ข่าวสารประชาสัมพันธ์  (ดูทั้งหมด)

You are here

การเริ่มดำเนินการ R2R ควรเริ่มจากอะไร

 

การเริ่มดำเนินการ R2R ควรเริ่มจาก
  • ปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างานหรืองานประจำที่ตนเองทำและรับผิดชอบดำเนินการอยู่  
  • มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา พัฒนา ต่อยอด หรือขยายผลงานที่ทำอยู่อย่างไร 
  • ใช้กระบวนการพิสูจน์หาคำตอบของคำถามนั้นด้วยวิธีการที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ใช้สำหรับการตัดสินใจในการพัฒนาคน พัฒนางานในระบบสุขภาพ 

  • เป็นงานเสรีทางวิชาการและสามารถประยุกต์ใช้กับ งานประจำ 
  • เป็นเครื่องมือการพัฒนาคนให้รู้จักพัฒนาฐานข้อมูล   รู้จักใช้ข้อมูลและสามารถคิดเชิงระบบ 
  • ไม่ควรยึดติดรูปแบบการวิจัย แต่ควรถูกต้องตามหลักวิชาการ 
  • เป็นเครื่องมือในการเปิดพื้นที่สำหรับแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน 
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศักยภาพ ทำให้เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยรอบตัวมากขึ้น 
  • ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทั้งหมด แต่ต้อง เป็นการค้นคว้าแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบท 
  •  ควรมีผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อทำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้ 
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย และเอื้อเฟื้อกันในการทำงาน 
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยคนงานในการสร้างความรู้ และสามารถ ย้อนกลับมาช่วยงานประจำที่ทำอยู่

 

แนวทางปฏิบัติของ R2R อาจเริ่มจากคนเดียว สามารถได้ แต่จะมีพลังมากขึ้นหากร่วมกันทำเป็นทีม   แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีใจ มีภาวะผู้นำและมีคนช่วยย่อยความรู้ ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้

การทำให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กรในเรื่องการสร้างความรู้ อาจเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ  ต้องทำให้ง่าย และเกิดความเป็นมิตร เปิดช่องทางการสนับสนุนที่เป็นช่องที่คนเข้าถึงได้ง่าย
 
กระบวนการ R2R
ในการทำกิจกรรม R2R สามารถใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นเครื่องมือ
เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ด้านการวิจัย โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคด้านการวิจัย
เรียนรู้วิธีการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย หรืองานอื่นๆ
การค้นหาโจทย์วิจัยมาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหาที่มาจากการทำงานประจำของตนเองและหน่วยงาน

 

องค์ประกอบของ R2R มี 4 ส่วน

 

  1.  โจทย์วิจัย  ต้องมาจากงานประจำ เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ    
  2.  ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง 
  3.  ผลลัพธ์ของการวิจัย ต้องวัดผลที่เกิดต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ไม่ใช่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น 
  4.  การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  ผลการวิจัยต้องวนกลับไปก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อการให้บริการผู้ป่วยโดยตรง หรือต่อการจัดบริการผู้ป่วย
ผลลัพธ์ R2R
  •  คุณภาพการบริการ เช่น การดูแลผู้ป่วยมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น 
  •  คนทำงานประจำเก่งขึ้น (คิดเก่ง + สื่อสารให้คนอื่นฟังดีขึ้น) มีความสุขมากขึ้น 
  •  รายงานผลการวิจัย 
 
ความสำคัญของ R2R
  •   สนับสนุนให้เกิด Evidence based decision making  (EBD) ลดความขัดแย้งในกระบวนการตัดสินใจที่ยึดความเชื่อส่วนตัว และนำไปสู่การพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง 
  •   สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ 
  •   พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบ
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการขยาย R2R
  1.  ความเข้าใจ/ความเชื่อผิดๆ เช่น มองเรื่องการวิจัยเป็น   เรื่องยาก 
  2.  การขาดความรู้/ผู้สนับสนุนทางวิชาการที่จำเป็น 
  3.  ผู้บริหารบางหน่วยงานไม่เห็นความสำคัญ/ไม่สนับสนุน
ความคาดหวัง R2R ในอนาคต
  •  สร้างความเข้มแข็งของบุคลากร R2R : ผ่านการจัดประชุม  การประกวดและมอบรางวัล การสังเคราะห์บทเรียน 
  •  จัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ R2R 
  •  พัฒนาเป็นเครือข่าย R2P (Research to Policy)