January 20, 2010 | |||
One great year as a palliative care fellow และความทรงจำหลังประตู 2 บาน, Toronto, Canada โดย อ.พญ.ดาริน จตุรภัทรพร (พี่เป้) 1 ปีกับประสบการณ์ที่มีความหมาย จากที่ไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำ Palliative care แบบเต็มตัวได้ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสทำงานด้านนี้ และภูมิใจที่ได้ช่วยให้คนไข้รู้สึกสบายขึ้น สาขา Palliative care ในประเทศแคนาดาเป็นสาขาต่อยอดจากสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวหลังจากจบ residency training โดยใช้เวลาเรียนได้ตั้งแต่ 3 เดือนไปจนถึง 1 ปีแล้วแต่ผู้เรียนแต่ละคนว่าต้องการความรู้และประสบการณ์มากแค่ไหน จริงๆคำเรียกว่า fellow นี่นอกจากจะหมายถึงการเรียนต่อหลังจาก resident แล้วยังหมายความว่าเรามีเงินทุนของเรามาเองด้วย เพราะถ้าเป็นหมอที่จบ residency training ที่แคนาดาแล้วมาเรียนต่อเค้าก็จะเรียกเป็น PGY3 หรือ PGY 4 แล้วแต่ว่าเรียนเป็น Post graduate มาแล้วกี่ปี สำหรับหมอต่างชาติโดยทั่วไปแล้วจะต้องสอบภาษาอังกฤษเช่น TOEFL หรือ IELTS แล้วแต่โปรแกรม แต่การมาเรียนที่แคนาดามีข้อดีคือไม่ต้องสอบข้อสอบทางการแพทย์เช่น USMLEเหมือนการไปอเมริกา ฉันเลือกที่จะเรียน 1 ปี เพราะในวันแรกที่เข้าไปทำงานในสาขา Palliative care นั้นเรียกได้ว่าแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ Symptom management ที่พอจะรู้ก็คงจะเป็นเรื่อง Breaking bad news ที่อาจารย์สายพิณเคยสอนตั้งแต่ตอนเป็นแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว อย่างไรก็ตามประสบการณ์ 1 ปีในแคนาดาสอนให้รู้ว่า คนไข้ที่เมืองไทยต้องการการ approach เรื่อง breaking bad news มากกว่าที่แคนาดาเยอะ เนื่องจากคนที่แคนาดาส่วนใหญ่จะรู้เรื่องการวินิจฉัยโรคของตัวเองดีอยู่ แล้ว และแล้วเวลาก็ผ่านไปไวเหมือนโกหก วันสุดท้ายของการทำงาน คือ 30 มิถุนายน 2551 ฉันทำงานด้วยรู้สึกโหวงๆพิกล เดินกลับไปที่โต๊ะทำงานตอนเย็น มองเห็นประตูสองบานของห้อง Albert และ Barbara แล้วความทรงจำเก่าๆใน 1 ปีก็ย้อนกลับมา
ต่อ ไปนี้เป็นการเล่าภาพรวมในการเรียนต่อ Palliative Care ในช่วงเวลา 1 ปี ส่วนรายละเอียดของแต่ละหน่วยที่ทำงาน จะขอแยกออกไปเป็นตอนๆเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะคะ มิถุนายน 2549 ไปพบ Barbara เลขาของ Albert ตั้งแต่วันจันทร์แรกที่มาถึงแคนาดา เพื่อนัดพบ Albert หรือ Dr. Albert J.Kirshen เป็นครั้งแรก ติดตาม Albert ไปเยี่ยมบ้านทุกวันพฤหัสแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้ว่าหมอที่ Temmy Latner Centre นี่ถึงจะสังกัดโรงพยาบาล Mount Sinai Hospital แต่เค้าไม่ทำงานในโรงพยาบาลกันแต่ทุกคนทำงานเยี่ยมบ้านแบบเต็มตัว เช้าจรดเย็น มีเข้า office กันก็แค่บางวันมาจัดการเรื่องเอกสารเท่านั้น ธันวาคม 2549 ฉันติดตาม Albert เยี่ยมบ้านอยู่นาน 6 เดือน พอคุ้นเคยกับระบบการดูแลผู้ป่วย Palliative care ที่นี่ว่าเค้าส่งแพทย์ออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสบายขึ้น เนื่องจากผู้ป่วย Palliative care ส่วนใหญ่ร่างกายอ่อนเพลียมาโรงพยาบาลไม่ไหว ช่วงเวลานี้เป็นช่วงการสัมภาษณ์ว่าจะได้เข้าเรียน fellow palliative care ไหม เค้าตอบรับหลังจากวันสัมภาษณ์อีก 1 เดือน ฉันโชคดีที่ตัวอยู่ที่โทรอนโตอยู่แล้วเนื่องจากมาเรียนในสาขา Acedemic Fellowship อยู่ จริงๆเมื่อ 1 ปีก่อนที่จะมาแคนาดาฉันพยายามสมัครเข้าเรียนในโปรแกรมนี้แล้ว และก็มีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เรียบร้อยแล้ว แต่ดูเหมือนว่าอาจารย์ทางแคนาดาจะฟังฉันพูดไม่เข้าใจก็เลยบอกว่ารอให้มาถึง แคนาดาแล้วค่อยมาคุยกันอีกทีแล้วกัน มิถุนายน 2550 การเรียนของที่นี่จะเริ่มปีการศึกษาที่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนของ อีกปี ฉันเริ่มวางเป้าหมายการเรียนกับ Albert อย่างเข้มข้น ซึ้งใจ Albert มาที่ช่วยแบบจริงๆจังๆ อยากให้เราได้ความรู้มากที่สุด วางแผนให้เราไปเรียนที่ต่างๆที่จะได้ประโยชน์ตามจุดประสงค์สูงสุด หลังการตั้งจุดประสงค์ที่เราอยากได้ ทุกๆ 2 เดือนฉันต้องมานั่งคุยกับ Albert ว่าฉันได้บรรลุจุดประสงค์ไปถึงไหนแล้ว Albert เป็นครูแพทย์ที่เยี่ยมยอดมาก สอนให้ฉันได้รู้ว่าการเรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นอย่างไรอย่างแท้ จริง โปรแกรมการเรียนใน 1 ปีของฉันจึงถูกจัดขึ้นตามความสนใจจริงๆ กรกฎาคม 2550 เริ่มงานเดือนแรกที่ Palliative Care Unit โรงพยาบาล Baycrest (อ่านรายละเอียดเรื่อง Palliative Care Unit ได้ในหัวข้อเรื่อง Palliative Care Unit ที่ Baycrest Hospital และ Palliative Care training in Edmonton) ขอบคุณ Dr. Buchman และ Dr. Gutman ที่ช่วยอบรมสั่งสอนจนผ่านการประเมินการทำงานในเดือนแรก (PEAP) ไปได้ด้วยดี PEAP ย่อมาจาก Pre-Entry Assessment Program ซึ่งเป็นการประเมิน fellow หลังจากทำงานมา 1 เดือนว่าสามารถสื่อสารและตรวจรักษาคนไข้ที่แคนาดาได้รู้เรื่องดีหรือไม่ บางโปรแกรมก็มีการสอบสำหรับ PEAP แต่บางโปรแกรมก็แค่ประเมินเฉยๆ สิงหาคม–พฤศจิกายน 2550 ทำงานเยี่ยมบ้านในชุมชน แบบเต็มตัวเป็นครั้งแรก พกพาอุปกรณ์เยี่ยมบ้านสารพัดเหมือนทหารจะออกรบ เป็นงานที่ท้าทายมากเนื่องจากการเดินทาง เป็น rotation ที่เหนื่อยที่สุดแต่ก็น่าประทับใจที่สุดเช่นกัน การได้ไปเจอคนไข้ในบ้านของคนไข้เอง ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องดีๆจากคนไข้มากมาย ได้เห็นวิธีการที่เค้าได้รับการดูแลจริงๆ ได้เห็นของขวัญน่าประทับใจที่ลูกหลานทำให้ ได้ดูรูปภาพเก่าๆของคนไข้และที่สำคัญที่สุดคือได้เข้าใจคนไข้มากขึ้น
ธันวาคม 2550 ไป elective ที่ San Diego Hospice เป็นองค์กรที่สุดยอด ทำทั้งงานบริการผู้ป่วยในชุมชน ผู้ป่วยใน งานสอนนักศึกษาแพทย์ resident และfellow ได้เรียนรู้ไอเดียดีๆจากที่นี่มาหลายอย่าง (อ่านเพิ่มเติมได้ในบท Good ideas from San Diego Hospice) มกราคม 2551 หนีหนาวกลับเมืองไทยไปพักผ่อน ไปสอนที่เชียงใหม่ 1 ชั่วโมง กุมภาพันธ์ 2551 อยู่ consult service กับ Dr. Jacqueline Hui ที่ โรงพยาบาลToronto Westernได้เห็นตัวอย่างดีๆของผู้หญิงเก่งที่ทำงานได้ดีทั้งงานนอกบ้านและใน บ้าน Dr. Hui สอนเรื่องความยืดหยุ่นในการทำงาน และบอกว่าอย่าเริ่มต้นงานหลายอย่างมากเกินไป อีกอย่างที่ Dr. Hui พูดไว้คือ อย่ากินข้าวกลางวันคนเดียว มื้อกลางวันเป็นมื้อมิตรภาพที่เราควรใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมงาน มีนาคม-เมษายน 2551 อยู่ Palliative Care Unit ที่ Princess Margaret Hospital (PMH) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเหมือนสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เรียนรู้เรื่องการทำงานอย่างเป็นระบบ การวางระบบ Palliative care สำหรับโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งโดยตรง อยู่ที่นี่มีทั้งดูแลผู้ป่วยแบบผู้ป่วยในและนอก ขอบคุณอาจารย์ทุกคนทั้ง Dr. Dori Seccareccia, Dr. Ebru Kaya, Dr. Subrata Barnerjee และ Dr. John Bryson พฤษภาคม 2551 บินมา elective วิชา Pediatric Palliative Care การดูแลผู้ป่วยเด็กแบบ Palliative care ที่ เมืองHalifax กับ Dr. Gerri Frager ได้เห็นวิธีดูแลผู้ป่วยแบบประณีต ใจเย็นและทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิตย์สุดท้ายบินไปประชุมเรื่อง research ที่ Trondheim, Norway มิถุนายน 2551 เริ่มต้นเดือนด้วยการสอบข้อเขียนประจำปีของ fellow แล้วทำงานเยี่ยมบ้านในชุมชนอีกครั้งแบบฉายเดี่ยว Albert บอกว่า ถึงตอนนี้ต้องพร้อมเป็น consultant เต็มตัวแล้ว ประตูห้องสองห้องยังอยู่ที่เดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่มีเรื่องราวดีๆเกิดขึ้นมากมายหลังประตูสองบานนั้น ขอบคุณ Barbara ที่ให้ใช้ห้องทำงานร่วมกัน ขอบคุณ Albert สำหรับเวลาที่มีคุณค่าในการพูดคุยกันทุกเดือนและทุกความช่วยเหลือที่ทำให้ การฝึกอบรมสาขา Palliativeผ่านไปได้ด้วยดี
|