นิตยสารทุกฉบับ
รวมนิตยสาร
บทความประจำ
เลือกดูบทความจากทุกเล่ม
ค้นหาบทความ
ค้นหาจากหัวข้อ

โดนสุนัขกัดหรือข่วน แต่สุนัขฉีดยากันพิษสุนัขบ้าแล้ว ไม่ต้องไปพบแพทย์จริงหรือ?

Volume
ฉบับที่ 48 เดือนเมษายน 2566
Column
Believe it or not
Writer Name
อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ไม่จริง

การที่สุนัขกัด หรือสัตว์อื่น ๆ ที่สามารถนำเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น แมว ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก หรือ แรคคูนกัด เราต้องประเมินความเสี่ยงหลายด้าน เริ่มตั้งแต่

  • สุนัขมีอาการอย่างไร ทำไมถึงกัด เพื่อประเมินว่า สุนัขนั้นเองมีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่
  • ลักษณะแผล ว่า แผลใหญ่มากขนาดไหน บริเวณใด มีความลึกขนาดไหน ถึงอวัยวะสำคัญ เช่น โดนกระดูกหรือข้อหรือไม่
  • มีการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า หรือวัคซีนป้องกันบาดทะยักของผู้ที่โดนกัดเองแล้วหรือไม่ ฉีดครบไหม ฉีดครั้งล่าสุดเมื่อใด

 

การดูแลเบื้องต้น

  • ล้างแผลให้สะอาดทันที ด้วยน้ำและสบู่อย่างเต็มที่ สามารถป้องกันได้เกือบร้อยละ 90
  • อาจพิจารณาล้างด้วยโพรวิโดนไอโอดีน ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้
  • นำสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล
  • ห้ามเย็บปิดแผล
  • แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรืออิมมูโนโกลบูลินหรือไม่ จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือไม่
    • หากผู้ที่ถูกกัดเคยได้วัคซีนป้องกันมาก่อนแล้ว ให้ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าวันที่โดนกัดและอีกสามวัน รวม 2 โดส
    • หากผู้ที่ถูกกัด ไม่เคยได้วัคซีนป้องกันมาก่อน
      • ✅ควรได้รับวัคซีน โดยสำหรับผู้ที่ภูมิปกติ 4 โดส ในวันที่ 0, 3, 7, 14 (คือวันแรกที่โดนกัดนับเป็น วันที่ 0)  ในขณะที่คนที่ภูมิคุ้มกันต่ำต้องได้เพิ่มเป็น 5 โดส เป็นวันที่ 28 เพิ่มเติม
      • ✅ควรได้รับอิมมูโนโกลบูลิน
    • สำหรับความจำเป็นของการฉีดยาป้องกันบาดทะยัก ขึ้นกับว่าได้รับครบมาก่อนหรือไม่ และโดสสุดท้ายฉีดนานหรือยัง ซึ่งรายละเอียดจะนำเสนอในครั้งถัดไป
  • ประเมินสัตว์เบื้องต้น
  • สุนัขหรือแมว หากไม่มีอาการในเบื้องต้น และหากเป็นไปได้ให้ขังสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน เมื่อมีอาการเมื่อไร ให้ยาป้องกันทันที
  • ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก หรือ แรคคูน ซึ่งดูอาการยาก ให้ยาป้องกันทันที
  • สัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น หนู กระต่าย กระรอก มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าน้อย ให้ปรึกษาแพทย์และนักสาธารณสุขเพื่อสังเกตอาการและประเมินเป็นราย ๆ  ไป
Question: การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อป้องกันก่อนที่จะสัมผัสเชื้อ หรือที่เรียกว่า pre-exposure prophylaxis (PrEP) สามารถป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน
Question: การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อป้องกันก่อนที่จะสัมผัสเชื้อ หรือที่เรียกว่า pre-exposure prophylaxis (PrEP) สามารถป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน
Answer: ปกติผู้ที่ถูกสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด มีโอกาสเสียชีวิตได้มากเกือบทุกราย แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อน
Answer: ปกติผู้ที่ถูกสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด มีโอกาสเสียชีวิตได้มากเกือบทุกราย แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อน
เนื้อหาภายในฉบับที่ 48