ประวัติความเป็นมาของภาควิชาโสตฯ

 

                 

               ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา เริ่มดำเนินการพร้อมกับการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2508) โดยรวมอยู่กับภาควิชาจักษุวิทยา ในชื่อ "ภาควิชาจักษุวิทยาและวิทยาโสต นาสิก ลาริงซ์" ประกอบด้วย 2 หน่วยใหญ่ คือ หน่วยจักษุวิทยา และหน่วยวิทยาโสต นาสิก ลาริงซ์ โดยในทางปฏิบัติ มีการบริหารแยกจากกัน มาตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และการบริการผู้ป่วยทั้งด้านการตรวจร่างกายและการผ่าตัด ซึ่งหน่วยวิทยาโสต นาสิก ลาริงซ์ เริ่มฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 (ก่อนโรงพยาบาลเปิดอย่างเป็นทางการ 2 ปี) ส่วนด้านการบริการผู้ป่วยนั้น หน่วยวิทยาโสต นาสิก ลาริงซ์ ได้เปิดคลินิก "โสตสัมผัสและการพูด" เพื่อให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยการได้ยินและการพูด นับเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ ซึ่งได้พัฒนาจนเปิดเป็นหลักสูตรความผิดปกติของการสื่อความหมาย ในระดับมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ใน ปี พ.ศ. 2520 หน่วยวิทยา โสต นาสิก ลาริงซ์ ดำเนินการขอแยกเป็นภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้แยกออกจากภาควิชาจักษุวิทยาและวิทยาโสต นาสิก ลาริงซ์ เป็น "ภาควิชาโสต

นาสิก ลาริงซ์วิทยา" เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา"

 

ภาระงานหลักในปัจจุบันของภาควิชาฯ ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการศึกษา รับผิดชอบการเรียนการสอนรวม 6 หลักสูตร คือ

1.1 แพทยศาสตรบัณฑิต (รายวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา รมสน 511)

1.2 หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านโสต ศอน าสิกวิทยา

1.3 หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า

1.4 หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขานาสิกวิทยาและภูมิแพ้ (Fellowship in Rhinology and Allergy)

1.5 หลักสูตรแพทย์ประจำบานต่ออยด อนุสาขาโสตประสาทวิทยา (Clinical fellowship in Otoneurology)

1.6 หลักสูตรแพยศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ วิชาเอก โสต ศอ นาสิกวิทยา)

2. ด้านการวิจัย คณาจารย์ของภาควิชาฯ ทำการศึกษาวิจัยทั้งด้านคลินิกและวิทยาศาสตร์

พื้นฐาน โดยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ

3. ด้านการบริการ รับผิดชอบให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วย ณ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก

หน่วยห้องผ่าตัด หน่วยผู้ป่วยใน คลินิกพิเศษนอกเวลา และหน่วยตรวจผู้ป่วยพิเศษโสต ศอ นาสิก

4. ด้านบริการวิชาการ มุ่งเน้นให้บุคลาการทางการแพทย์ได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ

ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ และให้ความรู้ด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ผ่านทางสิ่งพิมพ์

วิทยุ โทรทัศน์ และให้บริการแก่ประชาชน สังคม ชุมชน ของประเทศ

5. ด้านสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้บุคลากรในภาควิชาฯ มีส่วนร่วมในงานสร้างเสริมสุขภาพและศิลปะวัฒนธรรม

ทำนุบำรุงศาสนาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

 

ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ได้พัฒนางานทุกด้านอย่างต่อเนื่อง มีการประชุมอาจารย์ทุกสัปดาห์ และการประชุมทีมนำ

ทางคลินิกทุกเดือน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ และสนับสนุนบุคลากรทุกคนให้ทำงานร่วม

กันอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานราบรื่น มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

 

รายนามอาจารย์แพทย์ผู้ก่อตั้งภาควิชาฯ และอาจารย์ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งภาควิชาฯ

 

 

อาจารย์จีระ ศิริโพธิ์
ผู้ก่อตั้งภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
หัวหน้าหน่วยโสต ศอ นาสิกวิทยา ก่อนแยกจากภาควิชาจักษูวิทยา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2523

ศาสตราจารย์พูนพิศ อมาตยกุล
หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - 2528

 

รองศาสตราจารย์ประพจน์ คล่องสู้ศึก
หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 - 2535

ศาสตราจารย์บุญชู กุลประดิษฐารมณ์
หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535- 2543

ศาสตราจารย์สมยศ คุณจักร
หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2548

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชิต ชีวเรืองโรจน์
หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 - 18 พฤษภาคม 2556

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ธงชัย พงศ์มฆพัฒน์
หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ตั้งแต่ปี 2556 - 2559

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชัย อยู่สวัสดิ์
หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน