โครงการ พัฒนาบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศาลายา ปี 2566 “กิจกรรมตรวจน้ำดื่มและบำบัด (น้ำเสีย) อาคารโรงเรียนและหอพักนักศึกษา ศาลายา”

06 | CLEAN WATER AND SANITATION

โครงการ พัฒนาบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศาลายา ปี 2566 “กิจกรรมตรวจน้ำดื่มและบำบัด (น้ำเสีย) อาคารโรงเรียนและหอพักนักศึกษา ศาลายา”

หลักการและเหตุผล

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศาลายา มีหน้าที่หลักในการเรียนการสอนและมีหน้าที่สนับสนุน สาธารณูปโภคและความปลอดภัยของคุณภาพน้ำดื่มในการใช้บริโภคของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร น้ำเสียที่ใช้แล้วของอาคารโรงเรียนและหอพักนักศึกษาพยาบาล ศาลายา ก่อนนำลงทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบกับมหาวิทยาลัยมหิดลและคณะฯ มีนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (ECO University Policy) และ SO4 การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Management for sustainability : Environment) ในการนี้โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศาลายา จำเป็นต้องทำกิจกรรมในการตรวจคุณภาพน้ำดื่มและน้ำบำบัด (น้ำเสีย) เพื่อเพิ่มออกซิเจน และทำให้บรรยากาศโดยรอบอาคารเรียนและหอพักนักศึกษาน่าอยู่ และลด Carbon Footprint ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษา ในการสร้างสถาบันการศึกษาพยาบาลรามาธิบดีเชิงนิเวศน์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลน้ำดื่มที่ได้คุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี วิทยาเขตศาลายา
  • เพื่อบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด/เป้าประสงค์

  • น้ำสำหรับอุปโภค/บริโภคของโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี วิทยาเขตศาลายา มีความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตามตารางข้างล่าง
  • Parameter ค่ามาตรฐาน
    ลักษณะทางกายภาพของน้ำ ใส
    PH (ความเป็นกรด และ ด่าง) 6.5 - 8.5
    Hardness (ความกระด้าง) ≤ 7.5
    Total Coliform Bacteria (เชื้อแบคทีเรีย) ≤ 2.2
    Fecal Coliform Bacteria (เชื้อแบคทีเรีย) ≤ 2.2
  • น้ำบำบัด (น้ำเสีย) ผ่านเกณฑ์จากห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากลก่อนทิ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตามตารางข้างล่าง
  • Parameter ค่ามาตรฐาน
    PH (ความเป็นกรด และ ด่าง) 5.5 - 9
    BOD (mg/L) ไม่เกิน 20
    COD (mgO2/L) ไม่เกิน 20
    TSS (mg/L) ไม่เกิน 50
    TDS (mg/L) ไม่เกิน 3000
    Oil and Grease (mg/L) ไม่เกิน 5
    Sulfide (mg/L) ไม่เกิน 1
    DO (mg/L) มากกว่า 3

วิธีการดำเนินการ

  • สำรวจข้อมูล ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ตั้งคณะทำงานและประชุมวางแผน
  • ดำเนินงานตามโครงการ จัดหาอุปกรณ์การใส่น้ำเพื่อส่งตรวจ
  • ประเมินและสรุปผลตามตัวชี้วัดและติดตามผลเป็นระยะเวลา 1 ปี

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่งานบริหาร และผู้มาใช้บริการ

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

10 เมษายน - 30 กันยายน พ.ศ. 2566

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • เจ้าหน้าที่และผู้พักอาศัย ได้อุปโภคและบริโภคน้ำได้สะอาดปลอดภัย
  • น้ำดื่มและน้ำเสียอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • บริเวณโดยรอบหน่วยงานไม่มีน้ำเน่าเสีย

การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

  1. ประเด็นการประเมิน ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มและน้ำบำบัด
  2. สัมภาษณ์ความรู้สึกบุคลากรหรือผู้ที่มีส่วนในการอุปโภคบริโภคน้ำ
  3. ทำ After Action Review หลังสิ้นสุดโครงการ
  4. ติดตามผลเป็นระยะเวลา 1 ปี
  5. ทำตารางการแจ้งผลข้อมูลการกรวดน้ำดื่มและบำบัด
  6. การส่งน้ำไปตรวจคุณภาพที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์