หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาอดีตและปัจจุบัน

ประวัติโดยย่อของภาควิชารังสีวิทยา
            เมื่อมีการตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้มีภาควิชารังสีวิทยาเกิดขึ้นด้วยโดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวี บุญโชติ เป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาคนแรกจนถึงปี พ.ศ. 2525 ท่านได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นับเป็นคณบดีคนที่ 3 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ภาควิชารังสีวิทยาได้มีหัวหน้าภาควิชา อีก 6 ท่าน ตามลำดับดังต่อไปนี้

รายนามหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา นับตั้งแต่ก่อตั้งภาควิชาฯ มีดังนี้
 

 

              ภาควิชารังสีวิทยา มีกิจกรรมแยกเป็น 3 หน่วยดังต่อไปนี้ หน่วยแรกคือหน่วยรังสีวินิจฉัย สถานที่ทำการ อาคาร 1 ชั้น 2 และศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (AIMC) ตึกสิริกิติ์ ในการปฏิบัติ 2 หน่วยงานนี้มีการบริหารงานแยกจากกันมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโดยศูนย์ AIMC อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิรามาธิบดีในด้านบริหารจัดการ แต่ในด้านการศึกษาทั้งหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตและการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ยังอยู่ในกำกับดูแลของภาควิชารังสีวิทยา

หน่วยรังสีวินิจฉัยฝึกอบรมแพทย์ประจำ บ้านให้มีความรู้ความสามารถ ในด้านการตรวจวินิจฉัยภาพเอกซเรย์พื้นฐาน (Plain radiography) ตรวจและแปลผลด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), เครื่องสนามแม่เหล็ก (MRI), เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) และเครื่องเอกซเรย์เต้านม (mammography) เรียนรู้ หลักการพื้นฐานของเครื่องมือแต่ละชนิด ข้อดี ข้อจำกัดของการตรวจ สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการตรวจได้เหมาะสม สามารถรับปรึกษา ตลอดจนให้คำแนะนำในการตรวจทางรังสีวินิจฉัยได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแพทย์ประจำบ้านจะได้ รับการฝึกอบรมในด้าน Interventional radiology มีส่วนร่วมในการตรวจพิเศษ เช่น การตัดชิ้นเนื้อตรวจโดยไม่ต้องผ่าตัด  การขยายหลอดเลือดและท่อต่าง ๆ ในร่างกาย  หรือแม้แต่การให้เคมีบำบัดผ่านเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งเป็นต้น ซึ่งรังสีแพทย์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานทางด้านนี้พอสมควรเพื่อจะได้เลือก การตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่เหมาะสมเข้าใจหลักการแปลผล และรู้ข้อจำกัดของการตรวจแต่ละชนิด เพื่อประโยชน์อันสูงสุดต่อผู้ป่วย

               หน่วยที่สอง ของภาควิชารังสีวิทยา แพทย์ประจำบ้านจะได้มีพื้นฐานของการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เนื่องจากวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการใช้สารไอโซโทป ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่าง ๆ โดยมีข้อเด่นที่สามารถให้ข้อมูลด้านสรีระวิทยาของอวัยวะนั้น ๆ  การให้บริการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในประเทศไทยมีจำกัด และแพทย์ส่วนใหญ่ในประเทศยังรู้จักการใช้บริการจากวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ น้อย อย่างไรก็ตาม หากรังสีแพทย์สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนจากหลักสูตรไปใช้ในการตรวจและรักษา ผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง ความรู้ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในวงการแพทย์ไทยจะค่อยๆ พัฒนาขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้นในอนาคต

               ส่วนหน่วยรังสีรักษานั้น ภาควิชาต้องการให้แพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยา ได้รู้จักลักษณะของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ที่พบบ่อยในประเทศไทยได้รู้เข้าใจวิธีการรักษามะเร็งเหล่านี้ รู้จักหลักการใช้รังสีในการรักษาโรคมะเร็งที่พบบ่อย  และได้พบเห็นวิธีการใช้รังสีชนิดต่าง ๆ รู้วิธีส่งต่อและตรวจติดตามผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยรังสีได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดในการรักษามะเร็ง และได้เรียนรู้สภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติ และรู้วิธีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้