ผลงานที่ภาคภูมิใจ

ผลงานที่น่าภาคภูมิใจ
  • การตรวจอัลตราซาวด์แบบ routine ได้เริ่มที่ ร.พ.รามาธิบดีเป็นที่แรกของประเทศไทยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ทำให้สามารถทราบอายุครรภ์และทราบทารกพิการ ครรภ์แฝด ตลอดจนความผิดปกติของมดลูก รังไข่และน้ำคร่ำ และปัจจุบันนี้อยู่ใน CPG การฝากครรภ์ของราชวิทยาลัยสูติ นรีเวชแพทย์แห่งประเทศไทยและยังได้บรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์ของ ส.ป.ส.ช.
  • การผลิตผ้าปูผ่าตัดคลอดโดยใช้วัสดุในประเทศในการป้องกันการติดเชื้อ HIV แก่ผู้ผ่าตัคคลอดและได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • การตรวจกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์แก่มารดาทุกอายุได้ดำเนินโดยได้รับการรับรองจาก Fetal Maternal Foundation (FMF) แห่งแรกของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย และเป็นแห่งแรกที่มีการตรวจ quadruple test และ fully integrated test ดังนั้นในขณะนี้รามาธิบดีจึงการตรวจกรองครบทุกรูปแบบสำหรับกลุ่มอาการดาวน์
  • การจัดตั้งคลินิกเบาหวานแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) เป็นการดูแลร่วมกันกับอายุรแพทย์ทางด้านเบาหวานโดยตรง และยังเป็นคลินิกแบบอย่างสำหรับการดูงานของชาวต่างประเทศและใช้เกณฑ์ใหม่ของ International Association of Diabetes and Pregnancy Study Group (IADPSG) ในการให้การวินิจฉัยภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
  • Electronic ANC เก็บข้อมูลโยงเข้าสู่ icloud อันเป็นประโยชน์สำหรับการเก็บข้อมูล (back-up data) การวิจัย ตลอดจนเพื่อความสะดวกของหญิงตั้งครรภ์ของ ร.พ. รามาธิบดีที่ต้องไปรับบริการที่สถานพยาบาลอื่นโดยไม่ต้องถือสมุดฝากครรภ์ติดตัวไปด้วย
  • การตรวจรักษาทารกในครรภ์ ทาง รพ.รามาธิบดีสามารถให้การรักษาทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้เช่นการให้เลือดทางสายสะดือ การใส่ท่อช่วยระบายน้ำในกรณีพบภาวะ bladder neck obstruction
  • นับเป็นความก้าวหน้าในการร่วมมือกันระหว่างภาควิชา (multidisciplinary approach)ในการให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะแน่น ซึ่งถือว่าเป็นครรภ์เสี่ยงที่จะมีปัญหาเรื่องการตกเลือดที่มารดาอาจเสียงชีวิตได้ และนับวันอุบัติการณ์ของภาวะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องจากอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มอย่างมากในปัจจุบัน การทำ uterine embolization นับว่ามีประโยชน์อย่างมากสามารถลดการเสียเลือดลงได้โดยจากประสบการณ์ที่รามาธิบดีพบว่าสามารถลดการเลือดจาก ๑๐,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ มล. ลงมาเหลือน้อยกว่า ๒,๐๐๐ มล.โดยเฉลี่ย
  • Rama Transverse Compression Suture (RTCS) เป็นหัตถการที่ใช้ในการลดการตกเลือดจาก placenta previa ที่ได้ผลดีทำให้ไม่ต้องสูญเสียมดลูก  RTCS ทำครั้งแรกที่ ร.พ. รามาธิบดีในปี พ.ศ. ๒๕๕๙
  • โครงการ Thai NIPT (Noninvasive Prenatal Test) 
    Thai NIPT เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, หน่วยมนุษยศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา และศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ประสบความสำเร็จในการตรวจหา cell free fetal DNA ในเลือดมารดาครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สามารถตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำเทียบเคียงการการตรวจ invasive prenatal test เช่นการเจาะน้ำคร่ำ  Thai NIPT นี้จึงนับอีกก้าวหนึ่งที่ภาคภูมิใจในความสำเร็จของสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิดที่สามารถดำเนินการทุกอย่างครบวงจรในประเทศไทยโดยไม่ต้องส่งเลือดออกไปต่างประเทศซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญดุลการค้าแล้วยังนับเป็นความเสี่ยงที่ส่งข้อมูลทางพันธุกรรมของประเทศไทยไปต่างประเทศซึ่งบริษัทข้ามชาติเหล่านี้อาจนำข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถือว่าเป็นสมบัติของชาวไทยไปเป็นข้อมูลในการผลิตยาหรือชุดตรวจนำมาขายกลับให้กับคนไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่ไม่แสวงหาผลกำไรทำให้ราคาถูกว่าของบริษัทเอกชนอย่างมากดังนั้นเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้หญิงตั้งครรภ์ชาวไทยทั่วไปจะสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายโดยไม่ได้มีไว้เฉพาะผู้มีรายได้สูงเท่านั้น

*update 09/07/2566