หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)

 
 
รายละเอียดหลักสูตร
 

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
(หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑

 
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program in Psychiatric and Mental Health Nursing
ชือปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ชื่อย่อ พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม Master of Nursing Science (Psychiatric and Mental Health Nursing)
ชื่อย่อ M.N.S. (Psychiatric and Mental Health Nursing)

ชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรัชญาของหลักสูตร

      การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน วินิจฉัย การดูแลช่วยเหลือ การบำบัดรักษาทางจิต การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพจิต และการสร้างเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยทางจิต สร้างนวตกรรม แนวปฏิบัติ ในการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น หรือ ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และทุกระยะของการเจ็บป่วยทั้งรายบุคคล และ กลุ่ม โดยเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการรู้คิด อารมณ์ ตัวตนกับสุขภาวะ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ภาวะผิดปกติทางจิต ประสาทจิตเวชศาสตร์ จิตเภสัชวิทยา ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งจริยธรรม จรรยาบรรณ กฏหมาย ศิลปะการพยาบาล และความเข้าใจในประสบการณ์และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการปฏิบัติและเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว องค์กร และระบบบริการสุขภาพ

      การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต สามารถติดตามความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

๒. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

๓. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๔. พัฒนามหาบัณฑิตที่มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ เป็นผู้นำและผู้ตามกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเอง

๕. พัฒนามหาบัณฑิตที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและสารสนเทศในการสืบค้นและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดการตัวเลข ข้อมูลทางการวิจัยและการพยาบาล

๖. พัฒนามหาบัณฑิตที่มีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทางการพยาบาลจิตเวชในการให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาจิตเวชและสุขภาพจิตทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การปรึกษา/จิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

๑. มีคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการ วิจัย และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

๒. สามารถบูรณาการความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ประสาทเภสัชวิทยา พื้นฐานทางชีววิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ ในการวางแผนให้การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาจิตเวชและสุขภาพจิต

๓. สามารถปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทางการพยาบาลจิตเวชในการให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาจิตเวชและสุขภาพจิตทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การปรึกษา/จิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม

๔. สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และการจัดการสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านสุขภาพและการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์) หรือพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรทางการพยาบาลเทียบเท่าปริญญาตรี จากสถาบัน การศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง

๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

๓. มีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น ๑ หรือ การพยาบาลชั้น ๑

๔. มีประสบการณ์การทำงานในด้านการพยาบาล การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาลหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีอย่างน้อย ๑ ปี โดยนับถึงวันยื่นใบสมัคร

๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๖. กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียงเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้ที่รับสมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรอโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร

๗. ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยดำเนินการร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก๒ : จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ
หลักสูตรภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก๒ : จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ
(ช่วงนอกเวลาราชการ) วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนขัตฤกษ์

โครงสร้างหลักสูตร

      จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก ๒ ดังนี้

(๑) หมวดวิชาแกน ๙ หน่วยกิต
(๒) หมวดวิชาบังคับ ๑๓ หน่วยกิต
(๓) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
(๔) วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๗ หน่วยกิต

 

รายวิชาในหลักสูตร

(๑) หมวดวิชาแกน ๙ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย ๖๐๑ การวิจัยทางการพยาบาล ๓ (๓-๐-๖)
RANS 601 Nursing Research  
รมพย ๖๐๓ สถิติ ๒(๑-๒-๓)
RANS 603 Statistics  
รมพย ๖๖๒ มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
RANS 662 Theoretical Foundation in Advanced Nursing Practice  
รมพย ๖๖๓ นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล ๒(๒-๐-๔)
RANS 663 Health Policy and Nursing Leadership  
(๒) หมวดวิชาบังคับ ๑๓ หน่วยกิต
รมพจ ๖๖๖ พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา ๓(๓-๐-๖)
RAMH 666 Biological Bases of Human Behavior and Psychopharmacology  
รมพจ ๖๖๗ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๒(๒-๐-๔)
RAMH 667 Advanced Psychiatric and Mental Health Nursing I  
รมพจ ๖๖๘ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๒(๒-๐-๔)
RAMH 668 Advanced Psychiatric and Mental Health Nursing II  
รมพจ ๖๖๙ ปฎิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๓(๐-๙-๓)
RAMH 669 Advanced Practicum in Psychiatric and Mental Health Nursing I  
รมพจ ๖๗๐ ปฎิบัติการทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๓(๐-๙-๓)
RAMH 670 Advanced Practicum in Psychiatric and Mental Health Nursing II  
(๓) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
รมพย ๕๕๐ สัมมนาความผิดปกติทางจิตเวช ๓(๓-๐-๖)
RANS 550 Seminar in Mental Disorders  
รมพย ๕๔๓ แนวคิดและการปฏิบัติทางการพยาบาลขั้นสูง ๓(๑-๖-๔)
RANS 543 Concept and Practice in Advanced Nursing  
รมพย ๕๔๔ การบำบัดเสริมและการบำบัดทางเลือกสำหรับการพยาบาล ๓(๓-๐-๖)
RANS 544 Complementary and Alternative Therapy for Nursing  
รมพย ๕๔๕ การจัดการทางการพยาบาล ๓(๒-๓-๕)
RANS 545 Nursing Management  
รมพย ๕๔๙ เครื่องมือสำหรับการวิจัยและการวัดผลลัพธ์ ๓(๒-๓-๕)
RANS 549 Instruments for Research and Outcome Measures  
รมพย ๕๖๔ การสอนในคลินิก ๓(๒-๓-๕)
RANS 564 Teaching in Clinical Setting  
รมพย ๖๘๘ เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศทางการพยาบาล ๓(๒-๓-๕)
RANS 688 Technology and Management of Nursing Information  

 

     นอกจากรายวิชาในหมวดวิชาเลือกข้างต้นแล้ว นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนได้จากรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามความสนใจ และตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเห็นสมควร

(๔) วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ/ปฏิบัติในคลินิก-ศึกษาด้วยตนเอง)
รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๑๒(๐-๓๖-๐)
RANS 698 Thesis  
 

ภาคปกติ

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
รมพย ๖๐๓ สถิติ ๒(๑-๒-๓) รมพย ๖๐๑ วิจัยทางการพยาบาล ๓(๓-๐-๖)
  รมพจ ๖๖๖ พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา ๓(๓-๐-๖) รมพจ ๖๖๘ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๒ มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๒(๒-๐-๔) รมพจ ๖๖๗ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๓ นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล ๒(๒-๐-๔) รมพจ ๖๖๙ ปฎิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๓(๐-๙-๓)
  รวม ๙ หน่วยกิต รวม ๑๐ หน่วยกิต
วิชาเลือก   รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖(๐-๑๘-๐)
  รมพจ ๖๗๐ ปฎิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๓(๐-๙-๓)      
    วิชาเลือก ๓(๓-๐-๖)      
  รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖(๐-๑๘-๐)      
  รวม ๑๒ หน่วยกิต รวม ๖ หน่วยกิต
 

ภาคพิเศษ

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
รมพย ๖๐๓ สถิติ ๒(๑-๒-๓) รมพย ๖๐๑ วิจัยทางการพยาบาล ๓(๓-๐-๖)
  รมพจ ๖๖๖ พื้นฐานทางชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา ๓(๓-๐-๖) รมพจ ๖๖๗ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๒ มูลฐานทางทฤษฎีในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ๒(๒-๐-๔) รมพจ ๖๖๘ การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๒(๒-๐-๔)
  รมพย ๖๖๓ นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล ๒(๒-๐-๔)      
  รวม ๙ หน่วยกิต รวม ๗ หน่วยกิต
  ภาคฤดูร้อน
  รมพจ ๖๖๙ ปฎิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๑ ๓(๐-๙-๓)
  รวม ๓ หน่วยกิต
รมพจ ๖๗๐ ปฎิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง ๒ ๓(๐-๙-๓) รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖(๐-๑๘-๐)
    วิชาเลือก ๓(๓-๐-๖)      
  รมพย ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖(๐-๑๘-๐)      
  รวม ๑๒ หน่วยกิต รวม ๖ หน่วยกิต
 

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

๑. ใช้เวลาในการศึกษาตามแผนการศึกษา

๒. ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๒๕ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓๗ หน่วยกิต

๓. ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐

๔. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๕. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๖. ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่าน โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

๗. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุมวิชาการ (Proceedings) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัยปี พ.ศ.๒๕๕๖ หรือฉบับปรับปรุงล่าสุด

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑. นักวิชาการ นักวิจัยด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๒. พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๓. ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษาด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

๔. อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต