รายละเอียดการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ปีการฝึกอบรม 2568 รอบที่ 2
(เปิดรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด จำนวน 1 อัตรา)
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัคร
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.1 เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์
1.2 เป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ชั้นปีสุดท้ายและสำเร็จการฝึกอบรมแล้วในปีการศึกษานั้น
1.3 เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
๑.๔ เป็นผู้ที่มีความสนใจทางจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การเป็นจิตแพทย์การนอนหลับต่อไปในอนาคต ได้แก่ มีจรรยาบรรณแพทย์ มีความสามารถในการเข้าใจภาวะทางจิตใจของตนเอง และผู้อื่น ไม่มีความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง และไม่มีความพิการอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมอนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ
2. ขั้นตอนการสมัคร:
2.1 สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ประจำปีการฝึกอบรม 2568 รอบที่ 2 ให้ download ใบสมัครของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ทาง website: www.rcpsycht.org กรอกใบสมัครด้วยตนเองพร้อมเตรียมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 โดยให้เลือกอนุสาขาได้เพียงหนึ่งอนุสาขา แล้วพิมพ์ลงกระดาษเพื่อลงนาม พร้อมเตรียมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ 3 ทั้งนี้แพทยสภาจะเปิดระบบการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568
2.2 แพทย์ผู้ประสงค์สมัครฯ สามารถเลือกได้ 1 สถาบัน
3. เอกสารประกอบการสมัคร
3.1 หลักฐานแสดงคุณสมบัติบุคคล ได้แก่
3.1.1 สำเนาบัตรประชาชน
3.1.2 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล / ใบทะเบียนสมรส (เฉพาะในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ - สกุล)
3.1.3 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.1.4 สำเนาหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ หรือหนังสือรับรองการปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้าน หรือการปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ ในชั้นปีสุดท้าย
3.1.5 หนังสือจากต้นสังกัดลงนามโดยผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่ายงานต้นสังกัดอนุมัติให้เข้าฝึกอบรมและฝึกอบรมและรับรองว่าจะทำสัญญาเมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว (เฉพาะผู้สมัครที่มีต้นสังกัดส่งฝึกอบรม) โดยใช้แบบหนังสือรับรองต้นสังกัดตามแบบที่กำหนด ยกเว้นผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับต้นสังกัดเพื่อเข้าศึกษาฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
3.1.6 หนังสือรับรอง/แนะนำผู้สมัคร ดังต่อไปนี้
3.1.6.1 จิตแพทย์ 2 ฉบับ
3.1.6.2 ผู้บังคับบัญชาในปัจจุบัน 1 ฉบับ
3.1.6.3 เอกสารหลักฐานอื่นที่สถาบันฝึกอบรมกำหนดเพิ่มเติม
หมายเหตุ จัดเตรียมเอกสารเป็นชุดดังนี้
1. สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 1 ชุด (เอกสารตัวจริง)
2. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ชุด (สำเนาเอกสารชุดเดียวกับที่ส่งให้สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยพร้อมเซ็นรับรองสำเนาโดยผู้สมัครทุกหน้า) และจะต้องส่ง ผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (ที่ยังไม่หมดอายุ) โดยใช้ผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- MU GRAD Plus (Computer Based)
- IELTS
- TOELF iBT
- MU ELT
** หากเอกสารไม่ครบถ้วน จะไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ **
** เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ **
หมายเหตุ : การยื่นผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เกณฑ์ Graduation Requirement (Pass)
4. การยื่นใบสมัคร
ยื่นใบสมัคร และเอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ตาม ข้อ 3. และชำระค่าสมัคร 1,400 บาท (หนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) ที่ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ชื่อบัญชี “ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย” เลขที่บัญชี 038-7-25288-5 นำส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมกับ ใบสมัครและเอกสารหลักฐานทั้งหมดทางไปรษณีย์ที่อยู่ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานเลขาธิการราชวิทยาลัยฯ ชั้น 15 กองจิตเวชและประสาทวิทยา อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เลขที่ 315 ถนนราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ภายในวันที่ 30 เมษายน 2568
-
กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์หรือช่องทางการส่งเอกสารอื่น ๆ จะต้องส่งถึงสำนักงานเลขาธิการราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2568
-
ค่าสมัครเป็นค่าธรรมเนียมการรับสมัครของแพทยสภา จำนวน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) และ ค่าธรรมเนียมการรับสมัครของราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ จำนวน 400 บาท (สี่ร้อยบาทถ้วน) ทั้งนี้ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ จะดำเนินการนำส่งค่าธรรมเนียมในการรับสมัครให้กับสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาแทนผู้สมัคร
5. แนวทางการรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจิตเวชศาสตร์
สถาบันฝึกอบรมมีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมและมีกระบวนการคัดเลือกและจัดการสอบสัมภาษณ์โดยยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส เท่าเทียม ยุติธรรมและตรวจสอบได้
5. เกณฑ์พิจารณา
คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
1. พิจารณาคัดเลือกตามที่ระบุไว้ในแผนการฝึกอบรมของสถาบันฝึกอบรมโดยให้ความสำคัญแก่ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดจากหน่วยงานรัฐ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณาคัดเลือก
2. เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์
3. เป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ชั้นปีสุดท้ายและสำเร็จการฝึกอบรมแล้วในปีการศึกษานั้น
4. เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
5. คะแนนจากการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาถึงความสนใจทางจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การเป็นจิตแพทย์การนอนหลับต่อไปในอนาคต ได้แก่ มีจรรยาบรรณแพทย์ มีความสามารถในการเข้าใจภาวะทางจิตใจของตนเอง และผู้อื่น ไม่มีความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง และไม่มีความพิการอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมอนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ
การพิจารณารับสมัครแพทย์ประจำบ้านต่อยอดฯ แต่ละรายจะเป็นไปตามมติของที่ประชุม หลังจากคณะกรรมการฯ ได้ประชุมและร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว โดยคณะกรรมการจะพิจารณาด้วยความโปร่งใส เสมอภาค ปราศจากอคติ ในเรื่องเชื้อชาติ, เพศ, ศาสนา, การเมือง หรืออำนาจโดยมิชอบใด ๆ
6. การประกาศผล
รายการ |
กำหนดการ |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ |
ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2568 |
สัมภาษณ์ผู้สมัครแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ | |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ |
ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม 2568 ติดตามได้จากประกาศราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยhttps://www.rcpsycht.org/th/training/recruitment |
* เมื่อได้กำหนดวันสัมภาษณ์แล้ว จะมีการโทรศัพท์ไปแจ้งวันเวลาดังกล่าวแก่ผู้สมัครโดยตรง
** เมื่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการโทรศัพท์ไปแจ้งผลแก่ผู้สมัครโดยตรง
หมายเหตุ : ผู้ผ่านการคัดเลือก จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบตามประกาศของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจภูมิและฉีดวัคซีนด้วยตนเอง
7. การอุทธรณ์
หากผู้สมัครต้องการอุทธรณ์ผลการคัดเลือก สามารถทำได้โดยการยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบคะแนนได้ หลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการภายใน 15 วัน โดยติดต่อขออุทธรณ์ผลได้ที่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ (อาคาร 3 ชั้น 7) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
8. ช่องทางติดต่อ
8.1 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (อาคาร 3 ชั้น 7)
270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
คุณญาติมา เกตะมะ โทร. 02-201-1929 ต่อ 231
E-mail: yatima.ket@mahidol.ac.th
8.2 หน่วยการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
เจ้าหน้าที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญา โทร. 02-201 1804-6
8.3 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400
คุณจันทนา คำประกอบ โทร. 02-640-4488
E-mail: rcpsych.th@gmail.com