นิตยสารทุกฉบับ
รวมนิตยสาร
บทความประจำ
เลือกดูบทความจากทุกเล่ม
ค้นหาบทความ
ค้นหาจากหัวข้อ

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

Volume
ฉบับที่ 35 เดือนกุมภาพันธ์ 2563
Column
Camera Diary
Writer Name
นันทิตา จุไรทัศนีย์

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

ยังรำลึกถึงความทรงจำดีดีตั้งแต่วันแรกที่คุณได้ใช้บริการ MRT อยู่หรือเปล่าจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย Camera  Diary ฉบับนี้ เราจะพาไปชม MRT สายสีน้ำเงินที่เชื่อมต่อจากสถานีหัวลำโพง 4 สถานีใหม่ ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย  และสถานีอิสรภาพ ซึ่งค่าโดยสาร 4 สถานีนี้จะคิดค่าโดยสารตามระยะทางอยู่ที่ 16 – 70 บาท

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

สถานีแรกเริ่มต้นที่สถานีวัดมังกร ภายในสถานีให้กลิ่นอายของสถาปัตยกรรมจีน และเป็นสถานีที่มีผู้ชมเป็นจำนวนมาก จุดเด่นที่ไม่ควรพลาดในการถ่ายรูปคือท้องมังกรสีทองอร่ามที่พาดผ่านเพดานของบันได

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

ด้านบนของสถานีจะพบกับความคึกคักของผู้คนที่มาไหว้พระที่วัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ สามารถเดินเที่ยวแนวสตรีทเพื่อเก็บภาพที่มีสีสัน และชิมอาหารอร่อยๆ ตั้งแต่เมนูคาวที่หลากหลายและปิดท้ายด้วยเมนูหวานตลอดเส้นทางเลยทีเดียว

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

สถานีต่อมาคือ สถานีสามยอด การออกแบบทั้งภายนอกและภายใน ได้รับการออกแบบจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ต้องการให้คงความเป็นย่านวังบูรพาเอาไว้ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่กับสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส ด้วยการสร้างอาคารทางเข้าสถานีจำนวนสามหลัง โดยทั้งสามหลังได้รับการออกแบบให้มีความโอ่โถงและโปร่งโล่ง เพื่อเปิดรับลมจากภายนอกอย่างเต็มที่ บริเวณทางเข้าสถานี และผนังโดยรอบได้มีการขึ้นปูนเป็นประตูบานเฟี้ยมซึ่งเป็นรูปแบบของประตูในสมัยเก่ามาปรับใช้ ส่วนบริเวณเสาสถานีและพื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารได้มีการนำรูปทรงและลักษณะของซุ้มประตูสามยอดมาตกแต่งเพื่อสื่อถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

และภายในสถานียังได้มีการติดรูปภาพสมัยเก่าเพื่อเล่าเรื่องถึงประวัติศาสตร์และที่มาของพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการริเริ่มการก่อสร้างรถไฟในยุคแรกเริ่ม

ด้านบนของสถานีจะพบกับบรรยากาศย้อนอดีตของย่านการค้าเก่าแก่ย่านวังบูรพา และร้านอาหารยอดนิยมอย่าง ออน ล็อก หยุ่น ท่ามกลางบรรยากาศสุดคลาสสิกที่มีมานานกว่า 80 ปี

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

สถานีสนามไชย การออกแบบภายในใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

โดยสถานีนี้เป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร ด้านบนสถานีสามารถเดินไปยังมิวเซี่ยมสยาม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และปากคลองตลาดที่ไม่ไกลจากสถานีนัก

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

สถานีสุดท้ายคือสถานีอิสรภาพ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีแรกและสถานีเดียวของสายเฉลิมรัชมงคลที่มีเขตที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรี ก่อนที่จะทำให้เราตื่นเต้นไปกับการลอดอุโมงค์ใต้ดินที่ขุดลึกลงไปใต้ผิวดินของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

จุดเด่นอย่างแรกภายในสถานีคือ รูปหงส์ที่ประดับไว้ด้านในโดยได้แรงบันดาลใจมาจากวัดหงส์รัตนาราม  ราชวรวิหารที่อยู่ไม่ไกลกัน โดยสามารถเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่อยู่ภายในวัดได้อีกด้วย

ต่อจากนั้นเรายังไปเช็กอินต่อได้ที่วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของวัดแจ้ง ซึ่งงดงามด้วยสถาปัตยกรรม และตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาเลยทีเดียว

สถานีอิสรภาพจะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี อันเชื่อมโยงกับฝั่งพระนครให้ไปหาสู่กันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

จากประสบการณ์การใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินของผู้โดยสารจำนวนหลายล้านคน จวบจนวันนี้ได้ผ่านมาถึง 15 ปีแล้ว การพัฒนาเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่หยุดนิ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และหากการก่อสร้างทั้งหมดสำเร็จเรียบร้อย ผู้ใช้บริการก็จะสามารถเดินทางไปตามเส้นทางแห่งความสุข รวดเร็ว สะดวกสบาย และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้บริการในอนาคตต่อไป

เที่ยว กิน เช็คอิน ฟิน

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรูปแบบ PDF
เนื้อหาภายในฉบับที่ 35