หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

ประวัติความเป็นมาของหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

เมื่อมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในปีพ.ศ. 2511 ได้มีหน่วยรังสีรักษา เกิดขึ้นด้วย   โดยมีหัวหน้าหน่วย ฯ ตามลำดับดังนี้
 

             -  ศาสตราจารย์ นายแพทย์กวี ทังสุบุตร  
             -  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โสภณ กัมพลพันธ์                                  
             -  ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงลักษณา โพชนุกูล
             -  ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์
             -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมใจ แดงประเสริฐ
             -  ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงลักษณา โพชนุกูล
            
-  ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมใจ แดงประเสริฐ 

 

                ในปัจจุบันได้จัดให้มีการบริหารงานในหน่วย ฯ เป็นในรูปแบบของพันธกิจ (ไม่มีหัวหน้าหน่วยฯ)  โดยมีผู้รับผิดชอบในแต่พันธกิจ ในส่วนของรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ยังมีหน่วยงานย่อย อีก 2  หน่วยงาน คือ

  1. หน่วยชีวรังสี  เดิมเป็นหน่วยแยกต่างหาก แต่เนื่องจากงานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องทางรังสีรักษาจึงได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยรังสีรักษา ฯ
  2. โรงเรียน ฟิสิกส์การแพทย์ เป็นโรงเรียนระดับปริญญาโท สาขา Medical Physics   สังกัดภาควิชารังสีวิทยา เนื่องจากมีการเรียนการสอนเน้นหนักทางรังสีรักษา ฯ และหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์   ซี่งเริ่มก่อตั้งขึ้นตามแผนโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2511    โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์กวี ทังสุบุตร      เพื่อขจัดความขาดแคลนนักฟิสิกส์การแพทย์ เริ่ม รับนักศึกษาในพ.ศ. 2514 เปิดสอนหลักสูตรหลังปริญญา 1 ปี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตนา พีระบูล เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฟิสิกส์การแพทย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ระยะเวลาการ ศึกษา   2 ปี   จนถึงปัจจุบันขณะนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิภา บุญกิตติเจริญ เป็น ประธานหลักสูตร ฯ จนถึงปัจจุบัน

ขอบเขตบริการ

  1. บริหาร จัดการด้านการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาปริญญาโทฟิสิกส์การแพทย์ นักศึกษารังสีเทคนิค พยาบาลเฉพาะทาง รวม ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรที่สนใจเข้ารับการเรียนการสอน และการฝึกอบรม
  2. ให้ บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ปรึกษามายังหน่วยรังสีรักษา ฯ โดยมุ่งเน้นการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งในด้านการดูแลส่งเสริม สุขภาพ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉายรังสี
  3. สนับสนุนผลงานการวิจัยที่เกิดขึ้นภายในหน่วยรังสีรักษา ฯ และผลงานภายนอกที่เกี่ยวกับหน่วยรังสีรักษาฯ เช่น การทำสารนิพนธ์ของนักศึกษารังสีเทคนิค หรือวิทยานิพนธ์นักศึกษาปริญญาโทฟิสิกส์การแพทย์เป็นต้น
  4. ให้ ความร่วมมือ ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ฉายรังสีร่วมกับการผ่าตัด (IORT) โครงการรังสีร่วมพิกัด (Radiosurgery),   การฉายรังสีทั้งตัวร่วมกับการปลูกถ่ายไขกระดูก, การจัดประชุม Tumor Conference ต่างๆ

          นอกจากนั้นทางหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ยังประกอบด้วยศูนย์รังสีศัลยกรรม (Radiosurgery Center) ให้บริการการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณที่ต้องการด้วยความแม่นยำโดย อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพจำลองสามมิติ เพื่อกำหนดตำแหน่ง ซึ่งใช้กับกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาโดยวิธีการธรรมดาได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม