นิตยสารทุกฉบับ
รวมนิตยสาร
บทความประจำ
เลือกดูบทความจากทุกเล่ม
ค้นหาบทความ
ค้นหาจากหัวข้อ

ยาแก้อักเสบ=ยาฆ่าเชื้อ จริงหรือ?

Volume
ฉบับที่ 23 เดือน มกราคม 2559
Column
Believe it or not
Writer Name
รศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาแก้อักเสบ=ยาฆ่าเชื้อ จริงหรือ?

ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ แก้ปวด รวมทั้้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค และไอบูโพรเฟน เป็นต้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ยาแก้อักเสบใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่ ปวดหลัง  ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ  เนื่องจากการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม การอักเสบของข้อจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือกล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก

ส่วน ยาฆ่าเชื้อ เป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เพนนิซิลิน และอะม็อกซีซิลิน ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด หรือลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง มีปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

ยาแก้อักเสบ=ยาฆ่าเชื้อ จริงหรือ?

ดังนั้น หากเรียกยาฆ่าเชื้อว่ายาแก้อักเสบจะทำให้เข้าใจผิดคิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาการอักเสบได้ทุกชนิด  หรือในทางกลับกันที่คิดว่ายาแก้อักเสบสามารถฆ่าเชื้อโรคได้  จะทำให้ใช้ยาผิดประเภทหรือรักษาผิดโรคได้

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรูปแบบ PDF
เนื้อหาภายในฉบับที่ 23