หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต

 

 

ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ภายในสาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต


- สรุปผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน (โดยแพทย์ประจำบ้านและศิษย์เก่า) - 

- สรุปผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน (โดยอาจารย์) -

- สรุปแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิต (นายจ้าง) 2566 -

 

 

พันธกิจของแพทย์ประจำบ้านสาขาสาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต ภาควิชาพยาธิวิทยา

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


พันธกิจของหลักสูตรฯ
หลักสูตรฯมุ่งหวังสร้างอัตลักษณ์ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่จบการศึกษาจากหลักสูตรเป็น “แพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตผู้นำการเปลี่ยนแปลง: Change Agent in Transfusion Medicine” จึงมีพันธกิจของแผนการฝึกอบรมดังต่อไปนี้

  1. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางเวชศาสตร์บริการโลหิตอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง รวมทั้งสามารถบริหารจัดการงานด้านห้องปฏิบัติการสาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ตลอดจนมีสมรรถนะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย และเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือตรวจวิเคราะห์และเทคนิคทางห้องปฏิบัติการใหม่ๆ  ที่ทันสมัยในระดับสากล
  2. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตตามความต้องการเฉพาะบุคคลหรือหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งในโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลส่วนกลาง โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค หรือศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพ
  3. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตที่มีทักษะในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถบูรณาการ evidence-based medicine ในการแสวงหา รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ ตลอดจนมีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ นำไปสู่การพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการ 
  4. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตที่สามารถปฏิบัติงานได้แบบมืออาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ มีความสามารถในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ มีความสามารถปฏิบัติงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานในองค์กรและหน่วยงานที่มีบริบทหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศที่แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงสภาวะการทำงานที่เหมาะสม และสามารถรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างสมดุล
  5. ผลิตแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ และยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม