You are here

สาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด

สาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด (Maternal Fetal Medicine)

รองศาสตราจารย์นายแพทย์พัญญู พันธ์บูรณะ

     “ความรู้ในวิชาการ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ และทำให้เป็นคนที่มีเกียรติ เป็นคนที่สามารถ เป็นคนที่มีความพอใจได้ในตัวว่า ทำประโยชน์แก่ตนเองและแก่ส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้ ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม สอดคล้องกับสมัยและสอดคล้องกับศีลธรรมที่ดีงาม ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตัว และความรู้ในชีวิต ก็จะทำให้เป็นคนครบคนที่จะภูมิใจได้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๕

     พระบรมราโชวาทที่กราบอัญเชิญมานี้นับว่าสอดคล้องกับการทำงานในสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลนี้ ซึ่งนับเป็นแหล่งของการเรียนรู้ มีความก้าวหน้าและความเป็นเลิศทางวิชาการด้านมารดาและทารกในครรภ์ การให้การบริการดูแลรักษาแก่หญิงตั้งครรภ์แบบองค์รวมอย่างครบวงจร ตลอดจนการเป็นแหล่งผลิตนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์อันเปรียบเสมือนการเพาะเลี้ยงต้นกล้าให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะเติบโต เผชิญกับอุปสรรคได้อย่างไม่หวั่นไหว หล่อหลอมให้เป็นแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีจริยธรรม โดยหวังให้เป็น “คนครบคน” ดังในพระบรมราโชวาทข้างต้นเพื่อให้การดูแลมารดาและทารกในครรภ์ที่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปและนี่คือปณิธาน (determination) ของสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด รามาธิบดี 

รายนามคณาจารย์

อาจารย์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิเทพ  เชาว์วิศิษฐ  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชยดา   ตั้งชีวินศิริกุล  
อาจารย์ แพทย์หญิงวิรดา   ดุลยพัชร์  
อาจารย์ ดร. แพทย์หญิงปิยา แช่มสายทอง  
อาจารย์ นายแพทย์พันธบัตร วรินทักษะ แช่มสายทอง  

อาจารย์พิเศษ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พัญญู   พันธ์บูรณะ   
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปัทมา พรหมสนธิ  

รายนามแพทย์ Hospitalist สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด

อาจารย์ แพทย์หญิงญาณินี   วรกิจธำรงค์ชัย  
อาจารย์ แพทย์หญิงปูนำ   ภูษาอนันตกุล  
 โครงสร้างสาขาวิชาฯ

หัวหน้าสาขาวิชา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วินิต พัวประดิษฐ์ พ.ศ.  ๒๕๓๖ – ๒๔๔๐
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ เหราบัตย์ พ.ศ.  ๒๕๔๐ – ๒๕๕๐
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์รสิก รังสิปราการ พ.ศ.  ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พัญญู พันธ์บูรณะ พ.ศ.  ๒๕๕๑ – ๒๕๖๔
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สมมาตร บำรุงพืช พ.ศ.  ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชยดา   ตั้งชีวินศิริกุล พ.ศ.  ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน
อดีตคณาจารย์
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์   พ.ศ.  ๒๕๑๑ – ๒๕๓๗
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์กำแหง จาตุรจินดา พ.ศ.  ๒๕๑๑ – ๒๕๓๖
ศาสตราจารย์ คลินิก แพทย์หญิงพวงเพ็ญ ริมดุสิต พ.ศ.  ๒๕๑๓ – ๒๕๓๗ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญปรีดี ศิริวงศ์    พ.ศ.  ๒๕๑๖ – ๒๕๒๗ 
อาจารย์ นายแพทย์อธิป สรวงสมบูรณ์ พ.ศ.  ๒๕๑๙ – ๒๕๓๖ 
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ เหราบัตย์ พ.ศ.  ๒๕๒๖ – ๒๕๕๐ 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นพดล สโรบล พ.ศ.  ๒๕๓๔ – ๒๕๔๕ 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์รสิก รังสิปราการ พ.ศ.  ๒๕๓๓ – ๒๕๕๐ 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญศรี จันทร์รัชชกุล พ.ศ.  ๒๕๔๑ – ๒๕๕๕ 
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมศรี พิทักษ์กิจรณกร พ.ศ.  ๒๕๔๕ – ๒๕๕๘ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปัทมา พรหมสนธิ พ.ศ.  ๒๕๔๕ – ๒๕๕๔ 
อาจารย์ แพทย์หญิงโดมฤดี ปรีชาพรประเสริฐ พ.ศ.  ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔ 
อาจารย์ นายแพทย์วีรภัทร สมชิต พ.ศ.  ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สมมาตร    
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิรดา    

อดีตหัวหน้าหน่วยวินิจฉัยทารกในครรภ์

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเสาวคนธ์ อัจจิมากร พ.ศ.  ๒๕๑๖ – ๒๕๔๗ 
วิสัยทัศน์

"ศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ในระดับสากล"
International excellent center in maternal fetal medicine (MFM)

พันธกิจ

ด้านการศึกษา (education)

     เป็นผู้นำที่โดดเด่นในให้ศึกษาและผลิตนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านอนุสาขา ให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพความรู้ความสามารถทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์แก่ประชาชนระดับสากล To be the prominent leader to educate and generate medical students, residents, as well as fellows to meet the high potency to be the care provider of maternal and fetal health internationally

โครงงาน (project) กลยุทธดำเนินการ(strategic plan)
MFM congress จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้าน MFM
จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการการนำเสนอข้อมูลประจำเดือน การวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย ประเมินขั้นตอนของการเรียนการสอนทั้งในด้านความรู้ที่ได้ การนำไปใช้ได้จริงเพื่อนำมาปรับปรุงต่อไป
จัดประชุมสหสาขาวิชา ผสมผสานนำความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการของแต่ละสาขาวิชา เพื่อประโยชน์ในการร่วมกันดูแลหญิงตั้งครรภ์
จัดการเรียนการสอนโดยอาศัยหุ่น manikin ทางด้านสูติศาสตร์หัตถการ และอัลตราซาวด์ ประเมินนักศึกษาด้านหัตถการ ความพึงพอใจเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
จัดทำหนังสือ ตำรา ทางด้าน MFM ปรับปรุงตำราเก่าทุก 2-4 ปีและออกตำราใหม่ทางด้านMFM
Rama MFM website จัดทำ website ให้น่าใช้และสามารถให้ความรู้ทางด้าน MFM ที่ทันสมัยแก่ผู้เยี่ยมชม

ด้านบริการ (medical service)

     เป็นเลิศในด้านการให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์โดยสนับสนุนการให้พัฒนากลยุทธที่ทันสมัยในการดูแลทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ To become the leader university hospital delivering excellence of MFM health services in order to foster the development of new strategy of pregnancy care.

โครงการ (project) กลยุทธดำเนินการ (strategic plan)
Clinical practice guideline (CPG) มีการจัดทำ CPG ที่ใหม่ทันสมัยและมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในบริบทของ รพ.รามาธิบดี
Operative OB delivery check list จัดทำเพื่อให้การทำหัตถการเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนโดยมีการปรับปรุงเป็นระยะสม่ำเสมอ
Complete DS screening modalities (NT, quadruple test, combined test, integrated test and Thai NIPT) ให้การดูแลผู้รับบริการอย่างครบวงจรนับตั้งแต่การให้คำปรึกษาแนะนำ การตรวจกรอง การจำเพาะ และการดูแลการฝากครรภ์ต่อเนื่องจนถึงคลอดหรือการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์
การตรวจหาภาวะเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายด้วยเกณฑ์ IADPSG One stop service สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เน้นการดูแลหญิงตั้งครรภ์แบบเชิงรุกโดยผลการตรวจแบบ universal screening ทำให้ทราบว่าหนึ่งในสามของหญิงไทยเป็นเบาหวานโดยที่ไม่มีปัจจัยเสียง
การประเมินดูแลร่วมกันของสูติแพทย์และอายุรแพทย์ด้านเบาหวานในคลินิกเดียวกันทำให้บริการรวดเร็วและเบ็ดเสร็จในที่เดียวกัน
Electronic ANC and icloud data นับเป็นคลินิกผู้ป่วยนอกแห่งแรกของรพ.รามาธิบดีที่ดำเนินการเก็บข้อมูลเป็นในระบบดิจิทอลและสามารถส่งเก็บข้อมูลสู่ unlimited icloud เพื่อความสะดวกของคนไข้ในกรณีที่ไปรับการดูแลที่ ร.พ. อื่น
Severe obstetric hemorrhage (Placenta accreta) Multidisciplinary approach โดยใช้ high-end technology สามารถลดการเสียเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ

ด้านการวิจัย (research)

โครงการ (project) กลยุทธดำเนินการ (strategic plane)
Journal club วิเคราะห์ ประเมินงานวิจัย
MFM data bank Electronic ANC
Interdepartmental collaboration in research projects Interdepartmental conference เช่น sleep apnea in GDM
ผลงานที่น่าภาคภูมิใจ
  • การตรวจอัลตราซาวด์แบบ routine ได้เริ่มที่ ร.พ.รามาธิบดีเป็นที่แรกของประเทศไทยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ทำให้สามารถทราบอายุครรภ์และทราบทารกพิการ ครรภ์แฝด ตลอดจนความผิดปกติของมดลูก รังไข่และน้ำคร่ำ และปัจจุบันนี้อยู่ใน CPG การฝากครรภ์ของราชวิทยาลัยสูติ นรีเวชแพทย์แห่งประเทศไทยและยังได้บรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของ ส.ป.ส.ช.
  • การผลิตผ้าปูผ่าตัดคลอดโดยใช้วัสดุในประเทศในการป้องกันการติดเชื้อ HIV แก่ผู้ผ่าตัคคลอดและได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์แก่มารดาทุกอายุได้ดำเนินโดยได้รับการรับรองจาก Fetal Maternal Foundation (FMF) แห่งแรกของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย และเป็นแห่งแรกที่มีการตรวจ quadruple test และ fully integrated test ดังนั้นในขณะนี้รามาธิบดีจึงการตรวจกรองครบทุกรูปแบบสำหรับกลุ่มอาการดาวน์
  • การจัดตั้งคลินิกเบาหวานแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) เป็นการดูแลร่วมกันกับอายุรแพทย์ทางด้านเบาหวานโดยตรง และยังเป็นคลินิกแบบอย่างสำหรับการดูงานของชาวต่างประเทศและใช้เกณฑ์ใหม่ของ International Association of Diabetes and Pregnancy Study Group (IADPSG) ในการให้การวินิจฉัยภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
  • Electronic ANC เก็บข้อมูลโยงเข้าสู่ icloud อันเป็นประโยชน์สำหรับการเก็บข้อมูล (back-up data) การวิจัย ตลอดจนเพื่อความสะดวกของหญิงตั้งครรภ์ของ ร.พ. รามาธิบดีที่ต้องไปรับบริการที่สถานพยาบาลอื่นโดยไม่ต้องถือสมุดฝากครรภ์ติดตัวไปด้วย
  • การตรวจรักษาทารกในครรภ์ ทาง รพ.รามาธิบดีสามารถให้การรักษาทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้เช่นการให้เลือดทางสายสะดือ การใส่ท่อช่วยระบายน้ำในกรณีพบภาวะ bladder neck obstruction
  • นับเป็นความก้าวหน้าในการร่วมมือกันระหว่างภาควิชา (multidisciplinary approach)ในการให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะแน่น ซึ่งถือว่าเป็นครรภ์เสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องการตกเลือดที่มารดาอาจเสียงชีวิตได้ และนับวันอุบัติการณ์ของภาวะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องจากอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มอย่างมากในปัจจุบัน การทำ uterine embolization นับว่ามีประโยชน์อย่างมากสามารถลดการเสียเลือดลงได้โดยจากประสบการณ์ที่รามาธิบดีพบว่าสามารถลดการเลือดจาก ๑๐,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ มล. ลงมาเหลือน้อยกว่า ๒,๐๐๐ มล.โดยเฉลี่ย
  • Rama Transverse Compression Suture (RTCS) เป็นหัตถการที่ใช้ในการลดการตกเลือดจาก placenta previa ที่ได้ผลดีทำให้ไม่ต้องสูญเสียมดลูก  RTCS ทำครั้งแรกที่ ร.พ. รามาธิบดีในปี พ.ศ. ๒๕๕๙
  • โครงการ Thai NIPT (Noninvasive Prenatal Test) 
    Thai NIPT เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, หน่วยมนุษยศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา และศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ประสบความสำเร็จในการตรวจหา cell free fetal DNA ในเลือดมารดาครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สามารถตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำเทียบเคียงการการตรวจ invasive prenatal test เช่นการเจาะน้ำคร่ำ  Thai NIPT นี้จึงนับอีกก้าวหนึ่งที่ภาคภูมิใจในความสำเร็จของสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิดที่สามารถดำเนินการทุกอย่างครบวงจรในประเทศไทยโดยไม่ต้องส่งเลือดออกไปต่างประเทศซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญดุลการค้าแล้วยังนับเป็นความเสี่ยงที่ส่งข้อมูลทางพันธุกรรมของประเทศไทยไปต่างประเทศซึ่งบริษัทข้ามชาติเหล่านี้อาจนำข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถือว่าเป็นสมบัติของชาวไทยไปเป็นข้อมูลในการผลิตยาหรือชุดตรวจนำมาขายกลับให้กับคนไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่ไม่แสวงหาผลกำไรทำให้ราคาถูกว่าของบริษัทเอกชนอย่างมากดังนั้นเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้หญิงตั้งครรภ์ชาวไทยทั่วไปจะสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายโดยไม่ได้มีไว้เฉพาะผู้มีรายได้สูงเท่านั้น

*update 09/07/2566

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา https://www.rama.mahidol.ac.th/obgyn
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
สำนักงานโทรศัพท์ 02-201-1412 โทรสาร 02-201-1416 Email : 
obgynrama.mahidol@gmail.com