การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ปีการฝึกอบรม 2567
 
1. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม คณะกรรมการฝึกอบรมฯ ได้พิจารณาความสมดุลระหว่างจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่รับได้และศักยภาพด้านการฝึกอบรม ขณะนี้ภาควิชาฯ สามารถรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นได้ปีละ 4 คน (สำหรับปีการอบรม 2567 เปิดรับผู้ที่มีต้นสังกัด 3 ตำแหน่ง และ Free Training 1 ตำแหน่ง)

2. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
     2.1 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่าจากสถาบันที่แพทยสภาฯ รับรอง
     2.2 ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ของแพทยสภาฯ
     2.3 ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ
     2.4 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางของแพทยสภา
     2.5 กรณีที่ต้องการเข้ารับการอบรมแบบแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์หรือเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังจะสำเร็จการฝึกอบรม 3 ปี โดยในระบบนี้จะสามารถเข้ารับการฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 3 ของหลักสูตรจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการอบรมในปีที่ 1 และ 2

 

3. ขั้นตอนการสมัคร สมัครผ่านทางระบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1-31 ตุลาคม 2566   โดยจะต้องสมัครให้ครบทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้
    3.1 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย: https://www.rcpsycht.org/th/training/recruitment
    3.2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี: http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/
    
3.3 แบบสอบถามการสมัครแพทย์ประจำบ้าน: bit.ly/3RuQ0jK

4. เอกสารประกอบการสมัคร ตามข้อ 3.1 และข้อ 3.2 กำหนดไว้
    4.1 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ยื่นเอกสารตามข้อ 3.1 โดยตรงหรือส่งไปรษณีย์
    4.2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ในข้อ 3.2
    4.3 หน่วยจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
          
ต้องส่งบทความเรื่อง “ข้าพเจ้า กับ การมาเรียนจิตเวชเด็กและวัยรุ่น”
          (ใช้ font Cordia New size 14, ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4, ส่งเป็นไฟล์ pdf)
           โดยส่งมาที่อีเมล์ jk.namsoot@gmail.com  ทั้งนี้ ส่งภายในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2566

 

5. การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯได้พิจารณาพันธกิจของหลักสูตรฯและได้ตั้งคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้สอดคล้องกับพันธกิจของหลักสูตรฯ โดยมีนโยบายรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความพิการซึ่งต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษ หากความพิการนั้นไม่มีผลต่อผู้ป่วยหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางความสามารถในการฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานในฐานะจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
    5.1 คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
         •    เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม
         •    เป็นผู้ปฏิบัติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์
         •    สามารถให้ความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจลึกซื้งถึงปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วยอย่างจริงใจจนถึงขั้นสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy)
         •    ตระหนักถึงความสำคัญทางด้านจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์
         •    มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูง
         •    บุคลิกภาพและวุฒิภาวะ (maturity) ที่เหมาะสม
         •    มีความอดทนต่อผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ร่วมงาน
         •    มีความรักและพร้อมที่จะเข้าใจเด็กและวัยรุ่น
         •    ยอมรับความผิดพลาดและพร้อมที่จะปรับปรุงตนเองเสมอ
         •    มีความมุ่งมั่น เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในการสร้างความเจริญให้แก่วงการจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
         •    ใฝ่หาความรู้ความชำนาญเพิ่มเติมในวิชาชีพอยู่เสมอ และมีความสนใจในงานวิจัยทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
         •    มีความสนใจการส่งเสริมสุขภาพจิตการป้องกันโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
   5.2 เกณฑ์การรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นไปตามที่หลักสูตรฯได้กำหนดคุณสมบัติไว้ตามระเบียบของราชวิทยาลัยฯ และแพทยสภาโดยปราศจากอคติเรื่อง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง หรืออำนาจอันมิชอบ และนโยบายการรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการคำนึงถึงความต้องการของระบบสุขภาพด้วย เช่นมีการพิจารณาถึงต้นสังกัดจังหวัดที่ขาดแคลน
   5.3 คณะกรรมการคัดเลือก
        สถาบันฝึกอบรมมีการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมและมีกระบวนการคัดเลือกและจัดการสอบสัมภาษณ์โดยยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส เท่าเทียม ยุติธรรมและตรวจสอบได้
   
 
 
 5.4 หลักเกณฑ์การให้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์จะมีการพิจารณาให้คะแนนจาก

         เกณฑ์ขั้นต่ำ
         • เกรดเฉลี่ย พบ. 
            - สำหรับผู้ที่มีต้นสังกัด  เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75
            - สำหรับ Free Training เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
         • NL 3 ผ่านครั้งที่ 1 (ถ้าไม่ผ่านครั้งที่ 1 พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ)
         • ผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ผลการสอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

           

        การให้คะแนน       
        • ต้นสังกัดที่ได้รับทุนมา (ร้อยละ 20)
        • คะแนนจากการสัมภาษณ์ในห้องสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจาก บุคลิกภาพ ทัศนคติ critical thinking ความมั่นคงทาง อารมณ์ ทักษะในการสื่อสาร แรงจูงใจในการเรียนจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เป็นต้น (ร้อยละ 80)

        • สำหรับตำแหน่ง Free Training คะแนนจากการสัมภาษณ์ในห้องสัมภาษณ์ จะพิจารณาจาก บุคลิกภาพ ทัศนคติ critical thinking ความมั่นคงทาง อารมณ์ ทักษะในการสื่อสาร แรงจูงใจในการเรียนจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น (ร้อยละ 100)

หากผู้สมัครมีความพิการจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นจิตแพทย์ เช่น ความพิการที่รุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วย

 

6. การตัดสินจะพิจารณาจาก
       6.1 คะแนนรวมของกรรมการสัมภาษณ์ทุกท่าน
       6.2 คะแนนในส่วนของการสัมภาษณ์ โดยเฉลี่ยจากกรรมการทุกท่านต้องไม่น้อยกว่า 30 คะแนน
       6.3 มติของกรรมการสัมภาษณ์ ถือเป็นสิทธิ์ขาด
           (หากท่านมีข้อสงสัยในผลการตัดสินสามารถสอบถามได้ที่ประธานหลักสูตรดูแลแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาฯ)

 

 7.กลไกในการอุทธรณ์
           ผู้สมัครสามารถส่งคำร้องขออุทธรณ์ผลการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านโดยตรงที่หัวหน้าภาควิชา หรือประธานหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โดยเปิดให้แจ้งความจำนงในการอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันหลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ เพื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกได้มีการพิจารณาดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม
ซึ่งผู้สมัครสามารถดำเนินตามขั้นตอนการขออุทธรณ์ ได้ดังต่อไปนี้....
กรุณาคลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

 

8. ช่องทางติดต่อ
     8.1 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (อาคาร 3 ชั้น 7)    
           270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
              คุณจอมขวัญ นามสูตร โทร.02-201-1929 ต่อ 230
               E-mail: jk.namsoot@gmail.com

     8.2 หน่วยการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
           เจ้าหน้าที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญา โทร.02-201-1804-6  
  
     8.3 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
           กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
           อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15 ถนนราชวิถี  เขตราชเทวี กทม. 10400
           คุณจันทนา คำประกอบ โทร.02-640-4488
           E-mail: rcpsych.th@gmail.com

 

หมายเหตุ ก่อนเข้ารับการฝึกอบรม

- ผู้ผ่านการคัดเลือก จะต้องลงทะเบียนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก โดยจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราเหมาจ่ายไม่เกิน 9,200 บาท ต่อปีการฝึกอบรม (จัดเก็บจำนวน 3 ปี)

- ผู้ผ่านการคัดเลือก จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบตามประกาศของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจภูมิและฉีดวัคซีนด้วยตนเอง