แนะนำชมผู้ไร้กล่องเสียง รามาธิบดี
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี (ผ.ร.ส.) ก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2533 ตั้งขึ้นตามความต้องการของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออกแล้วย ซึ่งเรียกว่า "ผู้ไร้กล่องเสียง"ผลของโรคและการรักษาทำให้ผู้ป่วยพูดไม่มีเสียง และต้องหายใจทรงรูหายใจที่คอ ตลอดชีวิตบางคนเกิดความทุกข์ทรมาน คับแค้นขมขื่น เสียใจอย่างมากเพราะไม่สามารถปรับตัวกับสภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่อยากพบปะผู้ใด ไม่กล้าเข้าสังคม รู้สึกมีปมด้อย ต้องปรับตัวให้ชินกับการหายใจทางรูหายใจที่คอ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ บางคนมีเสมหะไหลออกทางรูหายใจที่คอ โดยไม่รู้ตัว ทำให้เลอะเทอะ เพราะไม่สามารถทำความสะอาดได้ทัน สร้างความรังเกียจต่อผู้พบเห็นและครอบครัว บางครอบครัวถึงกับแตกแยก รู้สึกชีวิตเลวร้าย โดยสาเหตุดังกล่าวผู้ไร้กล่องเสียงจึงรวมตัวกันเป็นชมรมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมให้สมาชิกสามารถปรับตัวกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปได้และสามารถดูแลตนเองได้เร็วที่สุด โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชมรมฯ ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิรามาธิบดีและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2549 เริ่มได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมบางส่วนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีเจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของชมรมซึ่งสามารถขอคำปรึกษาได้ ทั้งในที่ทำงานและทางโทรศัพท์ ดังนี้
1. รศ.ดรุณี ชุณหะวัต 02-201-1740
2. คุณสุวิมล สันติสุขธนา 02-201-1125
3. คุณปิยาณี ณ นคร 02-201-1125
4. คุณวนิดา ลิขิตสินโสภณ 02-201-1313
5. อ.ดร.มุกดา เดชประพนธ์ 02-201-1741
6. คุณสงกรานต์ พวงมะลิต 02-201-1125
7. รศ.นพ.เฉลิมชัย ชินตระการ 02-201-1515
8. อ.นพ.จำรูญ ตั้งกีรติชัย 02-201-1515
ชมรมฯ มีผู้ไร้กล่องเสียงทำหน้าที่เป็นประธาน ชมรมฯ โดยการเลือกตั้งจากมวลสมาชิกปัจจุบัน นางสาวเมตตา แผลงปาน เป็นประธานชมรมฯ มีผู้สมัครเป็นสมาชิกมาแล้ว จำนวนกว่า 250 คน กิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมดำเนินโดยสมาชิก เพื่อสมาชิก ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของคณะที่ปรึกษาชมรม กิจกรรมที่ชมรมฯ ได้จัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดมามีดังนี้
1. จัดประชุมสมาชิกเพื่อปรึกษาปัญหาและหาทางช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่กัน เดือนละครั้ง
2. สมาชิกเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดสัปดาห์ละครั้ง
3. ให้กำลังใจและให้คำแนะนำสมาชิกที่กำลังฝึกพูด สัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้สามารถพูด
สื่อสารได้เร็วขึ้น
4. เยี่ยมสำรวจสมาชิกที่กลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
5. พิจารณาให้ยืมเครื่องช่วยพูด ในกรณีที่ผู้ป่วยยังหาเครื่องไม่ได้ หรือให้การช่วย
เหลืออื่น ๆ ตามความจำเป็น
6. จัดประชุมวิชาการและพบปะระหว่างสมาชิก พยาบาล และแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยปีละครั้ง
7. เป็นกรณีตัวอย่างผู้ป่วย ในการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล
8. เป็นแหล่งดูงานของพยาบาล นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักสขศึกษาและ
ผู้สนใจ
9. จัดงานมุทิตาจิต สมากผู้อาวุโสในวันสงกรานต์
10. จัดทัศนศึกษเยี่ยมชมกิจกรรมทางศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ปีละ ครั้ง
ชมรม ผ.ร.ส. ของเราสมารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดี โดยมีผู้ไร้กล่องเสียงที่มีประสบการณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของตนเองและประสบความสำเร็จในระดับต่าง ๆ กัน อย่างเต็มใจเสนอตัวมาเป็นอาสาสมัครให้การช่วยเหลือสมาชิก ด้วยความรักและห่วงใย เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนสามารถปรับตัวกับชีวิตใหม่ได้
ผลการดำเนินงาน พบว่าผู้ไร้กล่องเสียงสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของตนเองได้ดีขึ้นมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต มีความหวัง รู้สึกมีคุณค่าและดูแลตนเองได้เร็วขึ้น เป็นภาระของครอบครัวน้อยลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพยาบาลได้ใช้แหล่งประโยชน์จากชมรมในการดูแลผู้ป่วย ทั้งก่อนและหลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชมรมขอต้อนรับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่าน ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความยินดียิ่ง
เชิญผู้ไร้กล่องเสียงทุกท่านสมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ได้ที่
หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกหู คอ จมูก โรงพยาบาลรามาธิบดี ในเวลาราชการ
โทร. 02-201112 02-201- 2652
หรือศูนย์มิตรภาพบำบัดรามาธิบดี โทร. 02-201-2652 โทรสาร 02-201-2653
โดยไม่เสียค่าสมาชิก
E-mail : radjh@mahidol.ac.th