ความเป็นมา

อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

 
 
     ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์     ได้ก่อสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นมหากุศลในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 โดยข้าราชการและเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้นามอาคารนี้ว่า “อาคารสิริกิติ์”และรับโครงการนี้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์    

         ด้วยพระบารมีล้นเกล้าฯ พสกนิกรชาวไทยจึงจะได้มีโอกาสใช้อาคารสิริกิติ์ ซึ่งจะเป็นศูนย์การแพทย์ฯ ที่ทันสมัยที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน และเป็นศูนย์กลางการกระจายและถ่ายทอดอบรมวิทยาการก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเซีย ตลอดจนเป็นศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข

 
        อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ เป็นอาคาร 9 ชั้น มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 20,000 ตารางเมตร สร้างในสมัยศาสตราจารย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2532 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมนาชินินาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2533 เวลา 17.29 น. สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินินาถ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2539 เวลา 17.00 น.
 

ความสำคัญของศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

     

          ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ เป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัย ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน และเป็นศูนย์กลางการกระจาย ถ่ายทอดและอบรมวิทยาการก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนเป็นศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เจริญก้าวหน้า มีห้องผ่าตัดโรคซับซ้อนที่ชั้น 4 ซึ่งเชื่อมโยงโทรทัศน์วงจรปิดติดต่อมายังห้องประชุมใหญ่ สามารถถ่ายทอดสดการผ่าตัดที่สำคัญ เพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรม มีหออภิบาลผู้ป่วยหนักเพื่อรองรับผู้ป่วยเหล่านี้จำนวน 8 เตียง นอกจากจะเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยพิเศษ โดยมีหอผู้ป่วยชั้น 6,7,8,9  แล้ว ยังเป็นที่รวมการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ก้าวหน้า เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยเฉพาะทาง จำนวน 50 โครงการ และมีห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมกลาง ห้องประชุมเล็ก ที่ชั้น 5 และ ชั้น 7   สำหรับประชุมวิชาการ ซึ่งสามารถเข้าประชุมได้ถึง 500 คน โดยเปิดบริการให้เช่าจัดประชุม วิชาการภายในคณะ ฯ และโรงเรียนบริหาร

          ตลอดเวลา 42 ปีเศษ ที่คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ดำเนินการมา  นอกเหนือจากการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วย  การบริการวิชาการแก่ประชาชนโดยทั่วไป  และผลิตบัณฑิตแพทย์  พยาบาล  และบุคลากรทางการแพทย์มากมายแล้ว  ขณะเดียวกันคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดียังได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ  โดยเฉพาะ 20 ปีหลังนี้  วิวัฒนาการด้านการรักษาโรคซับซ้อนได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก  และเนื่องด้วยเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์ขึ้นสูง  ที่จำเป็นต้องพึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา  และเครื่องมือที่ทันสมัยมากจึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก  โรงพยาบาลรัฐจึงเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชน  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในฐานะโรงเรียนแพทย์  และโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการสร้างสุขภาพที่ดีในกันประชาชน  และเนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมารชินีนาถมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา  ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อวงการแพทย์และพสกนิกรชาวไทย

 
    ในวาระของคณะบดี  ศ.นพ.รัชตะ  รัชตะนาวิน  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับปริมาณผู้ป่วยที่มีจำนวนสูงขึ้นและขยายเป็น  Ramathibodi Medicel Complex  (  RMC )  ประกอบด้วยอาคารหลักศูนย์การแพทย์สิริกิติ์  และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์  คณะกรรมการประจำคณะฯซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการบริการโดยจำแนกตามประเภทของการรักษาพยาบาล  ( Segmentation )  จึงได้วางแผนปรับปรุงและพัฒนาศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ที่ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยมากว่า 19 ปี  ให้เป็น  Excellent Center  โดยมีความเป็นเลิศในการรักษาโรคหัวใจและการปลูกถ่ายอวัยวะ  เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ  80 พรรษา  ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  ในวันที่  12 สิงหาคม  ที่จะบรรจบมาอีกวาระหนึ่ง