ประสบการณ์การดูงานที่ Kameda Medical Center ประเทศญี่ปุ่น

Kameda Medical Center เป็นโรง พยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมือง Kamogawa ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆติดทะเล อยู่ในจังหวัด Chiba โดยอยู่ห่างจากโตเกียวประมาณสองชั่วโมงครึ่งโดยรถไฟธรรมดา มีประชากรประมาณ 30,000 คน โรงพยาบาลแห่งนี้จัดเป็นโรงพยาบาลที่มีความทันสมัยและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งใน ญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 350ปี โดยได้รับการบริหารและดูแลสืบทอดกันมาในหมู่พี่น้องตระกูล Kameda เรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อ 10 ปีก่อน ได้มีการปรับปรุงตึกต่างๆให้มีความทันสมัย และในปัจจุบันได้มีการนำระบบ EMR(Electronic Medical Record)มาใช้ในโรงพยาบาล คือเป็น filmless and paperless hospital
และนอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ 2548 ก็ได้ทำการเปิดตึกรักษาพยาบาลผู้ป่วยในตึกใหม่ คือตึก K-Tower ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามและทันสมัยแล้ว ยังเป็นตึกผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนในการออกแบบเป็นอย่างดีโดยยึดถือความ ต้องการของผู้ป่วยและการบริการผู้ป่วยเป็นสำคัญอีกด้วย

Health Care and Health System in Japan

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับด้านสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นคือ ประชากรในประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประชากรที่มีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวที่สุดในโลก คือ 76 ปีในผู้ชาย และ 82 ปีในผู้หญิง รวมทั้งเป็นประเทศที่มีอัตราตายของทารกแรกคลอดต่ำที่สุดในโลก อันเนื่องมาจากการประสบความสำเร็จของนโยบายด้านระบบสุขภาพของประเทศ ส่งผลให้ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ระบบประกันสุขภาพของประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย

ระบบประกันสุขภาพในประเทศญี่ปุ่นแบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ
1.Medical Insurance
2.Care Insurance

Medical Insurance:

1. National Health Insurance ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า Kokumin kenkou hoken (Kokuho) คือ ประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ของประชาชนส่วนใหญ่ทั่วไปที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลไม่มีงานทำ, เกษียณจากงาน,ชาวไร่ชาวนา หรือเจ้าของกิจการ โดยลักษณะจะเป็นระบบ co-payment คือประชาชนต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลส่วนหนึ่ง ซึ่งทั่วไปประมาณ 10-30% เช่นผู้ป่วยทั่วไปต้องจ่าย 30% สำหรับคนที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้ป่วยต้องจ่าย 10% เป็นต้น ซึ่งระบบนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจทางการแพทย์ต่าง ๆ ในช่วง acute care ในโรงพยาบาลทั้งหมด แต่จะไม่ครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

- Health Check Up
- Preventive Vaccination
- Esthetic operations
- Normal pregnancy and delivery
- Teeth correction
- Abortion or birth control operations for economical reason

สำหรับกรณีต่อไปนี้ ทางประกันสุขภาพจะพิจารณาเป็นรายๆไปว่าจะได้รับการครอบคลุมหรือไม่ ได้แก่
- Injury suffered through a fight, alcohol excess
- Intentional illness or injury
- Certain types of dental treatment

2. Employee’s Insurance

ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Shakai kenkou hoken (shakai hoken) สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้

- People who is working for medium to large companies
- People who is working for national or local government
- People who is working for private school

สำหรับ Medical insurance นี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งใด
ของรัฐหรือของเอกชน รวมทั้งสามารถระบุว่าต้องการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาใดก็ได้ ส่วนยานั้น
ในประเทศญี่ปุ่นใช้ยาที่เป็น original brand หมด ผู้ป่วยจึงจะได้รับยาที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกคน
อย่างไรก็ตาม ในประเทศญี่ปุ่น การใช้ยาจะถูกควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งบางครั้ง เหตุผลไม่ได้อ้างอิง
ตามหลัก evidence base medicine เท่าใด ยกตัวอย่างเช่น

- ในผู้ป่วยเบาหวาน แพทย์สามารถจ่ายยา Metformin ขนาด 750 mg ได้
ไม่เกิน 1 tab tid เท่านั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา แม้แพทย์จะทราบ
ว่าสามารถเพิ่มขนาดยาได้ แต่ก็ต้องเลี่ยงมาใช้ยาตัวอื่นเพิ่มเข้าไปแทน
- รัฐบาลไม่อนุญาติให้ใช้ยา Azithromycin เกินกว่า 3 วัน ไม่ว่าจะวินิจฉัยโรค
เป็นอะไรก็ตาม
- ไม่อนุญาติให้ใช้ Metronidazole รักษาโรค Pseudomembranous colitis
บางครั้งแพทย์อาจต้องเขียนการวินิจฉัยโรคเป็น Trichomonas infection (แม้
จะเป็นผู้ป่วยชายก็ตาม) เพื่อที่จะได้สั่งยาให้ผู้ป่วยได้
- รัฐบาลจะช่วยค่ายากลุ่ม Proton pump inhibitor สำหรับรักษาโรค Gastric ulcer 8 สัปดาห์

วัฒนธรรม ระบบสุขภาพ และการเชื่อมโยงกับ Primary care

การดูแลสุขภาพของคนญี่ปุ่น มีพื้นฐานดั้งเดิมมาจากศาสนา โดยศาสนาดั้งเดิมของคนญี่ปุ่นคือ ชินโต ( The ways of the gods ) ซึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าเน้นว่าบุคคลต้องใช้ชีวิตอย่างสมดุล ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี การเจ็บป่วยเกิดจากการที่วิญญาณของบุคคลนั้นได้รับการแปดเปื้อนจากพลังชั่ว ร้าย ทำให้ร่างกายไม่สมดุล ซึ่งทางชินโตเห็นว่าการเจ็บป่วยเป็นสิ่งน่ารังเกียจ คนเจ็บป่วยควรได้รับการแยกออกจากสังคม พระทางชินโตเป็นผู้มีวิญญาณอันบริสุทธิ์ จะไม่แตะต้องผู้ป่วย เพราะเกรงว่าจะทำให้เสียพลังศักดิ์สิทธิ์นี้ไป ทำให้ติดต่อกับพระเจ้าไม่ได้ ดังนั้น พิธีการส่วนใหญ่ของทางชินโต จะเกี่ยวข้องแต่กับสิ่งมงคล ความสุข สุขภาพที่แข็งแรงเป็นหลัก เช่นงานปีใหม่ แต่งงาน การได้บุตร เป็นต้น ส่วนศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาประเทศญี่ปุ่นเมื่อศตวรรษที่ 6 โดยพระจากประเทศจีน ซึ่งมุมมองของศาสนาพุทธต่อการเจ็บป่วยจะต่างจากทางชินโต กล่าวคือศาสนาพุทธจะมองว่าผู้เจ็บป่วยนั้นเป็นบุคคลน่าสงสาร ทุกข์ทรมาน สมควรได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นพระในศาสนาพุทธจะมีบทบาทในการช่วยรักษาผู้ป่วยด้วย โดยเป็นผู้นำวิธีการรักษาแบบจีนแผนโบราณเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สมุนไพรจีน การนวดกดจุดและการสัมผัสตามร่างกาย การฝังเข็ม หรือการเผาผงสมุนไพรตามจุดต่างๆของร่างกาย (ทางตะวันตกเรียก moxibustion ) ดังนั้นการแพทย์ของญี่ปุ่นจึงเป็นการผสมผสานสิ่งเหล่านี้และปรับเปลี่ยนจน เป็นแบบเฉพาะของญี่ปุ่นเองในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การแพทย์แบบจีนนั้น ญี่ปุ่นเรียกว่า Kanpo ซึ่งในญี่ปุ่นมีการปฏิบัติแตกต่างไปจากของจีนดั้งเดิม ซึ่งถ้าเป็นแบบจีนดั้งเดิมนั้น การวินิจฉัยโรคจะวินิจฉัยเป็นความผิดปกติของกลุ่มอวัยวะและตามหลักหยินหยาง เช่น วินิจฉัยว่าเป็นสภาวะไตอ่อนแอ หรือร่างกายเย็นเกินไป เช่นนี้เป็นต้น และจ่ายยาสมุนไพรให้ตามกลุ่มอาการที่วินิจฉัย ในขณะที่การปฏิบัติในญี่ปุ่น ผู้ที่ทำการรักษามักเป็นแพทย์ที่จบหลักสูตรแพทยศาสตร์ของทางตะวันตกทั่วไป แล้วมาศึกษาด้าน Kanpo โดยเฉพาะอีกที การวินิจฉัยมักจะเป็นการวินิจฉัยแบบตะวันตก แล้วใช้สมุนไพรจีนมาเป็นยาหลัก หรือเป็นยาเสริมการรักษา

ปัจจุบัน คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆโดยเฉพาะวัยรุ่น ไม่ให้ความสำคัญกับศาสนามากนัก คนส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุว่าตนเองนับถือศาสนาใด และให้ความสำคัญกับชินโตเฉพาะในด้านพิธีการในวันสำคัญเท่านั้น จึงจะเห็นได้ว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ เมื่อแรกเกิด จะไปทำพิธีที่วัดชินโต เมื่อแต่งงาน คนส่วนมากนิยมทำพิธีที่โบสถ์คริสต์ ปีใหม่นิยมไปศาลเจ้าชินโต ให้ความสำคัญกับงานคริสต์มาสและวาเลนไทน์มาก และงานศพ นิยมจัดแบบทางศาสนาพุทธ อย่างนี้เป็นต้น ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง (ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน) ความช่างเลือกของคนญี่ปุ่น ยังเห็นได้จากการที่เครื่องรางของขลังตามศาลเจ้าต่างๆก็ยังมีความ ศักดิ์สิทธิ์ในด้านต่างๆกัน เช่นบางอันสำหรับการเดินทางที่ปลอดภัย บางอันสำหรับสุขภาพแข็งแรง บางอันสำหรับชัยชนะในการแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งไม่มีอันไหนที่ใช้ได้สำหรับทุกๆโอกาสหรือโอกาสทั่วไปเลย วัฒนธรรมเหล่านี้ อาจต่อเนื่องมาในสังคมปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่าสินค้าต่างๆในประเทศญี่ปุ่น มีความหลากหลายมาก และมีความจำเพาะเจาะจงต่อการใช้การค่อนข้างมาก และถ้าจะนำมาเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ ก็จะเห็นได้ชัดว่า คนญี่ปุ่นมักเป็นคนตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลเองว่าจะไปรับการรักษาที่ใด ถ้าป่วยน้อยอาจไปที่คลินิกใกล้บ้าน หรือพบแพทย์แผนจีน ( Kanpo) ถ้าป่วยมากก็จะไปโรงพยาบาลเลย และมักจะเลือกที่จะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จำเพาะสำหรับอาการตนเองอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายระบบสุขภาพของรัฐ ที่เปิดกว้างให้ผู้ป่วยสามารถเลือกเองได้ และในปัจจุบันคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจการแพทย์แบบ Kanpo และมารับการรักษาแบบนี้ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งยาสมุนไพรตามแบบ Kanpo มักมีราคาแพง และไม่ครอบคลุมอยู่ในระบบประกันสุขภาพ

เรียบเรียง โดย อ.พญ.วัจนา ลีละพัฒนะ