รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

พูดถึงเรื่องรอยด่างดําบนใบหน้า คงมีผู้อ่านหลายท่านสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย รอยด่างดําบนใบหน้าที่พบได้บ่อย เช่น ฝ้า กระตื้น กระลึก กระแดด กระเนื้อ รวมไปถึงรอยดําจากการอักเสบ เช่น รอยสิว ปัญหารอยด่างดําต่างๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วมีวิธีการแก้ไขและรักษาทางการแพทย์อย่างไร ฉบับนี้มีคําตอบมาฝาก

รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

“ฝ้า” คือ ภาวะที่ผิวหนังมีเม็ดสีหรือเมลานินมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีทํางานมากขึ้น บางครั้งจะพบว่าเซลล์สร้างเม็ดสีมีจํานวนเพิ่มขึ้นด้วย มักพบบริเวณที่ร่างกายสัมผัสแสงแดด เช่นใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผาก แก้ม จมูก เหนือริมฝีปากบนและกราม มักเริ่มเป็นฝ้าเมื่ออายุ 30-40 ปี เชื่อว่าเกิดจากแสงแดดเป็นหลัก เราจะพบได้ว่าฝ้ามักจะเข้มขึ้นเมื่อไปตากแดด และฝ้าสามารถจางลงได้ถ้าหากหลบแดด นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่รับประทานยาคุมกําเนิดและในผู้ที่ตั้งครรภ์ การรักษาฝ้าสามารถทําได้โดยการใช้ยาทาที่มีฤทธิ์ลดการสร้างเม็ดสี การใช้สารกลุ่มกรดผลไม้เพื่อผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินออก ร่วมกับการใช้ยากันแดดและการหลบแดด สําหรับการรักษาด้วยเลเซอร์จัดเป็นการรักษารอง บางรายที่ตอบสนองก็จะมีฝ้าจางเร็วขึ้นได้ แต่บางรายฝ้าอาจจะดําขึ้นหากเลือกใช้เลเซอร์หรือการตั้งค่าพลังงานเลเซอร์ไม่เหมาะสม 

“กระ” สามารถแบ่งได้หลายชนิด เช่น กระตื้น กระลึก กระแดด กระเนื้อ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีหน้าตาแตกต่างกันไป กระตื้นจะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน ขอบเขตชัด ขนาด 2-3 มิลลิเมตร “ฝ้า” คือ ภาวะที่ผิวหนังมีเม็ดสีหรือเมลานินมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีทํางานมากขึ้น บางครั้งจะพบว่าเซลล์สร้างเม็ดสีมีจํานวนเพิ่มขึ้นด้วย มักพบบริเวณที่ร่างกายสัมผัสแสงแดด เช่นใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผาก แก้ม จมูก เหนือริมฝีปากบนและกราม มักเริ่มเป็นฝ้าเมื่ออายุ 30-40 ปี เชื่อว่าเกิดจากแสงแดดเป็นหลัก เราจะพบได้ว่าฝ้ามักจะเข้มขึ้นเมื่อไปตากแดด และฝ้าสามารถจางลงได้ถ้าหากหลบแดด นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่รับประทานยาคุมกําเนิดและในผู้ที่ตั้งครรภ์ การรักษาฝ้าสามารถทําได้โดยการใช้ยาทาที่มีฤทธิ์ลดการสร้างเม็ดสี การใช้สารกลุ่มกรดผลไม้เพื่อผลัดเซลล์เม็ดสีส่วนเกินออก ร่วมกับการใช้ยากันแดดและการหลบแดด สําหรับการรักษาด้วยเลเซอร์จัดเป็นการรักษารอง บางรายที่ตอบสนองก็จะมีฝ้าจางเร็วขึ้นได้ แต่บางรายฝ้าอาจจะดําขึ้นหากเลือกใช้เลเซอร์หรือการตั้งค่าพลังงานเลเซอร์ไม่เหมาะสม มักพบได้ที่บริเวณสัมผัสแสงแดด เช่นใบหน้า โดยเริ่มเป็นตอนเข้าสู่วัยรุ่น มักพบในผู้ที่มีผิวละเอียดสีขาว หากสัมผัสแดดจะเป็นมาก และหากหลบแดดได้ดี อาจจะจางได้เอง บางรายอาจเริ่มเป็นตั้งแต่อายุก่อน 10 ปี สําหรับการรักษากระตื้นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นที่เหมาะสมที่จะจับเม็ดสี เช่น เลเซอร์คิวสวิทช์เอ็นดีแย็ก คิวสวิทช์อเล็กซานไดรท์ และเลเซอร์ทับทิมชนิดคิวสวิทช์ นอกจากนี้ยังมีแสงความเข้มสูงหรือที่เรียกกันว่า “ไอพีแอล” อาจจะพอช่วยได้ บางครั้งอาจใช้น้ำยาทางการแพทย์ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนแต้ม เพื่อให้กระหลุดออก แต่การใช้น้ำยามีข้อเสียคือ อาจเกิดแผลเป็นได้ หากแต้มมากเกินไป กระตื้นจุดที่รักษามักจะหายได้ภายหลังการรักษาโดยเลเซอร์ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นกระตื้นอาจจะเป็นกระตื้นจุดใหม่ได้อีก ดังนั้น จึงควรหลบแดดและใช้สารกันแดด เพื่อไม่ให้เกิดจุดใหม่

“กระลึก” เป็นกระอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในชาวเอเซีย รอยโรคจะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้ม อมเทาดํา ขอบเขตไม่ชัด ขนาด 2-3 มิลลิเมตร มักพบที่โหนกแก้ม และจมูก พบได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป สีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามกาลเวลา โดยส่วนใหญ่ คนไข้จะได้รับการรักษาแบบฝ้ามาบ้างแล้วหรือรักษาด้วยแสงความเข้มสูงหรือไอพีแอล แต่ไม่ดีขึ้น ซึ่งกระลึกต้องทําการรักษาด้วยเลเซอร์พลังงานและความยาวคลื่นที่เหมาะสมเท่านั้น ไม่สามารถใช้ยาทา น้ำยาแต้ม หรือแสงความเข้มสูงไอพีแอลรักษาได้ หากทําการรักษาได้ถูกวิธี กระลึกมักจะหายไปภายหลังการรักษา 3-6 ครั้ง ส่วนมากผู้ที่เป็นกระลึกจะไม่เป็นซ้ำอีก หากทําาการรักษาด้วยเลเซอร์จนหายไปแล้ว 

รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

“กระแดด” เป็นกระอีกรูปแบบหนึ่งที่มักเกิดได้ในวัยกลางคนถึงสูงวัย ลักษณะจะเป็นแผ่นสีน้ำตาลอ่อน ขอบเขตชัด ขนาด 0.3 - 2 เซนติเมตร เกิดจากแสงแดดและอายุที่มากขึ้น กระชนิดนี้หากปล่อยทิ้งไว้ อาจใหญ่และนูนขึ้นได้ กระชนิดนี้ไม่สามารถจางลงได้แม้หลบแดด จึงต้องทําการรักษาโดยเลเซอร์เท่านั้น เลเซอร์ที่ใช้จะเป็นชนิดเดียวกันกับเลเซอร์ที่ใช้รักษากระตื้น ส่วนมากจะหายภายหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ 1-2 ครั้ง ผู้ที่เป็นกระแดดอาจจะเป็นกระแดดจุดใหม่ได้อีก ดังนั้นจึงควรหลบแดดและใช้สารกันแดด เพื่อไม่ให้เกิดจุดใหม่

รู้จัก “รอยด่างดํา” บนใบหน้า

“กระเนื้อ” คือเนื้องอกของผิวหนัง ชนิดหนึ่ง กระชนิดนี้ที่จริงแล้วไม่ใช่กระ แต่เป็นเซลล์ผิวหนังที่แบ่งตัวมากขึ้น มีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนจนไปถึงสีน้ำตาลเข้มและดํา รอยโรคจะเป็นตุ่มนูนผิวขรุขระ ขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรจนถึงหลายเซนติเมตร มักพบบริเวณใบหน้า คอ แขน และลําตัว เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์และอายุที่มากขึ้น บางคนเริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 20 ปี เนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้อดี ไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่อาจใหญ่ขึ้นทําให้แลดูไม่สวยงามได้ บางรายอาจพัฒนามาจากกระแดด การรักษาที่ดีที่สุดคือการใช้เลเซอร์ที่มีอํานาจทําลายผิวชั้นบน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ อาจใช้จี้ไฟฟ้า หรือทําการรักษาด้วยไนโตรเจนเหลว หรือตัดออก เมื่อกระเนื้อจุดเดิมหายแล้ว ในอนาคตอาจเป็นกระเนื้อจุดใหม่ได้ ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดกระเนื้อ

รอยดําอีกชนิดบนใบหน้าที่พบได้บ่อย คือ รอยดําที่เกิดภายหลังการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งรวมไปถึงการที่ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ ตัวอย่างที่พบได้บ่อย คือรอยดําจากสิว โดยจะพบมากหากเป็นสิวอักเสบหรือไปแกะสิวเพราะการแกะสิวจะทําให้ผิวหนังบาดเจ็บและอักเสบมากขึ้น รอยดําลักษณะนี้จะเป็นจุดหรือปื้นสีน้ำตาล เกิดบริเวณเดียวกับที่ผิวหนังเคยมีการอักเสบมาก่อน (เช่น มีอาการแดง บวม เจ็บ) วิธีการรักษาที่สําคัญที่สุดคือต้องหยุดการอักเสบโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยการอักเสบให้เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ รอยดําจะเป็นมากขึ้น

เมื่อการอักเสบหายแล้ว สามารถรักษารอยดําที่เหลือได้โดยการใช้ยาทา หรืออาจใช้เลเซอร์เสริมเพื่อทําให้รอยจางเร็วขึ้น

ขึ้นชื่อว่ารอยดําแล้ว แม้จะไม่อันตราย แต่ก็ส่งผลต่อการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับชีวิต โดยเฉพาะในคุณผู้หญิงที่มักจะกังวลกับปัญหารอยดํากันมาก เชื่อเหลือเกินว่าแฟนคอลัมน์คงจะได้ความรู้เกี่ยวกับรอยดําชนิดต่างๆ บนใบหน้า รวมถึงแนวทางการรักษารอยดําแต่ละชนิดกันเป็นอย่างดี ฉะนั้นหากพบว่ามีรอยดําและต้องการแก้ไขรักษา แนะนําว่าให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเป็นการดีที่สุด

ผู้เขียน : ผู้เขียน : อ.นพ.วาสนภ วชิรมน แผนกผิวหนังและเลเซอร์ หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 10 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th