คนส่วนหนึ่งคิดว่าโรคเบาหวานพบเฉพาะในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงเด็กและวัยรุ่นก็เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้าง
เบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลสูงในเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายมีการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เพียงพอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดีที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน
มี 2 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนที่เรียกว่า “บีต้าเซลล์” ถูกทำลาย เป็นผลจากกระบวนการทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเท่านั้น และมักเริ่มเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อย และเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ซึ่งปัจจุบันพบได้มากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากมักพบร่วมกับโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกิน เพราะในปัจจุบันมีเด็กที่อ้วนหรือมีภาวะโภชนาการเกินมากขึ้น
เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการรับประทานยาและบางรายต้องใช้การฉีดอินซูลินร่วมกับการปรับวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังมีเบาหวานชนิดอื่น ๆ เช่น เบาหวานที่เกิดจากการได้รับยารักษาโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดน้ำตาลสูงในเลือด อาทิ ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานชนิดที่ 1ในเด็กพบมากกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 แต่อุบัติการณ์ของเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับโรคอ้วนที่มากขึ้นนั้น เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างข้อมูลของสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพียง 4 รายที่ได้รับการวินิจฉัยในช่วงปี พ.ศ. 2533-2542 แต่ในช่วง 10 ปีต่อมา (พ.ศ. 2543-2552) มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่วินิจฉัยใหม่เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 40 ราย หรือประมาณ 10 เท่า และในช่วงเวลาอีกไม่ถึง 10 ปีต่อมา (พ.ศ. 2553-2559) มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยใหม่เพิ่มขึ้นอีกถึง 44 รายมียาในช่องหูไหลออกมาให้เช็ดทำความสะอาดเฉพาะบริเวณรอบหู
โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีความคล้ายคลึงกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ แต่ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้
อาการของโรคเบาหวานเกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลสูงในเลือด น้ำตาลจึงรั่วออกมาในปัสสาวะ พร้อมกับทให้ปัสสาวะมากเพราะน้ำตาลนำน้ำออกมาด้วย เด็กบางรายมีปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยหายไปแล้ว เมื่อร่างกายเสียน้ำมากจึงมีอาการกระหายน้ำมากผิดปกติ และถึงแม้จะมีระดับน้ำตาลสูงในเลือดแต่ร่างกายขาดอินซูลิน จึงนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย กินเก่ง หิวบ่อย แต่น้ำหนักตัวลด และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา จะทำให้เลือดเป็นกรดและมีสารคีโทนคั่ง ที่เรียกว่า ดี เค เอ (DKA, diabetic ketoacidosis) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที เด็กจะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบลึก ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้จากสารคีโทน ถ้าเป็นรุนแรงอาจหมดสติหรือโคม่าได้ อาการเหล่านี้พบได้ทั้งในเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2
แต่เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในเด็กและวัยรุ่นที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการในระยะที่เริ่มเป็นหนุ่มสาวแล้ว ประมาณร้อยละ 50-75 ของผู้ป่วยจะมีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีญาติใกล้ชิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งนอกจากความอ้วนแล้ว ผู้ป่วยเด็กเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีปื้นดำหนาที่คอ รักแร้ ขาหนีบ ซึ่งขัดถูไม่ออก บางรายอาจมีการติดเชื้อราร่วมด้วย เช่น ที่ช่องคลอด ผิวหนัง ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยสังเกตว่าเด็กน้ำหนักลด นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่มีอาการ แต่ตรวจพบจากการตรวจสุขภาพทั่วไปหรือมาปรึกษาแพทย์เรื่องอ้วนและแพทย์ทำการตรวจเลือดแล้วพบน้ำตาลสูงในเลือดนอกจากนี้ในเด็กอ้วนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีความผิดปกติของระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันเลือดสูง ไขมันสูงในเลือด นอนกรน ปวดข้อ ไขมันเกาะที่ตับประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
หลักกการรักษาผู้ป่วยเด็กเบาหวานขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ประกอบด้วย
แม้ว่าในปัจจุบัน โรคเบาหวานเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ แต่การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคการรักษา การดำเนินโรครวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและโรงเรียน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก อันจะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยและครอบครัวได้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมและพบปะผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยกันจะช่วยปรับแนวคิด ความเข้าใจในโรค และมีกำลังใจในการดูแลเบาหวานด้วยตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม