OLDER VS. ELDER and more: การใช้ศัพท์นานาว่าด้วยเหล่าผู้ ส.ว.(สูงวัย)

OLDER VS. ELDER and more:  การใช้ศัพท์นานาว่าด้วยเหล่าผู้ ส.ว.(สูงวัย)
Volume: 
ฉบับที่ 46 เดือนตุลาคม 2565
Column: 
Vocab With Rama
Writer Name: 
นู๋โน โกอินเตอร์ นู๋นัน สะพายกล้อง

 

 

Hello!  สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน @Rama ที่รักทุกท่าน

สำหรับเดือนตุลาคม (October: ɒkˈtəʊbə(r)) มีวันสำคัญคือ วันผู้สูงอายุสากล  หรือ International Day of Older Persons (ˌɪntəˈnæʃnəl deɪ əv əʊldə (r) ˈpɜːsnz) ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี โดยองค์การสหประชาชาติ (The United Nations: ðə juˌnaɪtɪd ˈneɪʃnz)  ได้ให้ความหมายคำว่า ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในโอกาสที่เล่มนี้เราให้สำคัญกับเหล่า ส.ว. (ผู้สูงวัย) มาดูกันว่า ศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรามักสับสนในการใช้อย่าง older กับ elder ตลอดจนศัพท์ที่เกี่ยวกับความแก่ (พูดเบา ๆ ก็เจ็บอ่ะนะ) ว่าจริง ๆ แล้ว เค้าใช้กันยังไงกันแน่นะ ?

อย่างแรกสุดเลย คำที่เราคุ้นเคยกันอย่าง older (əʊldə (r)) และ elder (ˈeldə(r)) ต่างเป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ที่แปลว่า แก่กว่า/ มีอายุมากกว่า เหมือนกันแต่ใช้ขยายคำนามในกรณีที่ต่างกัน โดย old (əʊld) เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า แก่ เก่า ใช้ได้ทั้งกับคน สัตว์ และสิ่งของ สถานที่ และกรณีทั่วไปอื่น ๆ ส่วนคำ Superlative หรือ คำคุณศัพท์ขั้นกว่าของ old คือ older แปลว่า แก่กว่า ในการ “เปรียบเทียบเชิงของอายุ” ว่า อะไรมาก่อน มาหลัง ซึ่งใช้ได้ทั้งกับคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ (และกรณีทั่วไป) อย่างเช่นคำนามว่า older brother, older sister ซึ่งสื่อในบริบทที่หมายความว่าคน ๆ นั้น เกิดก่อนและแก่กว่า

ส่วนคำว่า elder เป็นคำคุณศัพท์ที่มีด้วยตัวของเค้าเอง ไม่ได้เป็น superlative ของศัพท์คำใด แปลว่าแก่กว่าในเชิงอายุ แต่จะใช้กับคนเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับสัตว์ สิ่งของ และสถานที่ได้นะคะ การใช้คำว่า elder กับคน จะมี sense ของการแสดงความเคารพปนอยู่ด้วย ยกตัวอย่าง เวลาพูดถึงพี่ชาย พี่สาว ควรใช้คำว่า elder brother และ elder sister จะให้ความรู้สึกเคารพผูกพันมากกว่า older brother และ older sister (ซึ่งจะให้ความรู้สึกสื่อถึงพี่น้องที่เกิดก่อนเท่านั้น) นอกจากนี้ elder ยังสามารถใช้เป็นคำนามได้ด้วย จะหมายถึง คนที่แก่กว่า หรือ ผู้มีอายุมากกว่าที่ได้รับความเคารพนับถือ ดังนั้น ในป้ายต่าง ๆ จึงไม่ควรใช้คำว่า elder หรือ older เดี่ยว ๆ เพราะมันอาจหมายถึงแค่ คนที่แก่กว่าในแง่ของอายุ แต่ไม่ได้หมายความสื่อถึงการเป็น “ผู้สูงอายุ” ที่เราหมายถึงเป็นคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ดังนั้น ถ้าเป็นป้ายหน้าห้องน้ำ คือ ห้องน้ำคนแก่ ใช้คำว่า For elderly people น่าจะสื่อความได้ตรงกับภาษาไทยหมายถึงห้องน้ำสำหรับคนแก่ ผู้สูงอายุมากกว่าค่ะ

ดังนั้น ในภาษาอังกฤษ คำที่หมายถึงผู้สูงอายุเป๊ะ ๆ เลย คือ elderly people (ˈeldəli ˈpiːpl) หรือ the elderly (ðə ˈeldəli) แต่ก็ใช้ศัพท์อื่น ๆ ในความหมายเดียวกันด้วย ยกตัวอย่าง senior citizens (ˈsiːniə(r) ˈsɪtɪznz) หรือ seniors (ˈsiːniə(r)z) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ยกย่องให้เกียรติมากขึ้นไปอีก (คำว่า senior ยังสามารถใช้เป็นคำนาม แปลว่า รุ่นพี่ หรือ ผู้อาวุโส หรือ ใช้เป็นคำคุณศัพท์นำหน้านามที่แปลว่า ซึ่งอาวุโสได้ อย่างศัพท์ที่เรามักจะเห็นเรียกตำแหน่งบริหารต่าง ๆ ที่มีคำว่าอาวุโสต่อท้ายว่า senior + noun เช่นคำว่า Senior Manager ผู้จัดการอาวุโส Senior Executive ผู้บริหารอาวุโส เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีศัพท์เก๋ ๆ ที่ใช้กับผู้สูงอายุอีก อย่าง retirees (rɪˌtaɪəˈrizː) ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ pensioners (ˈpenʃənə(r)z) ผู้รับเงินบำนาญ centenarian (ˌsentɪˈneəriən) คนชราที่มีอายุเกินร้อยปี หรือแม้กระทั่งคำว่า old folks (ˌəʊld fəʊks) ซึ่งเป็นภาษาลำลอง เหล่าผู้เฒ่าทั้งหลาย 

ท้ายนี้ ขอแถมศัพท์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นคำที่เรามักจะเจอในวงการแพทย์ เรามักพบคำว่า geriatrics (ˌdʒeriˈætrɪkz) ซึ่งหมายถึงสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ซึ่งคือสาขาการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและโรคของผู้สูงอายุและการดูแลทางการแพทย์และการรักษาผู้สูงอายุ (ใด ๆ คือ คำนี้ต้องใช้ในรูปพหูพจน์เติม s เท่านั้น อย่าเผลอใช้แบบเอกพจน์นะคะ จะหมายถึงคนแก่ที่ให้ความรู้สึกในเชิงเหยียดทันที) นอกจากนี้ ยังมีคำว่า Aging (สะกดแบบ American English) หรือ Ageing (สะกดแบบ British English) (ˈeɪdʒɪŋ) ซึ่งในที่นี้หมายถึงการแก่ตัว หรือมีอายุมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงความแก่ชรา แต่หมายถึงการเติบโต รวมทั้งหมดตั้งแต่เด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่จนถึงวัยชรา คือ มีอายุเพิ่มขึ้น หรือแก่ขึ้นด้วย มักนำไปเป็นส่วนคุณศัพท์ขยายนามต่าง ๆ อย่างคำที่เราคุ้น ๆ กันช่วงนี้

เป็นไงคะ เท่านี้หลาย ๆ ท่านก็น่าจะพอเข้าใจวิธีการใช้ศัพท์เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ถูกต้องเหมาะสมตามบริบทต่าง ๆ แล้วนะคะ แล้วไว้พบกันฉบับหน้าค่ะ 

อ้างอิง :

 

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 46