หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

 
หลักสูตร

รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
(หลักสูตรภาคปกติ)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕

 
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program in Psychiatric and Mental Health
ชือปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ชื่อย่อ พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม Master of Nursing Science (Psychiatric and Mental
ชื่อย่อ M.N.S. (Psychiatric and Mental Health Nursing)

ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรัชญาของหลักสูตร

      การพยาบาลเป็นการปฏิบัติกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ทุกวัย ทั้งบุคคล ครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน ในทุกภาวะสุขภาพ โดยบูรณาการความรู้เชิงประจักษ์จากศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการแพทย์ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง งานวิจัย จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ศิลปะการพยาบาล และประสบการณ์ บนพื้นฐานของสัมพันธภาพที่เอื้ออาทร ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การฟื้นฟูสภาพ การดูแลรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยและผู้พิการ ตลอดจนผู้ที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต การพยาบาลยังรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและประชาชน การให้คำปรึกษา การเสริมสร้างพลังเพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนสามารถดูแลตนเองและพึ่งพากันเอง รวมทั้งสามารถปรับตัวอยู่กับภาวะเจ็บป่วยและข้อจำกัดได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด การปกป้องสิทธิประโยชน์ของ ผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย การวิจัย การแปลผลการวิจัยและความรู้สู่การปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริการพยาบาลและระบบสุขภาพ การประสานและร่วมทำงานกับทีมสาขาวิชาชีพ เพื่อให้เกิดคุณภาพบริการที่ดีที่สุด และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

      หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการให้การดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมให้บุคคลมีความสามารถที่จะปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลด้านจิตเวชและสุขภาพจิตของบุคคลให้ครอบคลุมทุกมิติเพื่อความเป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพการพยาบาลที่มีความรู้ ความสามารถทำการวิจัย และมีจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้

๑. มีคุณธรรม จริยธรรม เชิงวิชาการและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

๒. มีทักษะในการศึกษาค้นคว้ารวบรวม แนวคิด หลักการ ทฤษฎีทางการพยาบาล ทฤษฎีอื่นๆ และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวข้องกับการผดุงครรภ์อย่างทันสมัย

๓. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และทำวิจัยและนำเสนอ เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการปรับปรุงการพยาบาลเด็ก

๔. มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยด้วยตนเองและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๕. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดการข้อมูลทางการวิจัยและการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

๑. สําเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลและผดุงครรภ์หรือ พยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี

๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ํากว่า ๒.๕๐

๓. มีประสบการณ์การทํางานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล และ/หรือการ บริหารการพยาบาลหลังจากสําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปีโดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร

๔. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือการ พยาบาลชั้น ๑ ที่ไม่หมดอายุ

๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ คัดเลือกให้เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ

โครงสร้างหลักสูตร

      จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ หลักสูตรปริญญาแผน ก แบบ ก ๒ ดังนี้

(๑) หมวดวิชาแกน ๙ หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาบังคับ ๑๒ หน่วยกิต
(๓) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
(๔) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

 

รายวิชาในหลักสูตร

(๑) หมวดวิชาแกน หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย ๖๐๐ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการใช้ผลการวิจัย ๓(๓-๐-๖)
RANS 600 Research Methodology and Research Utilization  
รมพย ๖๐๓ สถิติ ๒(๑-๒-๓)
RANS 603 Statistics  
รมพย ๖๖๒ มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
RANS 662 Theoretical Foundation in Advanced Nursing Practice  
รมพย ๖๖๓ นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล ๒(๒-๐-๔)
RANS 663 Health Policy and Nursing Leadership  
(๒) หมวดวิชาบังคับ
รมพจ ๖๖๖ พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา ๓ (๓-๐-๖)
RAMH 666 Biological Bases of Human Behavior and Psychopharmacology  
รมพจ ๕๐๘ การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๒(๑-๒-๓)
RAMH 508 Advanced Health Assessment in Psychiatric and Mental Health Nursing  
รมพจ ๕๐๙ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๑ ๒ (๒-๐-๔)
RAMH 509 Psychiatric and Mental Health Nursing I  
รมพจ ๕๑๐ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๒ ๒ (๒-๐-๔)
RAMH 510 Psychiatric and Mental Health Nursing II  
รมพจ ๕๐๗ ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๓ (๐-๑๒-๓)
RAMH 507 Practicum in Psychiatric and Mental Health Nursing  
(๓) หมวดวิชาเลือก
รมพย ๕๕๐ สัมมนาความผิดปกติทางจิต ๓ (๓-๐-๖)
RANS 550 Seminar in Mental Disorders  
รมพย ๕๖๑ การแพทย์ทางเลือกและการบำบัดเสริมทางการพยาบาล ๓(๓-๐-๖)
RANS 561 Alternative Medicine and Complementary Therapy in Nursing  
รมพย ๕๖๒ แนวคิดการพยาบาลดูแลสุขภาพที่บ้าน ๓(๓-๐-๖)
RANS 562 Concept of Home Health Care Nursing  
รมพย ๕๖๔ การสอนในคลินิก ๓(๒-๔-๕)
RANS 564 Teaching in Clinical Setting  
รมพย ๕๔๒ แนวคิดและการพัฒนาบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๓(๑-๘-๔)
RANS 542 Concept and Role Development of Advance Practice Nurse  
รมพย ๖๘๑ การบริหารทางการพยาบาล ๓(๒-๔-๕)
RANS 681 Nursing Administration  
รมพย ๖๘๘ เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล ๓(๒-๒-๕)
RANS 688 Technology and Management of Nursing information  

 

     นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเห็นสมควร

(๔) วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒(๐-๓๖-๐)
RANS 698 Thesis  

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
รมพย ๖๐๓ สถิติ ๒(๑-๒-๓) รมพย ๖๐๐ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการใช้ผลการวิจัย ๓(๓-๐-๖)
  รมพจ ๖๖๖ พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา ๓(๓-๐-๖) รมพจ ๕๐๙ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๑ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๒ มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๒(๒-๐-๔) รมพจ ๕๑๐ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๒ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๓ นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล ๒(๒-๐-๔) รมพจ ๕๐๘ การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ๒(๑-๒-๓)
  รมพย ๕๕๐ สัมมนาความผิดปกติทางจิต ๓(๓-๐-๖) รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๒(๐-๖-๐)
  รวม ๑๑ หน่วยกิต รวม ๑๒ หน่วยกิต
วิชาเลือก ๓ หน่วยกิต รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๔(๐-๑๒-๐)
  รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖(๐-๑๘-๐)      
  รวม ๙ หน่วยกิต รวม ๔ หน่วยกิต

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

๑. ใช้เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน ๕ ปีการศึกษา

๒. ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐

๓. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๔. ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

๕. ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการเผยแพร่หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย

๖. ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการเผยแพร่หรืออย่างน้อยได้รับการ ยอมรับให้เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีมาตรฐานสากลที่มีชื่ออยู่ในรายการของศูนย์ดัชนี การอ้างอิงวารสารไทย (The Journal Citation Index Center: TCI) หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มี รายงานการประชุม (Proceedings) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑. นักวิชาการ นักวิจัยสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๒. พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๓. อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต