



ศ.พญ.จิตติมา มโนนัย บาร์ทเล็ทท์
หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม
เป็นสาขาวิชาชั้นนำในระดับสากล
1. การเรียนการสอน สำหรับแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม แพทย์ประจำบ้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6
2. การวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ และอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อยกระดับคุณภาพของงานวิจัยสู่ระดับสากลและมีส่วนชี้นำทางด้านสุขภาพในระดับประเทศ
3. บริการดูแลสุขภาพ ให้มีมาตรฐาน ครอบคลุมทุกด้านแบบองค์รวม และมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
4. การบริการทางวิชาการ โดยเป็นแหล่งเรียนรู้และดูงานสำหรับสถาบันอื่น หน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ ให้ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติและประชุมเชิงปฏิบัติการทางด้านการตรวจวินิจฉัยการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องยูโรพลศาสตร์ การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีผ่าตัดและไม่ผ่าตัด
มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม
สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยา การรักษาด้วยอุปกรณ์ และการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
แพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องที่ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาของอุ้งเชิงกราน ได้แก่ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยแพทย์ระบบลำไส้ใหญ่ สูตินรีแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การดูแลปัญหาของอุ้งเชิงกรานจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในหลายด้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างครบถ้วน และเป็นระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ได้แก่
สำหรับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นั้น หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะได้ริเริ่มบุกเบิกการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่มาเป็นเวลานาน และได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล หลังจากนั้นหน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และวางแผนครอบครัวประชากร ได้จัดตั้ง คลินิกดูแลสตรีที่มีปัญหาอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และกลั้นอุจจาระไม่อยู่ ในนาม คลินิกนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ ในปีพ.ศ.2544 และมีการประสานงาน ส่งต่อผู้ป่วย ปรึกษาระหว่างแผนก
ในปีพ.ศ. 2557 หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ และหน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และวางแผนครอบครัวประชากร มีความคิดริเริ่มร่วมกันที่จะจัดตั้งคลินิกที่ดูแลสตรีที่มีปัญหาด้านอุ้งเชิงกราน หรือ pelvic floor dysfunction ร่วมกันที่บริเวณห้องตรวจชั้น 2 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอน งานวิจัย การบริการทางวิชาการ และการบริการรักษาพยาบาล เป็นการยกระดับคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน และเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและลดขั้นตอนการดูแลที่ซ้ำซ้อน รวมทั้งจัดระบบเก็บข้อมูลที่ถูกต้องรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นสถาบันชั้นนำในด้านที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านอุ้งเชิงกราน
ในปี พ.ศ. 2558 แพทยสภาได้อนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม (Fellowship Training in Female Pelvic Medicine and Reconstructive Surgery) โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาเพื่อเป็นสถาบันฝึกอบรมและเพื่อพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับอนุสาขาวิชาดังกล่าวนี้ในด้านการเรียนการสอน การวิจัย วิชาการและการบริการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงมีการจัดตั้งสาขาวิชาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม (Female Pelvic Medicine and Reconstructive Surgery Division) ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2562 ตามประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี วันที่ 7 เดือนตุลาคม พ.ศ.2562
*update 30/4/2564
![]() |
![]() |