โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการฝึกทักษะการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

04 | QUALITY EDUCATION

15 | LIFE ON LAND

โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการฝึกทักษะการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

หลักการและเหตุผล

บุคลากรโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี และหอพักนักศึกษาพยาบาล ศาลายา มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดูแล อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม ให้นักศึกษาพยาบาล ผู้เข้าอบรม ผู้มาเยี่ยมดูงาน อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี ประกอบกับอาคารโรงเรียนและหอพักถูกออกแบบให้มีความสูง 6-7 ชั้น เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาและบุคลากรที่มีจำนวนมากขึ้น และจากที่ผ่านมามีนักศึกษา อาจารย์ และผู้มาใช้บริการที่อาคาร มีสภาพร่างกายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนปกติขณะเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี เล็งเห็นความสำคัญของการฝึกทักษะการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยเมื่อเกิดเกตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว เพื่อความปลอดภัย ป้องกันความเสียหายและลดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดภายหลังต่อชีวิตและร่างกายที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จึงดำเนินการจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับต่าง ๆ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ความเข้าใจและสามารถประเมินผู้ประสบภัยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายได้
  • เพื่อพัฒนาบุคลากรในการช่วยเหลือเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยทั้งผู้ประสบภัยและผู้ให้การช่วยเหลือ
  • เพื่อเพิ่มความรู้ด้านวิชาการของบุคลากรให้สามารถขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์และส่งต่อผู้ประสบภัยได้

ตัวชี้วัด/เป้าประสงค์

  • ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเพิ่มพูนทักษะการช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย และมีผลคะแนนแบบทดสอบความรู้การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
  • ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ และมีความมั่นใจว่าสามารถข้อความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์และส่งต่อผู้ประสบภัยได้

วิธีการดำเนินการ

  • วิทยากรบรรยายแนวคิด หลักการการประเมินสถานการณ์ วิธีการสังเกตเหตุผู้ประสบภัยที่มีความเสี่ยง ความรู้การปฏิบัติเรื่องการประเมินเบื้องต้น การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายสำหรับผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการเรียกบริการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทยหรือหน่วยที่ต้องการติดต่อ
  • แบ่งกลุ่มฝึกการช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายสำหรับผู้ประสบภัยอย่างเป็นระบบ

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรสังกัดงานบริหารศาลายา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ โรงเรียนฯ ศาลายา

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บุคลากรมีความรู้และสามารถสามารถทำการช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้องและปลอดภัย  และมีความรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์และส่งต่อผู้ประสบภัยได้

การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

  1. ประเด็นการประเมิน ประเมินวัตถุประสงค์ เนื้อหา ความเหมาะสมของวิทยากร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก เอกสาร อุปกรณ์และสื่อประกอบการอบรมและระยะเวลาที่จัดสัมภาษณ์ความรู้สึกบุคลากรหรือผู้ที่มีส่วนในการอุปโภคบริโภคน้ำ
  2. วิธีการ/ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  บททดสอบความรู้การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม