ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

     น.พ. ณรงค์ สุภัทรพันธ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ความเครียดมีส่วนที่จะทำให้เกิดมะเร็งได้มี 2 ประการคือ

     ประการแรก ความเครียดทำให้คนบางกลุ่มหันไปใช้สารอย่างอื่นเพื่อลดความเครียด สารพวกนี้อาจจะทำให้เกิดเป็นมะเร็ง เช่น คนที่ลดความเครียดด้วยการสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

     ประการทีสอง จาก การทดลองในสัตว์ พบว่า การมีความเครียดทำให้มีผลต่อสารภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะลดความสามารถในการกำจัดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดขึ้นจะไปมีผลต่ออวัยวะ เกิดการแบ่งตัวมากขึ้นทำให้เกิดมะเร็ง

     ในปัจจุบันเชื่อกันว่า ร่างกายคนเราตามปกติมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และร่างกายสามารถกำจัดสารพวกนี้ได้ทำให้ไม่เกิดมะเร็ง แต่เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถขจัดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้แต่ในเวลา เดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า ความเครียดจะทำให้เป็นมะเร็งได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเครียดด้วย และเชื่อกันว่า คนบางคนค่อนข้างจะเก็บกดอารมณ์มาก เวลาเครียดเก็บกด จะทำให้สี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้

     น.พ. ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ในชีวิตประจำวัน สาเหตุที่ทำให้เครียดเกิดจากเรื่องครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกของสังคม สำหรับความเครียดในการดำรงชีวิต ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการทำงาน ภาวะเศรษฐกิจ หรือการไม่พอใจในชีวิตของตนเอง เช่น ฐานะความเป็นอยู่ หรือภาวะสังคมต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดความเครียดได้

     ต่อคำถามที่ว่าเมื่อเครียดและจะทำอย่างไรให้ ความเครียดน้อยลงนั้น น.พ. ณรงค์ กล่าวว่า ต้องรู้ว่าตนเองเกิดความเครียด ถ้าหากรู้ว่าตัวเองเกิดความเครียด คงจะต้องหาวิธีฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น พยายามปล่อยให้ร่างกายคลายเครียด ฝึกกล้ามเนื้อให้มีการหย่อนคลายมากถ้ารู้ตัวว่ามีความเครียดอยู่เรื่อย ๆ ต้องเข้าใจว่า ความเครียดเกิดจากอะไร ต้องพิจารณาว่า ทำไมภาวะนี้ก่อให้เกิดความเครียดมากนัก มีผลมาจากอะไร และการพยายามฝึกจิต หรือการทำสมาธิต่าง ๆ จะทำให้เข้าใจสถานการณ์และเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น

     การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้ด้วย ในวงการแพทย์พบว่า การวิ่งเป็นประจำ มีส่วนกระตุ้นสารเอ็นดอร์ฟิน สารนี้มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟินมาก ถ้าวิ่งถึงระยะที่มีการหลั่งของเอ็นดอร์ฟินแล้ว จะมีอาการคล้ายกับได้รับสารมอร์ฟิน หรือฝิ่น ทำให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน เคลิบเคลิ้ม น.พ. ณรงค์ กล่าวในท้ายที่สุด

     ขอบคุณข้อมูลจาก น.พ. ณรงค์ สุภัทรพันธ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี