การพัฒนาอุปกรณ์ยึดตำแหน่งสำหรับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การพัฒนาอุปกรณ์ยึดตำแหน่งสำหรับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้ชัดเจน มีความแม่นยําสูง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ใช้เวลาตรวจอย่างน้อย 30  นาที ในขณะตรวจ ต้องอยู่นิ่งในท่าพิเศษของแต่ละการตรวจ ทําให้ผู้รับบริการเมื่อยล้าและอึดอัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ยึดตําแหน่งในการ ตรวจผู้ป่วยด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ นําไปดําเนินการที่ศูนย์รังสีวิทยา อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในช่วงเดือนมิถุนายน 2556      ถึงเมษายน 2558     โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ประชากรคือการดําเนินงานบริการ ตรวจ MRI แต่ละครั้ง เริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มให้บริการจนเสร็จสิ้นการดูแลรวมทั้งสิ้น  7,540    ครั้ง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรหลังการพัฒนา รุ่นละ  100  ครั้ง รวม  500   ครั้ง คัดเลือกแบบเจาะจงครอบคลุมการตรวจบริเวณศีรษะ ลําคอ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ หัวเข่า ข้อเท้า เท้า และอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า มีการปรับปรุงและพัฒนารวม 5  รุ่น ระยะเวลาในการจัดท่าตรวจและการกําทอนภาพซําต่อราย ลดจาก  40   นาที เป็น  20  นาที  10  นาที และ 0  นาที ตามลําดับ สามารถควบคุมเวลาการตรวจได้ดีขึ้น ลดการใช้เทปกาวลงปี ละมากกว่า  80 ม้วน อุปกรณ์ยึดตําแหน่งที่พัฒนาขึ้น เป็นวัสดุเหลือใช้จากหน่วยงานต่างๆ สามารถปรับขนาดให้เหมาะกับส่วนที่ตรวจ มีความสะดวก ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเก็บรักษาและการดูแล ใช้ได้กับบริเวณหรืออวัยวะทีหลากหลาย ประหยัดแรงงานเจ้าหน้าที   ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ  มีความพึงพอใจ มีต้นทุนการผลิตน้อยกว่า 500  บาท ทุกสถานบริการสามารถผลิตใช้ได้เอง

(อ่านต่อ)