ขั้นตอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีดังนี้
- ยืน หน้ากระจกปล่อยแขนสองข้างอยู่ข้างลำตัวตามสบาย (ภาพที่ 1) ตรวจดูรูปร่างและขนาดของเต้านมเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง ตรวจดูผิวหนังว่ามีลักษณะผิดปกติใดหรือไม่ ดูหัวนมว่ามีหัวนมบุ๋มหรือมีการดึงรั้งหรือไม่
(ภาพที่ 1)
2. เปลี่ยน อริยาบทโดยยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ ดูในกระจกอีกครั้ง (ภาพที่ 2) จากนั้นเท้าสะเอวยืนตรงแล้วลองก้มตัวไปข้างหน้า สังเกตเต้านมทั้ง 2 ข้างในกระจก (ภาพที่ 3)
(ภาพที่ 2) (ภาพที่ 3)
3. เริ่ม คลำเต้านมโดยยกแขนข้างเดียวกับเต้านมข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ สามารถตรวจในท่ายืน (ภาพที่ 4), นั่ง หรือนอน (ภาพที่ 5) ก็ได้ ตามความถนัด สำหรับท่านอนอาจต้องตะแคงตัวตามความเหมาะสม เพื่อให้ตรวจเต้านมได้ง่ายขึ้น บางท่านอาจชอบตรวจขณะอาบน้ำถูสบู่หรือทาโลชั่นเพราะจะทำให้ผิวหนังลื่นสะดวก ในการตรวจ
(ภาพที่ 4) |
(ภาพที่ 5) |
- ใช้ นิ้วชี้, นิ้วกลางและนิ้วนางคลำโดยใช้แรงกดที่เหมาะสม ไม่เบาเกินไปจนไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติและไม่ออกแรงมากเกินไปจนรู้สึก เจ็บเต้านม คลำทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ เพราะเต้านมมีส่วนที่ยื่นไปจนถึงขอบในของรักแร้ด้วย สำหรับทิศทางในการคลำ แต่ละสถาบันมีข้อปลีกย่อยต่างกัน บางที่ให้คลำตั้งแต่หัวนมวนตามเข็มนาฬิกาออกไป บางที่แนะนำให้คลำจากเต้านมส่วนนอกเข้ามาหาหัวนมเพราะเต้านมส่วนนอกนิ่ม กว่า คลำง่ายกว่า บางที่แนะนำให้คลำไล่ขึ้น-ลง แต่อย่างไรก็ตามทุกแบบมีหลักการเดียวกันคือ คลำทุกส่วนของเต้านมให้ครบถ้วน ตั้งแต่หัวนมไปจนถึงรักแร้
ความผิดปกติจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ควรพบแพทย์
- มีก้อนหรือรู้สึกว่าเต้านมบริเวณใดบริเวณหนึ่งหนากว่าปกติ
- มี การเปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น มีสีแดง ผิวย่น ผิวบุ๋มลงไปเฉพาะจุด หรือเป็นทั่ว ๆ คล้ายผิวส้ม มีอาการปวดบวมแดงร้อน
- มี ความผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมบุ๋มที่เกิดขึ้นใหม่ (ไม่ใช่เป็นตั้งแต่สาวๆ) มีสิ่งผิดปกติไหลออกจากหัวนม เช่น เลือด น้ำปนเลือด น้ำใส น้ำสีเหลือง เป็นต้น