ความเป็นมาของระไม

ความเป็นมาของระไม

“RAMAAI” หรือ “ระไม” เป็น artificial intelligence ที่ผ่านการสอน (train) โดยใช้หลักการ deep learning ด้วยชุดข้อมูลของคนไทย ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ภาควิชาวิศวรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ในปี 2563 โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของรังสีแพทย์และแพทย์ผู้ดูแลในการให้คำวินิจฉัยภาพถ่ายรังสีทรวงอก กรณีที่สงสัยภาวะปอดอักเสบโควิด-19 ระยะเริ่มแรก (early COVID-19 pneumonia) ในพื้นที่และช่วงเวลาที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
“RAMAAI” version 1 ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าใช้บริการผ่านระบบ web service ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มกราคม พ.ศ. 2564 อันเป็นช่วงเดียวกับที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 ของประเทศไทย โดย “RAMAAI” ได้รับความสนใจเข้าใช้บริการทางแพทย์ทั่วไปและรังสีแพทย์ จากทั่วประเทศผ่านทางระบบ web service และได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็น version 1.7 ในปี 2564 โครงการระไม ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากหลายภาคส่วน อันได้แก่ สำนักงานสภานโนบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท รัชวิภา พลัส จำกัด, บริษัท บริดจ์เอเชีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท เจ เอฟ แอดวานด์ เมด จำกัด เพื่อพัฒนาระบบการวินิจฉัยโดยปัญญาประดิษฐ์ที่แม่นยำและ platform การให้บริการที่เข้าถึงง่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เป็นตัวช่วยของแพทย์ และรังสีแพทย์ในการวินิจฉัย ตลอดจนเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเพื่อกักกัน และควบคุมการแพร่กระจายโรค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีที่มีการระบาดของโรค COVID-19
Developers and partners - ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล- ภาควิชาระบาดวิทยา และชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล- ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)- บริษัท รัชวิภา พลัส จำกัด- บริษัท บริดจ์เอเชีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด- บริษัท เจ เอฟ แอดวานด์ เมด จำกัด- สำนักงานสภานโนบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

 ◦ เข้าสู่ระบบ RAMAAI ผ่าน ระบบ web service: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaai
 ◦ เข้าสู่การใช่งาน RAMAAI ผ่าน LineBot: https://line.me/R/ti/p/%40183zxcjl หรือ QR code