ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
    วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ทางการศึกษาที่พึงประสงค์ (Objectives and Intended Educational Outcomes) 
หลักสูตรฯมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงให้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย  ตามผลลัพธ์ทางการศึกษาที่พึงประสงค์ กล่าวคือแพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ กอปรด้วยความรู้ความสามารถขั้นพึ้นฐานตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้

1  ทักษะและเจตคติในการบริบาลผู้ป่วย และทักษะทางหัตถการ (Patient care and procedural skills)
      1.1  มีการเรียนรู้และฝึกทักษะในการให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับการตรวจและการวินิจฉัย    
     ทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์ 
     รวมพิจารณาและคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความเสี่ยง และประโยชน์ของ   
     ผู้ป่วยเป็นหลัก
      1.2   มีการเรียนรู้และเลือกใช้ contrast agent ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละสถานการณ์
      1.3   มีทักษะในการขอความยินยอมในการตรวจและการทำหัตถการทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง
      1.4  มีความรู้และสามารถทำการตรวจหรือควบคุมการตรวจภาพวินิจฉัยชั้นสูง ในกลุ่มโรคที่ไม่ซับซ้อนและกลุ่มโรคที่ซับซ้อนได้ด้วยตนเองหรือภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม
      1.5  ตระหนักถึงปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตรวจทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง และสามารถให้การดูแลรักษาเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง หรือปรึกษาขอความช่วยเหลือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

2  ความรู้ทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูงทั้งในภาวะที่ไม่รีบด่วนและในภาวะฉุกเฉินหรือ วิกฤต (Medical knowledge)
      2.1  มีความรู้เกี่ยวกับภาพวินิจฉัยชั้นสูงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ thoracic imaging,  cardiovascular imaging, abdominal (gastrointestinal, hepatobiliary, pancreas, genitourinary) imaging และ musculoskeletal imaging รวมถึงสามารถให้การวินิจฉัยและวินิจฉัยแยกโรคได้อย่างถูกต้อง
      2.2  สามารถนำความรู้ใหม่ ๆ จากรายงานการวิจัยมาประยุกต์ใช้กับการตรวจภาพวินิจฉัยชั้นสูงได้และริเริ่มการทำงานวิจัยทางคลินิก
      2.3  มีส่วนช่วยในการสอนและตรวจสอบรายงานผลการตรวจของแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง

3  การเรียนรู้แบบเน้นปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (Practice-based learning and improvement)
     3.1  มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการดูแลผู้ป่วย
     3.2  มีการพัฒนาการเรียนรู้ การประเมิน และการปรับปรุงการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสะท้อนตนเองและการสะท้อนกลับจากหลักสูตร รวมทั้งมีวิจารณญาณในการประเมินข้อมูล ด้วยหลักการของวิทยาการระบาดคลินิกและเวชศาสตร์เชิงประจักษ์
     3.3  การฝึกการเป็นนักวิชาการ (scholarly activity) โดยสามารถดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงวิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

4 ทักษะในการติดต่อสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ (Interpersonal and communication skills)
     4.1  มีความสามารถในการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี   
           เมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ได้แก่
       -  การสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการตรวจทางด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง การขอใบแสดงความยินยอม
       -   การสื่อสารเกี่ยวกับข้อผิดพลาด ภาวะแทรกซ้อน หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์  
    4.2   สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านภาพวินิจฉัยชั้นสูง ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ได้
    4.3    สื่อสารให้ข้อมูล โดยรายงานผลการตรวจเป็นเอกสาร (reports) หรือด้วยวาจา แก่ทีมดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.4    มีความเป็นผู้นำและนำความรู้ไปใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยในเชิงส่วนรวมและสังคม
    4.5    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างราบรื่น  
    4.6    มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยและญาติ อาจารย์ รวมทั้งผู้ร่วมงานในวิชาชีพทุกระดับ

5   มีพฤติกรรมแห่งวิชาชีพและความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) แพทย์ผู้เข้ารับการอบรมแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมแห่งวิชาชีพที่ดีของแพทย์ดังนี้ 
    5.1   มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน 
    5.2   มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (non-technical skills) และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม

ภาควิชารังสีวิทยา Radiology.mahidol.ac.th
อาคาร 1 ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 02-201-2465-6,  โทรสาร 02-201-1297