Disaster/Catastrophe: สารพัดความวิบัติ โลกนี้ช่างอยู่ยาก!

Disaster/Catastrophe:  สารพัดความวิบัติ โลกนี้ช่างอยู่ยาก!
Volume: 
ฉบับที่ 48 เดือนเมษายน 2566
Column: 
Vocab With Rama
Writer Name: 
นู๋โน โกอินเตอร์ นู๋นัน สะพายกล้อง

 

    สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่าน @Rama ทุกท่าน กับคลื่นความร้อน (Heatwave: /ˈhiːtweɪv/) ที่โจมตีสยามประเทศอย่างต่อเนื่อง จนชวนให้ผู้เขียน (และแน่นอนว่าตัวคุณผู้อ่านก็ด้วยเช่นกัน) รู้สึกเหมือนโลกกำลังเข้าใกล้หายนะ (Catastrophe: /kəˈtæstrəfi/) วันสิ้นโลก (Apocalypse: /əˈpɒkəlɪps/) เข้าไปทุกที (นี่พิมพ์ไป ก็เหงื่อแตกไป) ไหนจะภาวะโลกร้อน (Global warming: /ˌɡləʊbl ˈwɔːmɪŋ/) ไหนจะภัยธรรมชาติ (Natural disaster: /ˌnætʃrəl dɪˈzɑːstə(r)/) ไหนจะภัยสงคราม (War: wɔː(r)) ข้ามประเทศที่คุกคามให้คนทั้งโลกต้องอกสั่นขวัญแขวนกันไปหมด 

    ฉบับนี้เราลองมาทำความรู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ๆ กันไว้เบื้องต้นดีกว่า เผื่อช่วงนี้เดินทางไปต่างประเทศกันได้แล้ว จะได้มีคลังศัพท์ติดตัวกันไว้ ม่ะ เริ่มเลย!

    คำแรกที่อยากนำเสนอคือ ภัย หรือ Hazard (/ˈhæzəd/) ซึ่งจะหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือการกระทําของมนุษย์ ที่อาจนํามาซึ่งความ สูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนทํา ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คำนี้นำไปสู่คำคุณศัพท์ Hazardous (/ˈhæzədəs/) ที่เรามักเห็นตามป้ายสัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมี วัตถุ หรือพื้นที่ที่เป็นอันตราย

    คำต่อมาที่เรามักพบบ่อย ๆ ตามสื่อต่าง ๆ คือ คำว่า ภัยพิบัติ หรือ Disaster (/dɪˈzɑːstə(r)/) ซึ่งหมายถึง การหยุดชะงักอย่างรุนแรงของการปฏิบัติหน้าที่ของชุมชนหรือสังคม อันเป็นผลมาจากการเกิดภัยทางธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์ซึ่งส่งผลต่อชีวิต ทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง เกินกว่าความสามารถของชุมชนหรือสังคมที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจะรับมือได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ 2 ประเภท ได้แก่

(1) ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ (Natural disaster: /ˌnætʃrəl dɪˈzɑːstə(r)/) ตัวอย่างเช่น
 

Earthquake (/ˈɜːθkweɪk/) หรือ Quake (/kweɪk/)
 แผ่นดินไหว
Tsunami (/tsuːˈnɑːmi/) 
คลื่นยักษ์สึนามิ
Windstorm (/ˈwɪndstɔːm/) 
วาตภัย
Cyclone (/ˈsaɪkləʊn/) 
พายุไซโคลนเกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย
Hurricane (/ˈhʌrɪkən/) 
พายุเฮอริเคน เกิดในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
Willy-Willy (/ˈwɪli/ /ˈwɪli/) 
พายุวิลลี-วิลลีเกิดในแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
Typhoon (/taɪˈfuːn/) 
พายุไต้ฝุ่นเกิดในมหาสมุทรแฟซิฟิค
Baguio 
พายุบาเกียวเกิดขึ้นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์
Tornado (/tɔːˈneɪdəʊ/) 
พายุทอร์นาโดมีแหล่งกำเนิดบนบก
Monsoon (/ˌmɒnˈsuːn/) 
มรสุม ลมประจำฤดู
Thunderstorm (/ˈθʌndəstɔːm/) 
พายุฝนฟ้าคะนอง
Flood (/flʌd/) 
น้ำท่วมอุทกภัย
Drought (/draʊt/) 
ทุพภิกขภัย / ภัยแล้ง
Volcano eruption (/vɒlˈkeɪnəʊ/ /ɪˈrʌpʃn/) 
ภูเขาไฟระเบิด
Avalanche (/ˈævəlɑːnʃ/) 
หิมะถล่ม
Blizzard (/ˈblɪzəd/) 
พายุหิมะ
Thunderbolt (/ˈθʌndəbəʊlt/) / Strike (/straɪk/) / Lightning (/ˈlaɪtnɪŋ/) 
ฟ้าผ่า
Mudslide (/ˈmʌdslaɪd/) 
โคลนถล่ม
Landslide (/ˈlændslaɪd/) 
แผ่นดินถล่ม
Forest fire (/ˈfɒrɪst/ /ˈfaɪə(r)/ ) 
ไฟป่า
Hailstorm (/ˈheɪlstɔːm/) 
พายุลูกเห็บ

    (2) ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Man-made disaster: /ˌmæn ˈmeɪd//dɪˈzɑːstə(r)/)  ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มีสาเหตุเกิดขึ้นจากมนุษย์ หรือมนุษย์มีความเกี่ยวข้องทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง อาทิ 

 

ภัยที่เกิดขึ้นอย่างจงใจ 
(Intentional disaster)
ภัยที่เกิดขึ้นอย่างไม่จงใจ 
(Unintentional disaster)
Terrorism (/ˈterərɪzəm/) การก่อการร้าย  Fire (/ˈfaɪə(r)/) Conflagration (/ˌkɒnfləˈɡreɪʃn/) ไฟไหม้
Hijack (/ˈhaɪdʒæk/) การจี้เครื่องบิน Collapse (/kəˈlæps/) ตึกถล่ม
Hostage Crisis (/ˈhɒstɪdʒ/ /ˈkraɪsɪs/)
 วิกฤตการจับตัวประกัน
Shipwreck (/ˈʃɪprek/) เรือล่ม 
War(/ wɔː(r)/) สงคราม / สงครามกลางเมือง Air Crash (/eə(r)/ /kræʃ/) เครื่องบินตก
Riot (/ˈraɪət/) การจลาจล

สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ คือ สาธารณภัยเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราและเราอาจได้รับผลกระทบโดยทางหนึ่งเมื่อใดก็ได้ เมื่อเราทุกคนมีส่วนที่สามารถทำให้ ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีมากขึ้นหรือน้อยลงได้ จึงถึงเวลาแล้ว ที่ทุกภาคส่วนของสังคมควรให้ความสำคัญกับเรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ในระดับชุมชนและประชนชนเอง จำเป็นต้องมีความเข้าใจและมีความตระหนักในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ และเมื่อประกอบกับกลไกของประเทศที่มีนโยบาย มีแนวทางการปฏิบัติและมีการประสานความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ประเทศไทยจะสามารถก้าวหน้าไปเป็นประเทศที่รู้รับ รู้ปรับ และรู้จักการฟื้นตัวจากสาธารณภัยได้อย่างยั่งยืน อย่างแน่นอน    

สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เขาแหลม-เขาชะพลู 
ต.พรหมณี จ.นครนายก วันที่ 30 มีนาคม 2566
ขอบคุณภาพจาก กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพความเสียหายสงครามรัสเซีย-ยูเครน 
ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th

อ้างอิง:

- https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2556/pdm40256ss_ch2.pdf
- https://foodsan.anamai.moph.go.th/web upload/13x34cba8a8c311038000343e8ab441d5ff/filecenter/EHA%20News/14.pdf
- https://www.rcrc-resilience-southeastasia.org/wp-content/uploads/2017/03...
- https://www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58a6b30b90d96.pdf

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 48