วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

(ผู้ที่มีภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินลมหายใจ)

สิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นทางเดินลมหายใจเกิดขึ้นบ่อย ส่วนมากเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้วทําให้ผู้ประสบเหตุต้องถึงแก่ชีวิต อย่างที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ เช่น กระดุม เหรียญ น็อต ลูกอม  ติดคอ หรือในผู้ใหญ่ เช่น อาหารชิ้นใหญ่ๆ ติดคอ

เมื่อท่านพบผู้มีอาการของติดคอ ก่อนอื่นต้องแยกผู้ที่มีอาการของติดคอออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

ชนิด อาการการ ช่วยเหลือ

1. ของติดคอชนิดไม่รุนแรง

 

 

• หายใจได้อยู่

• ไอได้อยู่

• พูด หรือออกเสียงได้อยู่

•  ถ้ายังหายใจเองได้อยู่ ให้ผู้ที่มีของติดคอพยายามไอออกด้วยตัวเอง โดยผู้ช่วยเหลือยืนอยู่ใกล้ๆ

•   โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่หมายเลขฉุกเฉิน 1669 หรือนําผู้ประสบเหตุส่งโรงพยาบาล

2. ของติดคอชนิดรุนแรง

 

 

 

 

 

• หายใจไม่ได้ หายใจลําบาก

• ไอไม่ได้

• พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้

• หน้าเริ่มซีด เขียว

•  ใช้มือกุมลําคอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันทั่วโลกของผู้มีของติดคอ)

•  ถามผู้ประสบเหตุว่า ของติดคอใช่หรือไม่ หากผู้ประสบเหตุพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้  
พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลือ

 

 

 

วิธีการช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอายุ คือ

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”          วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือเมื่อมีของติดคอชนิดรุนแรงในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี 

  1. หาที่นั่ง หรือนั่งคุกเข่า จับเด็กวางนอนคว่ำไว้บนขา (จับเด็กให้มั่นคงระวังเด็กหล่น) จัดให้ศีรษะเด็กให้ต่ำกว่าลําตัว มือที่จับเด็กให้จับที่บริเวณขากรรไกรของเด็ก และประคองคอเด็กไปด้วย (ระวังการจับเด็ก จะต้องไม่เป็นการบีบคอเด็ก)
  2. ใช้มือข้างที่ถนัดตบหลังเด็ก บริเวณกึ่งกลางสะบักด้วยส้นมืออย่างแรง 5 ครั้ง
วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

       3.  กลับตัวเด็กมานอนหงายโดยเจ็บเด็กให้มั่นคงที่บริเวณท้ายทอยโดยการประคองคอให้ดี

       4.  ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้าง กดลงบนกึ่งกลางหน้าอกของเด็ก โดยต่ำกว่าระดับหัวนมเด็กเล็กน้อย กดกระแทกอย่างแรง 5 ครั้ง

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

ทําสลับไปมาระหว่างการตบหลัง 5 ครั้ง และการกด กระแทกหน้าอก 5 ครั้งไปเรื่อยๆ จนเด็กร้องออกมาได้เอง หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

ห้ามทําการล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมที่ติดออกมาหากยังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมนั้น เพราะจะทําให้สิ่งแปลกปลอมหลุดลงลึกไปอีกหรือทําให้เด็กได้รับบาดเจ็บมากขึ้น

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

วิธีการช่วยเหลือเมื่อมีของติดคอชนิดรุนแรงในคนที่อายุมากกว่า 1 ปี

ภาพการใช้มือกุมลําคอตัวเอง (เป็นลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันทั่วโลกของผู้มีของติดคอ) เมื่อผู้ช่วยเหลือถามผู้ประสบเหตุว่าของติดคอใช่หรือไม่ หากผู้ประสบเหตุเพียงพยักหน้า เนื่องจากพูดไม่ได้ พูดไม่ออก นั่นแสดงว่ามีอาการของติดคอชนิดรุนแรง จึงเริ่มให้การช่วยเหลื

วิธีการช่วยเหลือ “ของติดคอ”

โดยการเข้าไปด้านหลังผู้ประสบเหตุ อาจจะใช้วิธีคุกเข่าในการช่วยเหลือเด็ก หรือการยืนสําหรับการช่วยเหลือผู้ใหญ่ โอบรอบใต้รักแร้แล้วรัดกระตุกที่หน้าท้อง โดยมือข้างหนึ่งกําแล้ววางไว้เหนือบริเวณสะดือแต่ใต้ลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบกําาปั้นไว้ วางกําปั้นด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าไปด้านในหน้าท้องผู้ประสบเหตุ แล้วให้รัดกระตุกขึ้นและเข้าพร้อมๆ กันแรงๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือจนกว่าผู้ประสบเหตุจะพูดหรือร้องออกมาได้

หลังการช่วยเหลือสําเร็จทุกครั้ง ควรจะนําผู้ประสบเหตุไปตรวจเช็คร่างกายว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการช่วยเหลือหรือไม่

หากขณะที่ทําการช่วยเหลืออยู่ ผู้ที่ของติดคอหมดสติแน่นิ่งไป ให้รีบทําการช่วยฟื้นชีวิตทันทีตลอดเวลาให้รีบนําส่งโรงพยาบาล  หรือให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจาก 1669 แล้วทําการช่วยฟื้นชีวิตระหว่างรอความช่วยเหลือ

เอกสารอ้างอิง  BLS for Healthcare Providers: Student Manual.
American Heart Association, 2011.อายุมากกว่า1 ปี

ผู้เขียน : อมรรัตน์ ศุภมาศ พยาบาลประจำโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต โครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 16 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th