หลักสูตรการฝึกอบรม
เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
พันธกิจ
ผลิตแพทย์ผู้เขี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว มีสมรรถนะในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บนพื้นฐานเวชปฏิบัติแบบอิงหลักฐาน เน้นความสำคัญของสัมพันธภาพแพทย์และผู้ป่วยที่ยั่งยืน มีความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
หลักการและเหตุผล
ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีการแพทย์มีการพัฒนาขั้นสูงสุด วิชาการแพทย์แตกย่อยเป็นสาขาเฉพาะทางหลายสาขา การบริการทางการแพทย์แยกเป็นส่วนๆ ประชาชนขาดแพทย์ผู้เป็นที่ปรึกษาและช่วยดูแลการรักษาแบบเบ็ดเสร็จ แนวโน้มความต้องการแพทย์ที่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่องจึงมีจำนวนสูงขึ้น นักศึกษาแพทย์และแพทย์ใช้ทุนจำนวนมากให้ความสนใจในการเข้าศึกษาต่อหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อการให้บริการสุขภาพที่ครบวงจรและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในชุมชนที่ตนให้บริการอยู่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหนึ่งในโรงเรียนแพทย์ที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการแพทย์สาขาต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง เวชศาสตร์ครอบครัวนับเป็นวิชาเฉพาะทางสาขาใหม่ที่นับวันจะได้รับความสนใจจากสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ ซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนชาวไทยในอนาคตอันใกล้ จึงสนับสนุนให้มีการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาดังกล่าวขึ้น เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย และเพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขแบบองค์รวมให้เป็นรูปธรรม
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเปิดดำเนินการการเรียนการสอนเวชศาสตร์ครอบครัวในระดับก่อนปริญญาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จึงขานรับนโยบายและจัดทำหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวขึ้นเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ โดยจะขอเปิดดำเนินการการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป หลักสูตรดังกล่าวจะได้อ้างอิงหลักสูตรกลางของแพทยสภาว่าด้วยการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ทั้งนี้รายละเอียดหลักสูตรอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
วัตถุประสงค์ | |
เพื่อผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ | |
1. | สามารถให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และ/หรือ ทุติยภูมิแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยไม่ |
จำกัดโรคเพศ อายุและวัย | |
2. | มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเป็นผู้เชื่อมต่อความรู้ทางการแพทย์ให้เข้ากับองค์ |
ประกอบสำคัญอื่นๆ คือ สุขภาพกาย ใจ จิตวิญญาณ วัฒนธรรม เศรษฐกิจสังคม และ สิ่งแวดล้อม | |
3. | มีความรอบรู้ทางด้านงานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งานรักษาพยาบาล งานฟื้นฟูสุขภาพ และงาน |
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย | |
4. | มีทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการสุขภาพและครอบครัว ผู้ร่วมงานในวิชาชีพเดียวกันและต่าง |
สาขาวิชาชีพ เพื่อการประสานงานในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง | |
5. | มีความรู้ทันสมัย และรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีการแพทย์อย่างเหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ |
6. | มีความเข้าใจในระบบบริการสาธารณสุข และการสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการ |
บริการได้อย่างสะดวกและทั่วถึง | |
7. | สามารถดำเนินการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่หลากหลายสำหรับวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศ |
ไทย | |
8. | มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถในการแสดงความคิดเห็น และสอนผู้อื่นได้ เพื่อเป็นที่ปรึกษา |
ทางการแพทย์แก่ประชาชนผู้รับบริการสุขภาพ | |
9. | สามารถประเมินและพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง |
หลักสูตรการฝึกอบรม | |
เป็นการจัดหลักสูตรแบบผสมผสานระหว่างวิชาหลัก (เวชศาสตร์ครอบครัว) และวิชารองอื่นๆ (อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ ฯลฯ) ตลอดระยเวลา 3 ปี | |
ปีที่ 1 | |
แพทย์ประจำบ้านจะได้เรียนรู้ถึงหลักการสำคัญของเวชศาสตร์ครอบครัว โดยจะเน้นหลักการดูแลสุขภาพรายบุคคลแบบ Patient-centred medicine ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงภายใต้การควบคุมกำกับโดยอาจารย์แพทย์ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว สัปดาห์ละ 2 ครึ่งวันไปตลอดทั้งปี เพื่อฝึกการเป็นแพทย์ประจำตัวของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านสัปดาห์ละ 1 ครึ่งวันไปตลอดปีเพื่อฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ มีการประชุมวิชาการทุกเช้าและช่วงเวลาอื่นของทุกสัปดาห์ | |
ในขณะที่ฝึกอบรมที่ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหลัก ช่วงเวลาเดียวกันจะมีการจัดหว่างเวลาให้ปฏิบัติงานหมุนเวียนไปยัง 4 ภาควิชาอื่นด้วย เช่น สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ ฯลฯ เพื่อเรียนรู้แนวทางการรักษาโรคเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว | |
นอกจากนี้แพทย์ประจำบ้านจะได้ฝึกการปฏิบัติงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เพื่อฝึกการดูแลผู้ป่วยที่มาตรวจนอกเวลาและภาวะฉุกเฉินอื่นๆ ที่พบบ่อย ลักษณะการเรียนใน 4 วิชาเฉพาะทางอื่นและเวชศาสตร์ฉุกเฉินจะเป็นลักษณะ Block rotation ที่ผสมผสานกับการเรียนของเวชศาสตร์ครอบครัวที่เป็น Horizontal or longitudinal rotation | |
ปีที่ 2 | |
แพทย์ประจำบ้านจะได้ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยนอกทางเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เน้นการดูแลที่เป็น Family-oriented primary care เพิ่มขึ้นหลังจากที่มีผู้ป่วยประจำเป็นของตนเอง สัปดาห์ละ 2 ครึ่งวันไปตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงที่ฝึกปฏิบัติงานในต่างจังหวัดซึ่งจะไม่ต้องกลับมาปฏิบัติงานที่ภาควิชาฯ ช่วงเวลาที่เหลือจะเป็นการฝึกปฏิบัติทางคลินิกแบบผสมผสานกับวิชาเฉพาะทางสาขาอื่น ซึ่งได้แก่ เวชศาสตร์ฟื้นฟู นิติเวชวิทยา รังสีวิทยา หน่วยระงับปวด จิตเวชศาสตร์ โดยเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นการฝึกแบบ Longitudinal rotation ส่วน Rotation อื่นจะเป็นblock rotation | |
ปีที่ 3 | |
แพทย์ประจำบ้านจะได้เรียนรู้การเป็นผู้นำ โดยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าทีมที่ทำหน้าที่ดูแลและช่วยอาจารย์สอนแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้องและนักศึกษาแพทย์ในขณะเยี่ยมบ้าน จะได้ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยของตนอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยออกตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัวสัปดาห์ละ 3 วันครึ่งไปตลอดปี ในลักษณะของ Longitudinal rotation ยกเว้นช่วงที่ฝึกปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและช่วงElective ระยะที่เหลือจะเปิดโอกาสให้แพทย์ประจำบ้านได้เลือกที่จะเพิ่มเติมความรู้สาขาต่างๆ ตามความสนใจของตนเอง ( Free Elective) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาทางการแพทย์หรือวิชาอื่นนอกเหนือทางการแพทย์ก็ได้ อาจเป็นการศึกษาดูงานต่างสถาบัน ภายในหรือภายนอกประเทศก็ได้แล้วแต่ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อจะนำมาใช้ในเวชปฏบัติครอบครัว ระยะเวลาในการศึกษาดูงานไม่เกิน 4 เดือน และไม่ควรไปติดกันต่อเนื่องทั้ง 4 เดือน เพราะจะทำให้ขาดความต่อเนื่องกับผู้ป่วยของตนเอง สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาหลักสูตรของภาควิชาฯ ฉบับเต็ม ตาม Link นี้
*** New *** >>> มาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ปี 2565 <<< สำหรับแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมตั้งแต่ปีการฝึกอบรม 2566 เป็นต้นไป |
|
|