เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2… วิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อมรวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2… วิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อมรวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2… วิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อมรวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

ฉบับที่แล้ว  ได้นําเสนอกันถึงกลไกการเสื่อมของผิวหนัง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ การเสื่อมจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด สูบบุหรี่ และการเสื่อมจากปัจจัยภายในร่างกาย ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมหรือยีนที่ได้จากพ่อแม่และบรรพบุรุษ สําหรับฉบับนี้ขอนําเสนอถึงวิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อม รวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2… วิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อมรวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

วิธีที่ดีที่สุดสําหรับการรักษาการเสื่อมจากปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่ หลีกเลี่ยงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อการเสื่อมของผิวหนัง ที่สําคัญคือการหลีกเลี่ยงแสงแดด งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเหล้า

วิธีการหลีกเลี่ยงแสงแดดที่ดีที่สุดคือการสัมผัสแดดให้น้อยที่สุด เลือกใช้ร่มที่ทําาจากวัสดุกันรังสียูวีได้ ซึ่งประสิทธิภาพของร่มจะสูงที่สุดในเวลาเที่ยงวัน อันเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ทํามุม 90 องศากับพื้นโลก จึงควรถือร่มในตําแหน่งที่สูงกว่าศีรษะประมาณ 10-20 เซนติเมตร

การสวมหมวกทุกประเภทสามารถป้องกันผิวหนังบริเวณหน้าผากได้มากกว่าร้อยละ 90 รองลงมาคือบริเวณ จมูก แก้ม คาง และคอด้านหลัง สําหรับบริเวณคางจะเป็นบริเวณที่หมวกทุกประเภทป้องกันแสงแดดไม่ได้ หากพิจารณาชนิดของหมวก จะพบว่าหมวกปีกกว้างซึ่งทําจากวัสดุสานจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันแสงได้น้อยกว่าหมวกปีกปานกลาง (ขนาด 2.5-7.5 เซนติเมตร)  ที่ทําจากผ้าเนื้อหนาสีเข้ม เช่น ผ้ายีนส์สีฟ้าน้ำเงิน

ดังนั้น  คําแนะนําในการเลือกหมวกเพื่อป้องกันแสงแดด ควรจะเป็นหมวกที่มีปีกกว้างกว่า 7.5 เซนติเมตร และทําจากวัสดุเนื้อหนาสีเข้ม

ในกรณีของเสื้อผ้า จะพบกว่าผ้าสีเข้มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีกว่าผ้าสีอ่อน นอกจากนี้ยังพบว่าผ้าเนื้อหนา น้ำหนักมากและทอแน่น จะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีกว่า นอกจากนี้ การซักผ้าด้วยน้ำและผงซักฟอกจะทําให้เกิดการหดตัวของใยผ้า ทําให้ช่องว่างระหว่างเส้นใยมีขนาดเล็กลง ทําให้ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผ้าที่ถูกดึงหรือขึงเนื้อผ้าให้ตึงจะทําให้ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตลดลง ความแห้งและเปียกของผ้าก็มีผลต่อการส่องผ่านรังสีอัลตราไวโอเลตเช่นกัน โดยพบว่าผ้าที่เปียกจะมีการส่องผ่านรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากกว่าผ้าที่แห้ง

เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2… วิธีการรักษาเมื่อผิวหนังเสื่อมรวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง

สําหรับยากันแดด แม้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันแดด  แต่จัดเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีความคล่องตัวสูงใช้ได้กับทุกกิจกรรม การที่กล่าวว่ายากันแดดไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากยากันแดดไม่สามารถป้องกันแสงแดดได้ทุกความยาวคลื่น เหงื่อ น้ำ  และแสงแดดเองทําให้ยากันแดดเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพลง สําหรับวิธีการเลือกใช้ยากันแดด คือการดูค่า เอสพีเอฟ (SPF) ซึ่งเป็นค่าบอกความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตบี โดยทั่วไปจะแนะนําให้เอสพีเอฟไม่ต่ำกว่า 30 และการดูค่าพีเอ (PA)  ซึ่งเป็นตัวบอกความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอ ควรทาให้ได้ความหนา 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือง่าย ๆ คือทั่วหน้าควรใช้ยาประมาณ 1 กรัม ปัญหาที่พบบ่อยได้แก่ การทายาไม่สม่ำเสมอ และทาไม่ทั่วถึง ไม่ควรทาบริเวณขมับ ใบหู ต้นคอ รอบตา และรอบปาก ทั้งนี้ ควรทิ้งช่วงเวลาในการทายากันแดดประมาณ 15 นาที เพื่อให้มีการเกาะตัวกับผิวหนังชั้นบน

สําหรับการเสื่อมของผิวหนังจากปัจจัยภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ได้ จึงต้องคอยติดตามรักษากันไป ในกรณีที่ผิวบางตัวลงและแห้งง่าย สามารถใช้ครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวได้ หากเป็นการลดลงของ คอลลาเจน อีลาสติน ใต้ผิวหนัง ก็สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาทาบางชนิด เช่น ยาที่มีสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง อย่างไรก็ตาม การทายาก็ยังมีข้อจํากัดเรื่องการดูดซึมของยาแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากัน จึงพบว่ายาหรือเครื่องสําอางบางชนิดนั้นใช้ไม่ได้ผล อีกวิธีที่พบว่าช่วยสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนังได้ดีกว่าการใช้ยาทาได้แก่  การใช้เลเซอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีเลเซอร์หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี ในขณะที่หลายตัวก็ไม่สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ ดังนั้น การเลือกใช้เลเซอร์ให้เหมาะกับสภาพปัญหาของผิวหนังจึงมีความสําคัญ

เนื่องจากเลเซอร์ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและจุดเด่นแตกต่างกันไป ผมจะขอเล่าเรื่องเลเซอร์ที่ใช้ในทางผิวหนังแต่ละประเภทในฉบับหน้า แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

ผู้เขียน : อ. นพ.วาสนภ วชิรมน แผนกผิวหนังและเลเซอร์ หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 13 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th