แผนการฝึกอบรมสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

แผนการฝึกอบรมสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

3.1. หลักสูตรเต็มเวลา ระยะเวลา 4 ปี (โดยจะอยู่กับจิตเวชผู้ใหญ่ 1 ปี 8 เดือน และมาเรียนจิตเวชเด็กและวัยรุ่นต่ออีก 2 ปี 4 เดือน)

3.2.จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบจัดให้มีประสบการณ์ทางคลินิกใน settingที่หลากหลายและครอบคลุมลักษณะของผู้ป่วย เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจริงและต่อเนื่องในฐานะแพทย์เจ้าของไข้โดยผ่านการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยอาจารย์ จัดให้มีการฝึกอบรมโดยยึดหลักความเสมอภาค
 

การจัดประสบการณ์การปฏิบัติงานทางคลินิกของแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

เนื้อหา/ ลักษณะการปฏิบัติงาน

ระยะเวลา

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1

 

Outpatient Psychiatry

5 เดือน

Inpatient psychiatry

4 เดือน

ECT center

2 เดือน

ประสาทวิทยา (หน่วยประสาทวิทยา รพ.รามาธิบดี)

1 เดือน

เวรนอกเวลาดูแลผู้ป่วยใน

ตลอดทั้งปี

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2

 

Consultation & Liaison Psychiatry

3 เดือน

Outpatient Psychiatry

2 เดือน

ประสาทวิทยา (สถาบันประสาทฯ)

2 เดือน

Substance & Addiction (กองจิตเวชและประสาทวิทยา รพ.พระมงกุฎฯ)

1 เดือน

เวรในและนอกเวลาดูแลผู้ป่วยปรึกษาจากห้องฉุกเฉินและแผนกอื่น

ตลอดทั้งปี

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3 (จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น)

 

Consultation & Liaison Psychiatry

5 เดือน

Inpatient psychiatry

5 เดือน

กุมารเวชศาสตร์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม

1 เดือน

ประสาทวิทยาเด็ก  (หน่วยประสาทวิทยา รพ.รามาธิบดี)

1 เดือน

เวรในและนอกเวลาดูแลผู้ป่วยปรึกษาจากห้องฉุกเฉินและแผนกอื่นในตำแหน่ง second call

ตลอดทั้งปี

แพทย์ประจำบ้านปีที่ 4 (จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น)

 

ประสาทวิทยาเด็ก (หน่วยประสาทวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

1 เดือน

จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

8 เดือน

จิตเวชศาสตร์ชุมชน**

0.5 เดือน

กฎหมายและศาลเยาวชนและครอบครัว

 13 วัน

เด็กที่มีเชาว์ปัญญาบกพร่องในสถานบำบัด

3 วัน

เด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์และเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก

3 วัน

วิชาเลือกเสรี* / จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช

1 เดือน

โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

0.5 เดือน

เวรในและนอกเวลาดูแลผู้ป่วยปรึกษาจากห้องฉุกเฉินและแผนกอื่น

ตลอดทั้งปี

*ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรายบุคคลสามารถรับการฝึกอบรมในสถาบันอื่นทั้งในหรือนอกประเทศได้

** จิตเวชศาสตร์ชุมชน แพทย์ประจำบ้านสามารถไปศึกษาดูงานได้ที่สถาบันฯที่ภาควิชาฯจัดให้หรือกลับไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลต้นสังกัด พร้อมนำเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาระบบให้กับต้นสังกัด เพื่อพัฒนาไปสู่ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางระบบสุขภาพ