ห้องปฏิบัติการคลังเลือด

 

ตำแหน่งสถานที่ : อาคาร 1 ชั้น 2 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
                       และอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์  ชั้น 3

หมายเลขโทรศัพท์ : 02-201-1219, 02-201-1229

วันและเวลาทำการ : ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
การให้บริการนอกเวลาราชการ : การตรวจสอบ Blood grouping ABO Rh (เฉพาะD) Direct antiglobulin test Indirect antiglobulin test, Transfusion reaction


บุคลากรภายในหน่วย :

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิมพรรณ กิจพ่อค้า
หัวหน้าห้องปฏิบัติการคลังเลือด

 

แพทย์หญิงพสุพร โพธิ์เงินนาค
อาจารย์
แพทย์หญิงวาสวรรณ เขียนดวงจันทร์
อาจารย์
  วิมล  เธียรโพธิ์ภิรักษ์
นักเทคนิคการแพทย์ (ผู้ปฏิบัติการ)
(รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการคลังเลือด)
 
   

วนิดา  ขำอินทร์
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(ผู้ชำนาญการ)

ศราวัลย์  จันทน์เทศ
นักเทคนิคการแพทย์
ประกายมาส  บุพอังกูร
นักเทคนิคการแพทย์
ปณิธิตา  สุขสมบูรณ์วงศ์
นักเทคนิคการแพทย์
สุกัลยาณี  อ่อนสีแดง
นักเทคนิคการแพทย์
วัฬวิสาข์ มูลสาร
นักเทคนิคการแพทย์
เจตนิพิฐ  จรุงกลิ่นจรัส
นักเทคนิคการแพทย์
วุฒิไกร  ศรีดาคุณ
นักเทคนิคการแพทย์
ปรวรรณ  พัฒนจักร
นักเทคนิคการแพทย์

ธนวดี  วงศ์สว่าง
นักเทคนิคการแพทย์

นุกูล  แย้มกลัด
นักเทคนิคการแพทย์
ชมพูนุท  ต่อสุวรรณ
นักเทคนิคการแพทย์
อาทิตย์  สังขฤกษ์
นักเทคนิคการแพทย์
ณัฐธิดา  กันธวัง
นักเทคนิคการแพทย์
กิตติศักดิ์ จิตรภักดี
นักเทคนิคการแพทย์
ปวิตา สมานวงษ์
นักเทคนิคการแพทย์
สุขุมาล  ประไพเพชร
นักเทคนิคการแพทย์
กุลปริยา  ยอดมูลคลี
นักเทคนิคการแพทย์
ชุติกาณจน์ ทองหุ้ม
นักเทคนิคการแพทย์
กฤษณา  กระแสร์
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
พิมฉวี  จันทร์ขำ
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
ถิรายุทธ์  ศิลธรา
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
นิชารัตน์  ศรีลำ
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
รุ่งทิพย์  พันธราช
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
สุวัฒน์  เชี่ยวชาญ
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
จีรพันธ์  เรืองโรจน์
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
กาญจนา  เครือไชย
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
ลภัสรดา  อุ่นเรือน
นักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรรณิกา  งามสวย
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
ณัฐิณี  ภู่สวัสดิ์
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
รัตนาภรณ์  ปราบตะเข้
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
ธิดารัตน์  ดวงเงิน
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
ศิริเพ็ญ  ผิวขาว
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
สมโภช  ชูวงศ์
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
อนุชศรา  หอมตา
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
พิณาภรณ์ สุขีทรัพย์
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
กิตติคุณ  แสงศรี
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
วีราทร ทรงกิจ
ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
สุรศักดิ์  อิทธิสิฎฐ์
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
   
กมลณัฐ บุญชูกุศล
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ศิริพร  กิตไชย
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร
รุ้งตะวัน  จันทร์บำรุง
ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
อรวรรณ  จันเจอบุญ
ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
ศนิญา  บ้างสกุล
ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์
พัชรี  รอบวงจันทร์
พนักงานบริการ

 

คลังเลือดมีบริการแยกเป็น 4 ส่วน คือ

  1. รับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคทั่วไป และญาติผู้ป่วย (อาคาร 1 และอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์)
                เวลาทำการ 8.30 - 16.30 น. ของทุกวัน 
  2. รับบริจาคโลหิตจากผู้ป่วย เพื่อใช้ในการผ่าตัด (อาคาร 1 และอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์)
                เวลาทำการ 08.30 - 16.30 น. ในเวลาราชการ
  3. ปั่นแยกส่วนประกอบของโลหิต 
                เวลาทำการ 8.30 - 16.30 น. ของทุกวัน 
  4. ห้องปฏิบัติการทั่วไป ให้บริการด้านการทดสอบเกี่ยวกับหมู่โลหิต จัดหาโลหิต และส่วนแยกของโลหิตที่เข้ากันได้ให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งทำการทดสอบทาง serology เพื่อการวินิจฉัย HDN, AIHA  และ alloantibody ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการให้โลหิต และ transfusion reaction work up 
                เวลาทำการ    - ในเวลาราชการทำการทดสอบในรายการแนบท้าย 
                                  - นอกเวลาราชการทำการทดสอบเฉพาะรายการใน emergency request 

วิธีปฏิบัติในการขอและใช้โลหิต

1. การเจาะตัวอย่างโลหิต และส่งใบ request
 

1.1 เขียนใบ request ให้ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน
1.2 ต้องเขียนชื่อผู้เจาะตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยบนใบ request และบน label ของหลอดโลหิตผู้ป่วยทุกครั้ง
1.3 การเจาะตัวอย่างโลหิต
 

1.3.1 ตัวอย่างโลหิตผู้ใหญ่
 

1.3.1.1 ตัวอย่างโลหิตเป็น clotted blood 7 ml. และ tube EDTA 7 ml. อย่างละ 1 tube  การทำ crossmatch ใช้ตัวอย่างโลหิตร่วมกับตรวจหมู่โลหิต ABO ได้ ถ้าต้องการ  ตรวจเฉพาะหมู่โลหิต            ABO ใช้ tube EDTA 7 ml.

1.3.1.2 ถ้าต้องการโลหิตมากกว่า 3 ยูนิต ขอตัวอย่างโลหิตเพิ่มเป็น 10 ml. ให้เจาะตัวอย่างโลหิตใหม่ ถ้ามีการขอเม็ดโลหิตแดงเพิ่มในวันใหม่ ส่วนการขอ blood component ชนิดอื่น ๆ ใช้ตัวอย่าง                โลหิตเดิมได้ 3 วัน
 

1.3.2 ตัวอย่างโลหิตเด็ก
 

1.3.2.1 เด็กเล็ก

                                            เจาะเก็บตัวอย่างโลหิต clotted blood

                                            - microtube 1 – 1.5 ml. จำนวน 1 tube (เมื่อขอเลือดไม่เกิน 1 unit)
                                            - microtube 1 – 1.5 ml. จำนวน 2 tube (เมื่อขอเลือด ≥ 2 unit)
                                               เจาะเก็บตัวอย่างโลหิต ชนิด EDTA blood 500 uL จำนวน 1 tube
                                            ยกเว้น  - หอผู้ป่วยเด็ก 4 (4SP), 8IC (NICU) เก็บตัวอย่างโลหิตเป็นชนิด clotted blood  
                                                         อย่างเดียวและทำวิธี manual tube test
                                                      - กรณีที่หอผู้ป่วยเด็กไม่สามารถเจาะโลหิตให้ได้ตามข้อกำหนดให้เก็บตัวอย่างโลหิตเป็น microtube 1-1.5 ml. 1 tube และให้เขียนมาในใบขอเลือด ว่าเจาะเก็บได้เพียง
                         1 tube
1.3.2.2 เด็กโต

           เด็กอายุมากกว่า 3 เดือน เจาะตัวอย่างโลหิตชนิด clotted blood 3-5 ml. และ EDTA 3 ml. อย่างละ 1 tube

1.3.2.3 เด็กแรกคลอด จำเป็นต้องใช้โลหิตมารดามาตรวจด้วย

           -ในกรณีคลอดปกติ ให้เจาะเก็บตัวอย่างโลหิตมารดาเป็นตัวอย่างโลหิตชนิด  clotted blood 7 ml. และ EDTA blood 7 ml. อย่างละ 1 tube 
                                           -ในกรณีคลอดแบบ cesarian section ไม่ต้องเจาะเก็บโลหิตมารดา เนื่องจากหน่วยคลังเลือด จะหาตัวอย่างโลหิตมารดา ที่ส่งมาขอเลือดเพื่อใช้ในการผ่าตัดจากสูติศาสตร์มาใช้ได้
                                           -ในกรณีที่ไม่สามารถ เจาะเก็บตัวอย่างโลหิตมารดาส่งมาที่คลังเลือดได้ คลังเลือดจะจ่ายเลือด RBC หมู่ O และ FFP หมู่ ตรงกับหมู่โลหิตเด็กให้หอป่วย
 
1.3.2.4 กรณีที่ขอตรวจหมู่โลหิต โดยไม่ต้องการขอเลือดให้ส่งเฉพาะตัวอย่างโลหิต ชนิด EDTA blood อย่างเดียว
 
1.3.2.5 เด็กเล็กที่อายุ < 3 เดือน คลังเลือดต้องตรวจหมู่โลหิต ABO ทั้งหมด 2 ครั้งก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่อง identification error หลังจากครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องเจาะตัวอย่างโลหิตเด็ก เพื่อ            หาหมู่โลหิต

 

1.4 Type/Screen (T/S) ใช้สำหรับขอโลหิตเตรียมผ่าตัดชนิด elective ที่ไม่ค่อยได้ใช้โลหิต แต่ต้องการมีโลหิตให้พร้อมสำหรับผู้ป่วย  โดยทำการทดสอบโลหิตผู้ป่วยเพียงหมู่โลหิต ABO และผลการตรวจสอบแอนติบอดี้ต่อหมู่โลหิต ต้อง negative จึงใช้การขอโลหิตวิธี T/S ได้  รายที่ขอโลหิตแบบนี้และต้องใช้โลหิตในขณะผ่าตัด มารับโลหิตได้ในเวลา 15 นาที

1.5 Autologous blood ใช้สำหรับขอโลหิตเตรียมผ่าตัด ชนิด elective ที่ส่วนใหญ่ใช้โลหิต โดยทำการทดสอบโลหิตผู้ป่วยเพียงหมู่โลหิต ABO

2. การขอเม็ดโลหิตแดง  (packed red cell)
 

2.1 เตรียมผ่าตัด 
 

2.1.1 ในรายถ้าขอเฉพาะ RBC และ / หรือ  Plasma ให้ส่งใบขอและตัวอย่างโลหิตก่อน 14.00 น. ของวันก่อนผ่าตัด 1 วัน แล้วให้สอบถามว่าได้โลหิตหรือไม่โดยเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยนำสมุดมา OK ที่หน่วยคลังเลือด เวลาประมาณ 16.00 - 18.00 น. ของวันที่ส่งใบขอโลหิต

2.1.2 ในรายที่ขอ RBC และ platelet ให้ส่งใบจอง platelets พร้อมตัวอย่างโลหิตก่อนผ่าตัด 2 วัน เช่น ผ่าตัดวันพุธให้ส่งใบจอง platelet วันจันทร์ แล้วให้สอบถามว่าได้ platelet หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยนำ            สมุดมา OK เลือด เวลาประมาณ 16.00 - 18.00 น. ของวันอังคาร

2.1.3 ในราย elective ที่ใช้โลหิตมากกว่า 4 ยูนิต ให้ส่งใบจองพร้อมตัวอย่างโลหิตก่อนวันผ่าตัด 2 วัน เช่น ผ่าตัดวันพุธ ให้ขอวันจันทร์ ให้สอบถามว่าได้โลหิตหรือไม่ประมาณ 10.00 น. ของวันอังคารและให้เจ้า              หน้าที่หอผู้ป่วยนำสมุดมา OK เวลาประมาณ 16.00 - 18.00 น.

2.1.4 วิธีการ OK โลหิต
 
        2.1.4.1 ในกรณีที่ผู้ป่วยได้โลหิต  เจ้าหน้าที่หน่วยคลังเลือดจะเขียนคำว่า “ได้” ในสมุด OK เลือด
       
        2.1.4.2
 ในกรณีที่ไม่ได้โลหิต ณ เวลาที่มา OK โลหิต  เจ้าหน้าที่หน่วยคลังเลือดจะเขียน  คำว่า  “ไม่ได้”  พร้อมแจ้งเหตุผลในการที่ไม่ได้โลหิต

2.1.5 ในกรณีที่ผู้ป่วยขอโลหิตหลังเวลา 14.00 น. หรือกรณีที่ OK โลหิต ให้ผู้ป่วยไม่ได้ เมื่อ เวลา 16.00 - 18.00 น. ให้ปฏิบัติดังนี้
 

2.1.5.1 ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยซึ่งจะรับการผ่าตัดเป็น case แรก ให้แต่ละ OR โทรมาถามที่หน่วยคลังเลือดได้ในเวลา 7.00 - 8.00 น. ของวันที่ผ่าตัด

2.1.5.2 ในกรณีที่ไม่ได้ผ่าตัดเป็น case แรก ให้แต่ละหอผู้ป่วยรวบรวมรายชื่อผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่ได้โลหิต และนำสมุดมา OK ที่หน่วยคลังเลือด เวลา 8.30 - 9.00 น. ของ   วันที่ผ่าตัด

2.1.6 ในรายที่ผู้ป่วยขอโลหิตจาก OPD อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ และจะมาผ่าตัดที่ อาคาร 1  ให้ระบุลงในใบขอโลหิตให้ชัดเจนว่า ”ผ่าตัดอาคาร 1”

 

2.2 ระหว่างการผ่าตัด กรณีต้องใช้โลหิตหรือส่วนแยกของโลหิตเพิ่มเติมในระหว่างการผ่าตัด ให้ระบุ
       ให้ชัดเจนในใบขอว่า ขอไปใช้ในระหว่างผ่าตัด และต้องการรับไปทั้งหมด หรือกี่ยูนิต 

2.3 รายปกติ ควรขอในเวลาราชการ ใบขอโลหิตพร้อมตัวอย่างโลหิตที่ส่งถึงคลังเลือดก่อน 9.00 น.
      จะได้โลหิตไม่เกิน 12.00 น. รายที่ส่ง 10.00 น. - 12.00 น. จะได้โลหิตก่อน 16.00 น.
      รายที่ส่งหลัง 12.00 น. - 15.00 น. จะได้โลหิตประมาณ 16.30 น. ของวันเดียวกัน 
      ถ้าขอหลัง 15.00 น. จะได้ภายในเวลาประมาณ  3  ชั่วโมง หลังจากส่งใบขอถึงคลังเลือด  
      ในกรณีที่ต้องการขอโลหิตเพิ่ม ทั้งที่ยังใช้โลหิตที่ขอไว้ไม่หมด ให้เขียนว่า “ขอเพิ่ม" ในใบขอโลหิต

2.4 รายรีบด่วน (Stat)  จะได้โลหิตภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากส่งใบขอถึงคลังเลือด
      ส่วนรายฉุกเฉิน เวลาเป็นไปตามที่ระบุในใบขอโลหิต

2.5 การขอโลหิตสำหรับ Intrauterine transfusion ให้ปฏิบัติดังนี้

2.5.1 เนื่องจากการเตรียมโลหิตสำหรับ Intrauterine transfusion ต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงขอให้บริการในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น.

2.5.2 ขอให้ใช้โลหิตชนิด Irradiated and filtered RBC ในกรณีที่ต้องการโลหิตชนิด CMV Negative ให้ขอล่วงหน้า 3 วัน เนื่องจากหน่วยไวรัสวิทยาและจุลชีววิทยาโมเลกุล ใช้เวลาตรวจ 3 วัน พร้อมกับมีค่าใช้จ่าย           เพิ่มขึ้นอีก unit ละ 600 บาท

 

3. การมารับโลหิต  รายที่ทางหอผู้ป่วยไม่ได้รับแจ้งว่ามีปัญหา ให้มารับได้ตามเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องโทร.
    มาถามก่อน  ยกเว้นเมื่อต้องการใช้โลหิตก่อนเวลากำหนด

4. การจ่ายโลหิต

4.1 โลหิตที่ใช้ในห้องผ่าตัด คลังเลือดจะจ่ายโลหิตไปห้องผ่าตัดทุกยูนิตพร้อมกันในเวลา 8.00 - 8.30 น.
       พร้อมทั้งสำเนาใบขอโลหิต ซึ่งทางห้องผ่าตัดจะใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบในการให้โลหิตแก่ผู้ป่วยในขณะผ่าตัด

        เสร็จแล้วต้องเก็บสำเนานี้ไว้ในเวชระเบียนส่งต่อไปยังหอผู้ป่วย

4.2 โลหิตหรือส่วนแยกของโลหิตที่ขอเพิ่มในระหว่างการผ่าตัด  จะจ่ายให้ตามจำนวนที่ระบุในใบขอ สำหรับพลาสมา ถ้าขอเกิน 2 ยูนิต จะละลายและจ่ายให้ไป 2 ยูนิตก่อน ถ้าจะใช้ต่อให้โทร.มาแจ้ง พร้อมส่งคนมารับ

4.3 การเตรียมโลหิต สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ใช้ในห้องผ่าตัด
      ผู้ป่วยเพิ่มเป็นค่าเชื่อมถุงโลหิตและ transfer bag เป็นจำนวน ๑๙๐.- บาท ต่อ 1 unit
      ผู้ป่วยเด็กที่ขอโลหิต เพื่อเตรียมผ่าตัดจำนวน น้อยกว่า 1 ยูนิต (250-300 ml. / unit) หน่วยคลังเลือดจะ      

                แบ่งจ่ายโลหิต ดังนี้
4.3.1 หน่วยคลังเลือดจะแบ่งโลหิตให้ผู้ป่วยเด็กก่อนที่จะนำส่งโลหิตไปยังห้องผ่าตัด พร้อมกับคิดเงินผู้ป่วยเพิ่มเป็นค่าเชื่อมถุงโลหิตและ transfer bag เป็นจำนวนเงิน ๑๙๐.- บาท ต่อ 1 unit
 
4.3.2 ถ้าขอไม่เกิน 2 dose เช่น ขอโลหิต จำนวน 60 ml. x 2 dose ก็จะแบ่งเป็น 60 ml. จำนวน 2 ถุง ส่วน โลหิตที่เหลือถุงใหญ่จะเก็บไว้ที่หน่วยคลังเลือด หากมีความจำเป็นต้องใช้เพิ่มให้ติดต่อหน่วยคลังเลือดแล้วให้ส่ง request พร้อมระบุจำนวนที่ขอเพิ่ม
 
4.3.3 ถ้าขอเกิน 2 dose เช่น ขอโลหิตจำนวน 60 ml. x 4 dose ก็จะแบ่งเป็น 60 ml. จำนวน 2 ถุง หน่วย คลังเลือดจะจ่ายโลหิตไปจำนวน 2 dose พร้อมเซ็นจ่าย ส่วนใบคล้องโลหิตอีก 2 ใบ ติดไว้กับใบ request โดยไม่ต้องเซ็นจ่าย หากมีความจำเป็นต้องใช้เพิ่ม ให้นำใบคล้องโลหิตมาติดต่อหน่วยคลังเลือด เพื่อแบ่งโลหิตส่วนที่เหลือเพิ่ม
 
4.4 โลหิตที่ใช้ในหอผู้ป่วย  ให้มารับได้ทีละ 1 ยูนิต สำหรับคนไข้แต่ละราย ยกเว้นในรายที่ต้องการให้โลหิตเร็วและต่อเนื่องให้ระบุความจำเป็นมาด้วย คลังเลือดจะให้สำเนาใบขอโลหิตไปพร้อมกับการจ่ายโลหิตครั้งแรกของใบขอนั้น ๆ ต้องเก็บสำเนานี้ไว้ในแฟ้มผู้ป่วย เพื่อทางหอผู้ป่วยจะได้ตรวจสอบจำนวนโลหิต และหมายเลขของยูนิตโลหิตได้เอง

5. การเก็บโลหิตนอกคลังเลือด

 
5.1 ในห้องผ่าตัด แต่ละภาควิชาต้องมี ตู้สำหรับเก็บโลหิตโดยเฉพาะ ซึ่งมีอุณหภูมิ 2-6C เพราะบางครั้ง
      ต้องเก็บโลหิตไว้หลายชั่วโมง ควรเก็บโลหิตไว้ในตู้เก็บโลหิตจนกว่าจะถึงเวลาให้ผู้ป่วยรายที่ต้องให้โลหิตจำนวนมากและอัตราการให้โลหิตเร็วกว่า 50 มล./กก.นน.ตัว/ชั่วโมง สำหรับผู้ใหญ่ และเร็วกว่า 15 มล./กก./ชั่วโมง สำหรับเด็กควรพิจารณาใช้ blood warmer

5.2 โลหิตที่นำไปยังหอผู้ป่วยแล้วยังไม่ได้ใช้ทันทีหรือใช้ภายใน 1 ชั่วโมง ควรนำกลับมาฝากที่คลังเลือด
      หรือถ้าไม่ต้องการใช้แล้วควรแจ้งคลังเลือด ไม่ควรเก็บโลหิตไว้ที่หอผู้ป่วยเพราะไม่มีตู้เก็บโลหิตที่เหมาะสม หากคืนโลหิตกลับมาหลังจากจ่ายโลหิตไปแล้วเกิน 1 ชั่วโมง คลังเลือดจะทิ้งโลหิตยูนิตนั้น เนื่องจากจัดเก็บไม่เหมาะสม

6. การคืนโลหิต  โลหิตที่เหลือใช้จากห้องผ่าตัดให้ส่งกลับคลังเลือดทุกยูนิต  ให้พยาบาลห้องผ่าตัดเขียนว่า
“ฝาก"  ไว้ที่ใบคล้องโลหิต สำหรับรายที่คิดว่าจะต้องใช้โลหิตที่เหลือต่อในหอผู้ป่วย  สำหรับรายที่ไม่ได้ทำการผ่าตัดในวันนั้น ให้เขียนว่า “เลื่อนผ่าตัด”  คลังเลือดจะเก็บโลหิตทั้งสองประเภทไว้อีก 1 วัน เช่น ผ่าตัดในวันจันทร์ขอโลหิตไว้ 5  ยูนิต ใช้ในระหว่างผ่าตัด 2 ยูนิต และเขียนฝาก 3 ยูนิต  โลหิตที่ฝากนี้จะถูกปลดในเวลา 9.00 ของวันอังคาร  รายที่เลื่อนผ่าตัดต้องรีบแจ้งกำหนดใหม่ให้คลังเลือดทราบ จะเก็บไว้ให้ไม่เกิน 3 วัน เช่น
ขอใช้วันจันทร์จะเลื่อนได้ไม่เกินวันพุธ  หลังจากนั้นจะต้องขอโลหิตใหม่

7. การปลดโลหิต  เพื่อให้มีโลหิตหมุนเวียนใช้เพียงพอ จึงต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
 

7.1 โลหิตจากห้องผ่าตัด ถ้าไม่เขียน “เลื่อนผ่าตัด” จะถูกปลดทันทีที่นำกลับคลังเลือด 

7.2 โลหิตที่ขอใช้ในหอผู้ป่วย แล้วไม่ได้ใช้เลยในวันนั้น จะถูกปลดโดยอัตโนมัติ ในเวลา 9.00 น. ของ
      วันที่ 2 หลังจากวันขอ เช่น ขอวันจันทร์ จะถูกปลดวันพุธเวลา 9.00 น. ถ้าต้องการให้เก็บไว้ ต้องเขียนใบรายการรับฝากโลหิตและส่วนประกอบโลหิตจากหอผู้ป่วย โดยส่งใบแจ้งก่อนเวลาปลด คือ
      เวลา   7.00 - 9.00 น. ของแต่ละวัเจ้าหน้าที่หน่วยคลังเลือด จะเริ่มหาและปลดโลหิตที่รับฝากเวลา 9.00 น.ถ้ามีโลหิตที่ต้องการฝากเจ้าหน้าที่หน่วยคลังเลือดจะไม่โทรแจ้งหอผู้ป่วย  แต่ในกรณีที่หาโลหิตไม่พบเจ้าหน้าที่หน่วยคลังเลือดจะแจ้งให้หอผู้ป่วยทราบถ้าต้องการใช้โลหิตต่อให้ส่งใบขอและเจาะโลหิตผู้ป่วยมา crossmatch ใหม่  
 

8. การนำโลหิตจากโรงพยาบาลอื่นมาให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดี
    เมื่อหอผู้ป่วยมีการนำโลหิต หรือส่วยประกอบโลหิตจากโรงพยาบาลอื่น มาให้กับผู้ป่วยควรให้หน่วยคลังเลือดตรวจรับ และจ่ายผ่านจากหน่วยคลังเลือด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

9. การนำตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยมาจากโรงพยาบาลอื่น เพื่อนำมาให้คลังเลือดตรวจ crossmatch/หมู่เลือด
    หน่วยคลังเลือดไม่รับตัวอย่างโลหิตจากโรงพยาบาลอื่น ต้องเจาะโลหิตมาให้ใหม่