ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Nutrition
ประเภทหลักสูตร : ปกติ
ระดับ : ปริญญาโท
ปรัชญา
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนา และประยุกต์งานด้านโภชนศาสตร์ มีทักษะในการทำวิจัย สามารถบูรณาการงานวิชาการ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อสุขภาวะที่ดีของสังคม
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (โภชนศาสตร์)
: วท.ม.(โภชนศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ : Master of Science (Nutrition)
: M.Sc. (Nutrition)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีความรู้ ความสามารถดังนี้
1. มีจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม เจตนคติที่ดีในวิชาชีพและในการวิจัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2. มีความรู้ในระดับแนวหน้าด้านโภชนบำบัด โภชนาการชุมชน พิษวิทยาโภชนาการ และโภชนาการเชิงการทดลองการใช้เครื่องมือ ทั้งหลักการและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ร่วมกับมีทักษะในการขยายองค์ความรู้และแนวปฏิบัติ
3. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ประเด็นปัญหาทางโภชนาการ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนางานทางด้านโภชนาการอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างถูกต้อง
4. มีความเป็นผู้นำที่มีทักษะในการแก้ปัญหา แสดงแนวคิดเชิงวิพากษ์ และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
5. มีทักษะในการสื่อสาร รวมถึงสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิจัย หรือนักวิชาการด้านโภชนศาสตร์ในสถาบันศึกษา สถาบันวิจัย อุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล
2. นักโภชนาการในโรงพยาบาล สถาบันสุขภาพ สถานบริการอาหาร สถานออกกำลังกาย บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ หรือกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
3. ที่ปรึกษาและหรือผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น หลักสูตรฯ กำหนดผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (PLOs) คือเพื่อคาดหวังให้บัณฑิตที่จบการศึกษาสามารถ :
1. ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม และจริยธรรม มีจรรยาบรรณ และเจตนคติที่ดีในการปฏิบัติงานและการทำวิจัย มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2 ประยุกต์ความรู้ด้านโภชนศาสตร์ และใช้กระบวนการทางโภชนาการที่ถูกต้องและทันสมัยในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาวะของสังคม
3. สังเคราะห์ความรู้ด้านโภชนศาสตร์ จากทางภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อขยายองค์ความรู้ในบริบทใหม่ร่วมกับพัฒนาวิธีการทดสอบเพื่อหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์
4. วางแผนและทำงานวิจัยด้านโภชนศาสตร์ ด้วยการค้นคว้าทางวิชาการได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชน
5. แสดงภาวะผู้นำ ที่สามารถแก้ปัญหาซับซ้อน ร่วมกับสามารถให้ความคิดเห็นและรับผิดชอบในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ทั้งการปฏิบัติและการบริหารจัดการ
6. แสดงทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการสู่สังคม และหรือเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย และบทความวิชาการได้ ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาใดสาขาหนึ่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 -16.30 น.)
โครงสร้างหลักสูตร
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษา พ.ศ. 2558 หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2 ดังนี้
1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
2. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
4. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
1. หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||
RANU 501 |
Fundamental Nutritional Biology and Biochemistry |
2 (2-0-4) |
2. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
RANU 601 |
Nutrition Science |
3 (3-0-6) |
RANU 603 |
Biostatistics in Nutrition |
2 (2-0-4) |
RANU 604 |
Nutrition Communication |
2 (1-2-3) |
RANU 608 |
Nutrition Assessment |
3 (3-0-6) |
RANU 609 |
Research Methodology in Nutrition |
3 (3-0-6) |
RANU 611 |
Problem-based Study in Nutrition |
2 (2-0-4) |
RANU 629 |
Nutritional Toxicology |
1 (1-0-2) |
RANU 637 |
Critical Reading and Thinking in Nutrition |
2 (2-0-4) |
3. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
3.1 กลุ่มโภชนาการคลินิก |
|
|
RANU 613 |
Nutrition and Diseases |
2 (2-0-4) |
RANU 638 |
Nutrition Care in Clinical Practice I |
3 (2-2-5) |
RANU 639 |
Nutrition Care in Clinical Practice II |
3 (2-2-5) |
RANU 640 |
Important Issues for Nutritionist |
1 (1-0-2) |
RANU 641 |
Nutrition Service Plan |
2 (1-2-3) |
3.2 กลุ่มโภชนาการเชิงการทดลองและชีวเคมี |
|
|
RANU 618 |
Instruments and Analytical Methods in Food and Nutrition |
3 (1-4-4) |
RANU 624 |
Application of Cellular and Molecular Techniques in Food and Nutrition |
1 (0-2-1) |
RANU 631 |
Roles and Functions of Nutrients and Bioactive Compounds in Foods |
3 (3-0-6) |
RANU 642 |
Special Project in Nutrition Research |
1 (1-0-2) |
RANU 643 |
Special Techniques in Nutrient and Their Functional Properties |
1 (1-0-2) |
RANU 644 |
Special Techniques in Nutrient and Phytochemical Analysis |
1 (0-2-1) |
RANU 645 |
Special Techniques in Evaluation of Antioxidants Content and Efficacy |
1 (0-2-1) |
RANU 646 |
Experimental Nutrition in Animal Model |
2 (1-2-3) |
|
|
|
3.3 กลุ่มพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ |
|
|
RANU 623 |
Food Toxicant Analysis and Toxicity Testing |
2 (1-2-3) |
RANU 647 |
Food Safety for Consumer Health |
2 (2-0-4) |
RANU 648 |
Applied Nutrition Toxicology |
3 (3-0-6) |
RANU 649 |
Impacts of Oxidative Stress and Antioxidants on Health and Diseases |
3 (3-0-6) |
RANU 650 |
Biomarkers for Assessments of Nutritional Status and Food Toxicants Exposure |
3 (3-0-6) |
|
|
|
3.4 กลุ่มโภชนาการชุมชน |
|
|
RANU 651 |
Community Nutrition |
2 (2-0-4) |
RANU 652 |
Nutritional Epidemiology |
2 (2-0-4) |
RANU 653 |
Nutrition Care for Community-based Diseases |
2 (2-0-4) |
RANU 654 |
Nutrition, Environmental Exposures and Community Health |
2 (2-0-4) |
3. วิทยานิพนธ์
RANU 698 |
Thesis |
12 (0-48-0) |