เกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ (แบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส)

เกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ (แบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส)

และเข้าใจเรื่อง ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อ จากนิตยสาร @Rama โดย รศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ

ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ไวรัส

 

“ยาแก้อักเสบ=ยาฆ่าเชื้อ จริงหรือ?”  
 
          ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ แก้ปวด รวมทั้้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค และไอบูโพรเฟน เป็นต้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ยาแก้อักเสบใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบได้แก่ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ เนื่องจากการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม การอักเสบของข้อจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือกล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก 
เกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ไวรัสเกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ไวรัส
          ส่วน ยาฆ่าเชื้อ เป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเช่น เพนนิซิลิน และอะม็อกซีซิลิน ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด หรือลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง มีปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น 
          ดังนั้น หากเรียกยาฆ่าเชื้อว่ายาแก้อักเสบจะทำให้เข้าใจผิดคิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาการอักเสบได้ทุกชนิด หรือในทางกลับกันที่คิดว่ายาแก้อักเสบสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ จะทำให้ใช้ยาผิดประเภทหรือรักษาผิดโรคได้
เกร็ดความรู้เรื่อง ยาต้านจุลชีพ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ไวรัส
จาก นิตยสาร @Rama ฉบับที่ 23