พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้โครงการต้นแบบในการวิเคราะห์โรคในกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปผ่าน “โมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพไม่ระบุตัวตนที่ได้รับความยินยอมในการนำไปทำวิจัย” และการพัฒนาโครงการการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

"

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้โครงการต้นแบบในการวิเคราะห์โรคในกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปผ่าน “โมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพไม่ระบุตัวตนที่ได้รับความยินยอมในการนำไปทำวิจัย” และการพัฒนาโครงการการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคลของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

"

     

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดย งานสร้างเสริมสุขภาพ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภายใต้โครงการต้นแบบในการวิเคราะห์โรคในกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปผ่าน “โมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพไม่ระบุตัวตนที่ได้รับความยินยอมในการนำไปทำวิจัย” และการพัฒนาโครงการการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคลของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านช่องทางต่าง ๆ ระหว่าง บริษัท แคริว่า (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ร่วมลงนามในครั้งนี้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นพวรรณ เปียซื่อ รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ นพ.ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณสินธู ศตวิรอยะ หัวหน้าฝ่ายงานการลงทุน ธุรกิจแคริว่า คุณศิวดล มาตยากูร คุณณรงค์ชัย ลิมป์ปิยาภิรมย์ และ คุณพงส์ โฆสานันท์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารบริหาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านสุขภาพในเรื่องแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมการส่งเสริมให้มีการเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัย นักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ กับทีมพัฒนาระบบ Artificial Intelligent ของทางบริษัท ARV ไปพร้อมกัน และสร้างประโยชน์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มสุขภาพ เพื่อเป็นแพลตฟอร์มต้นแบบสำหรับใช้ในองค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนในองค์กรได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพ และสามารถประเมิน ติดตาม วางทิศทางของนโยบายด้านสุขภาพได้อย่างแม่นยำ