ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid OR) |
ห้องผ่าตัดไฮบริด เป็นพัฒนาการก้าวใหม่ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในด้านการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดที่ ต้องใช้การผ่าตัดเป็นหลัก โดยใช้เทคโนโลยีภาพทางรังสีชั้นสูง ติดตั้งในห้องผ่าตัดเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในด้านการผ่าตัดรอง รับผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่ตัดรักษา โรคซับซ้อน |
ห้องผ่าตัดไฮบริดของศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เพื่อการทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นระบบเช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ อายุรแพทย์หัวใจ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค |
ภายในห้องผ่าตัดมีเครื่องมือผ่าตัดที่ทัน สมัย เครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือด ที่ให้ภาพคมชัดสามารถบอกขนาดและตำแหน่งของหลอดเลือดรวมทั้งพยาธิสภาพ เพื่อช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำยิ่งขึ้น โดยเตียงผ่าตัดในห้องออกแบบให้รังสีทะลุผ่านได้ทุกทิศทางของผู้ป่วยและปรับ ได้หลายระดับ สามารถเคลื่อนที่สอดคล้องกับเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ได้โดยอัตโนมัติ |
นอกจากนี้ห้องผ่าตัดไฮบริดมีชุดอุปกรณ์ดมยา สลบ หัวจ่ายแก๊สทางการแพทย์ และเต้ารับปลั๊กเสียบไฟฟ้า และชุดชั้นวางเครื่องมือแพทย์ชนิดแขวนเพดาน มีโคมไฟส่องผ่าตัด รวมถึงการติดตั้งกระจกตะกั่วสำหรับการมองเห็นระหว่างห้องควบคุมและห้องปฎิ บัติการ ระบบการไหลเวียนอากาศภายในห้องสามารถลดภาวะปนเปื้อนของละอองสิ่งสกปรกต่างๆ ในอากาศทำให้ลดการติดเชื้อลง ตลอดจนผนังของห้องผ่าตัดสร้างด้วยวัสดุที่ป้องกันรังสี มีความแข็งแรง และพื้นผิวที่มีคุณลักษณะลดการเกาะติดของเชื้อโรค เพื่อเสริมความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรที่อยู่ภายในและนอกห้องผ่าตัด |
ประโยชน์ของการทำหัตถการในห้องผ่าตัดไฮบริด คือ |
1 . ช่วยให้กระบวนการในการวินิจฉัยและรักษาเกิดขึ้นได้ในครั้งเดียวกัน(one visit) ซึ่งจะลดเวลาในการดูแลรักษา ผู้ป่วย และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและกลับไปดำรงชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น ทำให้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและหอผู้ป่วยวิกฤติสั้นลง รวมทั้งลดการเสียเลือดซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น |
2. เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคที่ซับซ้อนและผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงซึ่งไม่เหมาะกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ภายใต้ รักษาและการทำหัตถการได้พร้อมๆกันของทีมสหสาขา |
3. เป็นการทำหัตถการเท่าที่จำเป็น แผลผ่าตัดเล็ก ผลลัพธ์การรักษาดี |
![]() ![]() |
ขอบเขตการให้บริการผ่าตัด |
1. โครงการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ |
2. โครงการผ่าตัดผู้ป่วยในระบะหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก |
3. การตรวจวินิจฉัยและการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด |
4. การตรวจวินิจฉัยและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชวิทยาและระบบทางเดินปัสสาวะ |
5. การตรวจวินิจฉัย การผ่าตัดและการทำหัตถการด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีวิทยาการก้าวหน้าโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง |
![]() |
![]() |
OR 001 | OR 002 |