- คำแนะนำการรับการตรวจผู้ป่วยนอกหู คอ จมูก
- ตารางแพทย์ออกตรวจนอกเวลาราชการ
- คลินิกโรคหูและประสาทหู
- คลินิกโรคจมูกและภูมิแพ้
- คลินิกกรน
- คลินิกโรคกล่องเสียงและการกลืน
- คลินิกมะเร็งศีรษะและลำคอ
- คลินิกศัลยศาสตรตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า
นโยบายด้านบริการ
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา มีนโยบายให้บริการอย่างมีมาตรฐานและเท่าเทียม
สนับสนุนการบริการเชิงรุกโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่าง
ต่อเนื่อง
วัประสงค์ด้านการบริการ
1. ผู้ป่วยทุกระดับได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
2. ผู้ป่วยได้รับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย
3. ผู้ป่วย และผู้รับผลงานภายในมีความพึงพอใจในการให้บริการ
4. สังคม/ผู้ป่วย ได้รับความรู้และข้อมูลทางด้านการแพทย์หู คอ จมูก พอ
เพียง
เจตจำนง/ความมุ่งหมาย (Purpose)
ให้บริการรักษาพยาบาล ป้องกัน ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพ แก่ผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก อย่างมีคุณภาพได้ มาตรฐานในระดับภูมิภาคเอเชีย ผลิตบุคลากร ทางสาธารณสุข และสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพของประเทศ โดยยึดหลักสิทธิผู้ป่วยและความปลอดภัย
ขอบเขตบริการ
ตรวจรักษาพยาบาล ป้องกัน และฟื้นฟูผู้ป่วยโสต ศอ นาสิกวิทยา ผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกวิทยา ระดับปฐมภูมิถึงระดับตติยภูมิโดยเน้นที่ระดับตติยภูมิ รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตัวมาจากสถานพยาบาลอื่น เนื่องจากต้องการการรักษาพยาบาลจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ/เทคโนโลยีชั้นสูง
2. โรคหรือหัตถการที่มีความยากและซับซ้อนในการรักษาพยาบาล
2.1 มะเร็งทางหู คอ จมูก ที่ต้องการการผ่าตัด ซ่อมแซมที่ซับซ้อนหรือต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น Free flap reconstruction
2.2 การผ่าตัดเนื้องอกของหูชั้นใน
2.3 การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (Cochlear implantation)
2.4 การผ่าตัดกระดูก Temporal bone
2.5 โรคเนื้องอกของเส้นเลือดบริเวณศีรษะและใบหน้า
3. โรค หรือหัตถการที่ต้องการการรักษาพยาบาลในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ อาทิ มะเร็งหลัง
โพรงจมูก
4. โรคหรือหัตถการที่สถาบันอื่น ไม่มีการบริการหรือมีน้อย เช่น
4.1 ท่อน้ำตาอุดตัน
4.2 ภาวะกรนและทางเดินหายใจอุดกั้นระดับรุนแรงในผู้ใหญ่
4.3 การวินิจฉัยโรคด้วยวิธี Photo Dynamic Image (PDI)
4.4 การรักษาโรคด้วยวิธี Photo Dynamic Therapy (PDT)
4.5 การรักษาผู้ป่วยเสียงแหบและการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง
4.6 ภาวะตีบตันของหลอดลม/กล่องเสียง ที่มีพยาธิสภาพรุนแรง
4.7 ให้บริการตรวจวินิจฉัยและฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและการพูดแก่ผู้ที่มีความผิดปกติของการสื่อความหมายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา
4.7.1 การสร้างเสริม และฟื้นฟูสมรรถภาพในการฟังและการพูดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด Cochlear implantation
4.7.2 การตรวจวินิจฉัยการได้ยินในทารกแรกเกิด
4.7.3 การตรวจระบบการทรงตัว/Vestibular Rehabilitation (ฟื้นฟูระบบการทรงตัว)
4.7.4 การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางการได้ยินและการพูด ตลอดจนการแก้ไขอย่างครบวงจรทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่
4.8 การใช้เลเซอร์ชนิด KTP, Diode, CO2, Lower level laser ในการรักษาผ่าตัดโรคทางโสต ศอ นาสิกวิทยา
4.9 การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงแบบองค์รวม
4.10 การรักษาพยาบาลผู้ป่วยหวัดภูมิแพ้(Immuno therapy)แบบครบวงจร
4.11 การตรวจ Rhinomanometry
4.12 การตรวจ Transnasal Esophagoscopy
5. ผู้ป่วยที่มีภาวะของร่างกายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการให้การรักษาผ่าตัด
สถานที่
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ประกอบด้วย
1. ธุรการภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ห้องประชุม และห้องพักอาจารย์ อยู่ชั้น 2 อาคาร 1
2. แผนกตรวจผู้ป่วยนอก( O.P.D. ENT ) ชั้น 2 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โซน H
ประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ดังนี้
ห้องตรวจร่างกาย 15 ห้อง
ห้องทำหัตถการ (Treatment) 1 ห้อง
ห้องผ่าตัดเล็ก 1 ห้อง
ห้องตรวจการได้ยิน (Audiology) 2 ห้อง
ห้องตรวจก้านสมอง (ABR)
ห้องสอนแสดงสำหรับนักศึกษาแพทย์ 1 ห้อง
ห้องตรวจรถนอน 1 ห้อง
หอผู้ป่วยใน (ward) มี 3 แห่ง โดย ใช้พื้นที่ร่วมกับ หอู้ป่วยของภาควิชาจักษุวิทยา คือ
ห้องแยกเดี่ยวหรือห้องแยกรวม มีทั้งชายและหญิง
หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก หญิง ชั้น 3
หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิกชาย ชั้น 6
หอผู้ป่วยพิเศษ จักษุ โสต ศอ นาสิกวิทยา ชั้น 6
ห้องผ่าตัด ตา หู คอ จมูก (O.R. ENT)
อยู่ชั้น 3 ปีกซ้ายด้านหน้าของโรงพยาบาลตรงข้ามกับหอผู้ป่วย 3NW มี
ห้องผ่าตัด 4 ห้อง
ห้องผ่าตัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ เป็นห้องรวมทุกภาควิชา
ห้องพักแพทย์ประจำบ้าน อยู่ติดกับหอผู้ป่วย 3NW ใช้เป็นห้องประชุมและห้องสมุด และเป็นห้องอยู่เวร
นอกเวลา ราชการ
ห้องประชุม/ห้องพักแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ฯ ประกอบด้วย
ห้องประชุม จีระ ศิริโพธิ์
ห้องพักแพทย์ประจำบ้านอยู่ติดกับ หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก หญิง ชั้น 3