีการรับรองจากหน่วยงานระดับนานาชาติ อาทิเช่น องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
หมวดที่สอง เป็นการตรวจกลุ่มไวรัสไวรัสก่อปัญหาในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากการใช้ยากดระบบภูมิคุ้มกันขณะปลูกถ่ายอวัยะวะ หรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ อาทิ HSV-1/2, CMV, EBV, VZV
หมวดที่สาม เป็นการตรวจเชื้อไวรัสที่มีการติดต่อร้ายแรง เช่น SAR coronavirus, Avian Influenza virus ซึ่งการตรวจไวรัสในกลุ่มนี้จะทำเฉพาะในกรณีได้รับการร้องขอจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น
ภาพแสดงผลการทดสอบหาไวรัส ด้วยวิธี Real-Time PCR หากมีไวรัสต้องสงสัยจะมีสัญญาน (peak) ปรากฎขึ้นอย่างชัดเจน หากไม่มีไวรัสสัญญานจะแบนราบ
- 1.2 ตรวจวัดปริมาณไวรัสชนิดต่างๆจากตัวอย่างส่งตรวจ (Quantitative assays for monitoring)
การตรวจวัดปริมาณไวรัสในกระแสเลือด เป็นการตรวจวินิจฉัยที่มีความสำคัญสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ผลการตรวจวิเคราะห์จะแสดงปริมาณจีโนมของไวรัสในกระแสเลือดเป็นหน่วยของ copies/mL หรือ IU/mL โดยแพทย์สามารถใช้ค่าไวรัสในกระแสเลือดนี้เพื่อการติดตามและประเมินผลการรักษา รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และติดตามประสิทธิผลของยาต้านไวรัสในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือควบคุมปริมาณไวรัสรวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งตรวจหาการดื้อต่อยาต้านไวรัสในลำดับต่อไปด้วย
โดยการตรวจวัดปริมาณไวรัสสามารถใช้ตัวอย่างส่งตรวจได้หลายชนิด เช่น เลือด พลาสม่า ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง โดยอาศัยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลต่างๆ ที่มีความเหมาะสมกับการตรวจวัดปริมาณไวรัสแต่ละชนิด และประเภทของสิ่งส่งตรวจด้วย เช่น PCR, Real-time RT-PCR, bDNA, NASBA (EasyQ) เป็นต้น
สำหรับชุดตรวจวัดปริมาณไวรัสในกระแสเลือด ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการใช้ในห้องปฏิบัติการของหน่วยไวรัสวิทยาฯ โรงพยาบาลรามาธิบดี คือ
1 Cobas Ampliprep-Cobas TaqManTM HIV-1 HPS
2 Abbott RealTime HIV-1 assay
3 Versant HIV-1 RNA 3.0 assay (Branched DNA)
4 NucliSens EasyQ assay