เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

1. เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรม
1.1 ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย)
       หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา (ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Radiation Oncology

1.2 ชื่อวุฒิบัตร ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)
      วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชารังสีรักษา และมะเร็งวิทยา (ภาษาอังกฤษ) Diploma, Thai Board of Radiation Oncology
      ชื่อย่อ
              (ภาษาไทย) วว. รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
              (ภาษาอังกฤษ) Dip. Radiation Oncology

       คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ
              (ภาษาไทย) วว. รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
              (ภาษาอังกฤษ) Diplomate, Thai Board of Radiation Oncology หรือ Dip., Thai Board of Radiation Oncology

1.3 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
      สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

2. พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/ หลักสูตร
2.1 พันธกิจ :
2.1.1 ดำเนินพันธกิจให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดังต่อไปนี้
2.1.1.1 พันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : ด้านการศึกษา จัดการศึกษาด้านการแพทย์ พยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประเทศ พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรสาขาวิชาฯ : ด้านการศึกษา ให้การศึกษา, จัดการ หรือเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรังสีรักษาและมะเร็ง วิทยาทั้งด้านทฤษฎี และ/หรือ ปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ ทั้งภายใน/ นอกสถาบันทั้งภายใน/ นอกประเทศ พร้อมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับ ผู้สนใจ
2.1.1.2 พันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : ด้านการวิจัย สร้างงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการนำไปประยุกต์ใช้ พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรของสาขาวิชาฯ : ด้านการวิจัย มุ่งพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านรังสีรักษาและ มะเร็งวิทยาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านทฤษฎีและ/หรือปฏิบัติเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้, เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รวมถึงการจัดหาบุคลากรคุณภาพ, อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรองรับการมุ่งพัฒนาดังกล่าว
2.1.1.3 พันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : ด้านบริการวิชาการ ให้ความรู้หรือคำปรึกษาทางวิชาการด้านการแพทย์ พยาบาล และวิทยาศาสตร์ สุขภาพ พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรของสาขาวิชาฯ : ด้านบริการวิชาการ เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาทั้งภายใน/นอกประเทศ เช่น งานสอน, การอภิปราย, เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เป็นต้น รวมถึงการเป็นแหล่งรับการปรึกษา, แนะนำ, ดูแลรักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิชาการฯ จากโรงพยาบาล หรือศูนย์มะเร็งต่างๆ, บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องที่สนใจ
2.1.1.4 พันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : ด้านการดูแลสุขภาพ ให้การดูแลสุขภาพ (สร้างเสริม ป้องกัน รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพ) ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการวิจัย พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตรของสาขาวิชาฯ : ด้านการดูแลสุขภาพ
2.1.1.4.1 ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเพื่อสนอง นโยบายสาธารณสุขเรื่องแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2556 – 2560 และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของกระทรวง สาธารณสุข
2.1.1.4.2 ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาที่สามารถปฏิบัติงานทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันการศึกษาหรือสถานพยาบาลทั่วไปที่ตนสังกัด โดยต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตาม มาตรฐานของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ฯ ตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน
2.1.1.4.3 เป็นแหล่งรับการปรึกษา, แนะนำ, ดูแลรักษา, ส่งต่อผู้ป่วย จากโรงพยาบาล หรือศูนย์มะเร็งต่างๆ ที่มีปัญหาในการบริหารจัดการผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
2.1.2 ดำเนินพันธกิจตามพันธกิจหลักของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ฯ (อ้างอิงเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561, ข้อ 4, พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร, ภาคผนวก1, https://www.thastro.org) โดยสรุปคือการผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความชานาญในการใช้ รังสีรักษามีความเข้าใจหลักการทางฟิสิกส์รังสี และชีววิทยารังสี สามารถเข้าใจและนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ รักษาผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งและแนวทางการรักษามะเร็งสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ และบุคลากรอื่นๆ มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วย แบบองค์รวมตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ซึ่งพันธกิจของแผนการฝึกอบรม/ หลักสูตรของสาขาวิชาฯ ได้ระบุครบถ้วนตามพันธกิจหลักของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ตามข้อ 2.1.1.1, 2.1.1.4.1 และ 2.1.1.4.2
2.1.3 ดำเนินพันธกิจตามพันธกิจของภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้านการศึกษา ซึ่งมีพันธกิจในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ รังสีแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางรังสี และบุคลากรทางรังสีทุกระดับให้มีคุณภาพสามารถแข่งขันในระดับสากลและเป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่องในระดับภูมิภาค ส่งเสริมการวิจัยในเชิงปริมาณ และคุณภาพให้สามารถใช้ผลงานวิจัยในการแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างคุ้มค่า และมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ด้าน ทั้งรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เภสัชรังสีและการป้องกันรังสี และจะธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม โดยปลูกฝังบุคลากรและนักศึกษาให้มีจริยธรรมเคารพนบนอบผู้มีอาวุโส และมีจิตสำนึกในการบริการอันเป็นวัฒนธรรมไทยจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต แพทย์ พยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทำการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ ให้บริการทางการแพทย์และทางวิชาการ รวมทั้งรณรงค์และชี้นำสังคมด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งพันธกิจของแผนการฝึกอบรม/ หลักสูตรของสาขาวิชาฯ ได้ระบุตามพันธกิจหลักของภาควิชาฯ ตามข้อ 2.1.1.1 ถึง 2.1.1.4
2.1.4 โดยสรุป พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/ หลักสูตรสาขาวิชาฯ สามารถแสดงได้ ดังนี้ 2.1.4.1 ดำเนินพันธกิจตามพันธกิจหลักของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, ราชวิทยาลัยรังสี และภาควิชารังสีวิทยา
2.1.4.2 ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเพื่อสนองนโยบายสาธารณสุขเรื่องแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2556 – 2560 และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของกระทรวงสาธารณสุข (www.nci.go.th/th/File_download/D_index/NCCP_2556-2561.pdf) (https://www.moph.go.th/index.php/sitemap) 2.1.4.3 ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาที่สามารถปฏิบัติงาน ด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในสถาบันการศึกษาหรือสถานพยาบาลทั่วไปที่ตนสังกัด โดยต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขัhนต่ำตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ฯ ตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน 2.1.4.4 ให้การศึกษาหรือเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ทั้งด้านทฤษฎี และ/หรือปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้อง ที่สนใจทั้งภายใน/ นอกสถาบัน รวมถึงจากภายนอกประเทศ
2.1.4.5 มุ่งพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านทฤษฎีและ/หรือปฏิบัติ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรองรับการมุ่งพัฒนาดังกล่าว
2.1.4.6 เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาทั้งภายใน/นอกประเทศ เช่น งานสอน, การอภิปราย, พิมพ์ผลงานทางวิชาการ เป็นต้น
2.1.4.7 เป็นแหล่งรับการปรึกษา, แนะนำ, ดูแลรักษา, ส่งต่อผู้ป่วย จากรพ.หรือศูนย์มะเร็งต่างๆ ที่มีปัญหาในการบริหารจัดการผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
2.1.4.8 เป็นแหล่งศึกษาดูงานหรือเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับที่มากกว่าความู้ขั้นพื้นฐานสำหรับ ผู้สนใจ โดยเฉพาะจุดเด่นการศึกษาดูงานด้านศูนย์รังสีศัลยกรรม

2.2 วิสัยทัศน์ :
           ผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาที่มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับชุมชน, สังคม และประเทศชาติ

2.3 หลักการและเหตุผล :
           (การพิจารณาด้านสุขภาพ ชุมชน สังคมฯ) โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2551 มีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 12.7 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งราว 7.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 13% จากสาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทย องค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) ได้จัดทำอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งของทุกประเทศทั่วโลกหรือที่เรียกว่า GLOBOCAN รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยใช้ข้อมูลจากรายงานทะเบียนมะเร็งปี พ.ศ. 2543 มาคำนวณการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้ฐานข้อมูลการเจริญเติบโตของประชากรของประเทศไทยเป็นปัจจัยหลักในการคำนวณ ทำให้ได้จำนวนผู้ป่วยใหม่ 118,601 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 53,087 ราย และเพศหญิงจำนวน 65,514 ราย จากรายงานสถิติโรคมะเร็งของประเทศไทยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ 2553 - 2555 (www.nci.go.th) มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 112,392 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 54,586 ราย และเพศหญิง จำนวน 57,806 ราย โดยมีการบันทึกจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดที่กรุงเทพมหานคร โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา 35,881 ราย ในขณะที่จำนวนแพทย์เฉพาะทางด้านสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 173 ราย ปฏิบัติงานเต็มเวลา 127 ราย, ไม่เต็มเวลา 44 ราย มีการกระจายตัวของแพทย์ในกรุงเทพฯ มากที่สุด ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ และภาคตะวันออก ตามลำดับ (ไม่รวมรพ.เอกชน) (www.thasto.org) คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 รายต่อจำนวนผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็ง 650 ราย หรือดูแลผู้ป่วยรังสีรักษา 282 รายต่อปี โดยประมาณ สำหรับสถิติโรคมะเร็งของโรงพยาบาลรามาธิบดี ในปี พ.ศ 2559 มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 3,432 ราย เป็นเพศชายจำนวน 1,544 ราย และเพศหญิงจำนวน 1,888 ราย โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งโลหิต ส่วนโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมไธรอยด์ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด (https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/cancerreport) โดยมีผู้ป่วยมาเข้ารับการบริการที่สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาจำนวน 2735 ราย โดยมีโรคมะเร็ง 5 อันดับแรกคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอดและช่องทรวงอก มะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งและเนื้องอกสมอง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (www.thasto.org) จากปัญหาโรคมะเร็งที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2556 – 2561 และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ขึ้นมา ซึ่งมีการกำหนดกรอบเวลาและทิศทางการวางแผนเพื่อพัฒนาเกณฑ์ศูนย์ความเป็นเลิศสาขามะเร็งด้านรังสีรักษาทั้งในด้านการเพิ่มสถานบริการ, จำนวนบุคลากร, การพัฒนาเครื่องมือ เพื่อให้การบริการตอบสนองอย่างสมดุลกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและเข้าถึงการักษาอย่างเสมอภาค โดยมีแผนแม่บทที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริงตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนั้น การให้บริการด้านรังสีรักษาจึงจัดเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานด้านการจัดองค์กรในระดับการพัฒนาเป็น ศูนย์ตติยภูมิโรคมะเร็งตามแผนดังกล่าว (www.nci.go.th/th/File_download/D_index/NCCP_2556-2561.pdf)(https://www.moph.go.th/index.php/sitemap) ปัจจุบัน รังสีรักษามีความสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง โดยอาจใช้เป็นการรักษาเดี่ยวหรือผสมผสานร่วมกันกับการรักษาอื่น ได้แก่ การผ่าตัด และ เคมีบำบัด และมีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี, ซอฟต์แวร์, ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือใหม่ ๆ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป เพื่อนำมาใช้วางแผนการรักษารอยโรคและผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป ภายใต้การควบคุมดูแลของบุคลากรทางการแพทย์สาขารังสีรักษา จากที่กล่าวมาทั้งหมด สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นการสนองนโยบายสาธารณสุขของประเทศต่อไปรายละเอียด : เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565