Volume
ฉบับที่ 42 เดือนตุลาคม 2564
Column
Rama Exercise
Writer Name
กองบรรณาธิการ
ภาวะข้อไหล่ติด คือภาวะที่ข้อไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดมุมเคลื่อนไหวข้อไหล่ ผู้ที่มีภาวะนี้หรือเคลื่อนไหวข้อไหล่แล้วมีอาการปวด แนะนำให้บริหารไหล่โดยการฝึกเคลื่อนไหวให้สุด ยืดกล้ามเนื้อ ประคบร้อน หรือดัดโดยนักกายภาพบำบัด การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่จะช่วยลดการติดของข้อไหล่ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการเจ็บเพิ่มมากขึ้น ฉบับนี้เรามาเริ่มต้นด้วยการยืดเหยียดออกกำลังกายข้อไหล่กันก่อน
• นำแขนข้างใดข้างหนึ่งพาดผ่านหน้า แขนตรง • แขนอีกข้างงอศอกพับแขนเข้าหาลำตัว • รู้สึกตึงและทำค้างไว้ 10 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ • ทำซ้ำสลับแขนอีกข้าง |
• ยกแขนขึ้นชิดหู พับศอกไปด้านหลัง • แขนอีกข้างพับศอก หลังมือชิดติดหลัง • นำมือทั้งสองข้างมาให้ใกล้กัน เท่าที่ทำได้ • รู้สึกตึงและทำค้างไว้ 10 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ • ทำซ้ำสลับแขนอีกข้าง |
• หลังตรงมือประสานกันด้านหลัง • ยืดอกขึ้น บีบสะบักเข้าหากัน • รู้สึกตึงและทำค้างไว้ 10 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ |
• หลังตรงมือประสานด้านหน้าหายใจเข้า • หายใจออกเหยียดแขนตรงไปด้านหน้า พร้อมโก่งสะบักเล็กน้อย • รู้สึกตึงและทำค้างไว้ 10 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ |
ขอบคุณข้อมูล : รศ. นพ.ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณศูนย์กีฬารามาธิบดี : จุฑารัตน์ จาตุรนต์พงศา, อาภาภรณ์ วัชระมูสิก, นายภัทร์ ภาคพิเศษ
ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรูปแบบ PDF