ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

           หลักสูตรฯมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาฯให้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทางด้านภาพวินิจฉัยระบบประสาทตามผลลัพธ์ทางการศึกษาที่พึงประสงค์ดังนี้
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ได้รับวุฒิบัตรฯต้องมีคุณสมบัติคือ
-    มีทักษะทางวิชาชีพที่เป็นที่ไว้วางใจได้ (Entrustable professional activity, EPA) 9 ข้อ (ตารางที่1)
-    มีผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes/milestones)
ที่ชัดเจน ครอบคลุมประเด็นเจตคติ และ สมรรถนะ (competency) 6 ด้าน
        Entrustable professional activity (EPA) ทางรังสีวิทยาวินิจฉัยภาพระบบประสาท ได้กำหนดให้มี 9 ข้อ ดังตารางที่ 1 และ มีความสัมพันธ์ระหว่าง EPA และ สมรรถนะ (competency) ทั้ง 6 ด้าน ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 1 : Entrustable professional activity (EPA) อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท
 

 
EPA 1  การสื่อสารกับผู้ร่วมงานในสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ (การเขียนรายงานและการรายงานด้วยวาจา) 
Effective communication with members of the health care team (written and oral)
 
EPA 2  การเลือกโปรโตคอลและการเพิ่มประสิทธิภาพของภาพ
Protocol selection and optimization of images
EPA 3  การแปลผลภาพวินิจฉัยระบบประสาท
Interpretation of neuroimaging
EPA 4  การประยุกต์ความรู้ประสาทวิทยาศาสตร์กับรังสีวินิจฉัยระบบประสาท
Application of neuroscience in neuroradiology
EPA 5 ความสามารถในการตรวจและการทำหัตถการแบบที่ไม่มีการผ่านหรือสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย และแบบที่มีการผ่านหรือสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย (ทักษะและเจตคติในการบริบาลผู้ป่วย 2) 
Competence in invasive and non-invasive procedures
EPA 6  การเป็นที่ปรึกษาในอนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท
Consultant in neuroradiology
EPA 7  บุคลากร- มีพฤติกรรมแห่งวิชาชีพและความเป็นมืออาชีพ1
ระบบ-มีพฤติกรรมแห่งวิชาชีพและความเป็นมืออาชีพ 2
Professionalism
EPA 8 

ความปลอดภัยของผู้ป่วย 
Patient safety

EPA 9  การเรียนรู้ด้วยตนเองและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Self-directed learning – practice-based learning and improvement

 

สมรรถนะ (competency) 6 ด้านและคุณสมบัติที่พึงมีภายใต้แต่ละสมรรถนะ  ได้แก่

    1) การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
1.    ทักษะในการให้คำปรึกษาและแนะนำ (Consultation and recommendation) เกี่ยวกับการตรวจด้วยทางภาพ  การทำหัตถการ และการรักษาทางรังสีวิทยาวินิจฉัยทางระบบประสาท ในภาวะหรือโรคที่หลากหลาย ให้แก่แพทย์สาขาอื่นได้อย่างเหมาะสมกับข้อบ่งชี้ของโรค โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม พิจารณาและคำนึงถึงการมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า ความเสี่ยงและประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
2.        มีทักษะในการขอใบแสดงความยินยอม (Obtaining informed consent) ในกรณีที่ทำการตรวจด้วยทางภาพทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาทที่มีการใช้ contrastagent การทำหัตถการ และวิธีการรักษาทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาท
3.    มีทักษะในการเตรียมและดูแลผู้ป่วยที่มารับการตรวจวินิจฉัย การทำหัตถการ และวิธีการรักษาทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาทได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
4.    มีทักษะในการตรวจพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจวินิจฉัย การทำหัตถการ และวิธีการรักษาทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาท และสามารถให้การดูแลรักษาเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม

2)  ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical knowledge and procedural skill)
1.    มีความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับภาพวินิจฉัยทางระบบประสาทที่สามารถประยุกต์ใช้กับการอ่าน วิเคราะห์ และรายงานผลภาพรังสีวินิจฉัยระบบประสาท
2.    มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขารังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาท

 3) ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
1.    สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้แก่
i.    การสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาท
ii.    การขอใบแสดงความยินยอม
iii.    การสื่อสารเกี่ยวกับข้อผิดพลาด ภาวะแทรกซ้อน หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
2.     สื่อสารให้ข้อมูลโดยการรายงานผลการตรวจเป็นเอกสาร (reports) หรือด้วยวาจากับทีม
      ดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.     นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.     ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
5.    เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำทางรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาทแก่แพทย์ นิสิตนักศึกษา  
     แพทย์และบุคลากรอื่น
6.    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        4)   การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฎิบัติ (Practice - based learning and Improvement)
1.    เรียนรู้ตลอดชีวิตและเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ แล้วเกิดการพัฒนา
     แบบต่อเนื่อง
2.    ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
3.    วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้

5) ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยมรวมทั้งคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตหรือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Professionalism and continue medical education and continue professional development)
    แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมแห่งวิชาชีพที่ดีของแพทย์ดังนี้
1.    มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ
    และชุมชน
2.    มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (non-technical skills) และสามารถบริหารจัดการ
    สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม
3.    มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
     (continuing professional development)
4.    มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและมีเจตคติที่จะใช้วิชารังสีวิทยาวินิจฉัยให้เป็นประโยชน์แก่
    ประเทศ
5.    มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
6.    คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม

6) การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล่องกับระบบสุขภาพ (System-based practice)
1.    ความรู้ ด้านระบบพัฒนาคุณภาพ (quality improvement) ทางรังสีวิทยาภาพวินิจฉัย  
     ระบบประสาท ได้แก่
i.    กระบวนการในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางด้านรังสี (radiation safety) ทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากร
ii.    การรายงานอุบัติการณ์ของความเสี่ยง
iii.    กระบวนการในการกำกับดูแลและการใช้เครื่องมือและระบบสารสนเทศทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยระบบประสาท
2.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
3.    มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
4.    ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ