ธรรมะกับโรคมะเร็ง สิ่งที่ไม่ไกลแค่ใช้ใจมอง

ธรรมะกับโรคมะเร็ง สิ่งที่ไม่ไกลแค่ใช้ใจมอง
Volume: 
ฉบับที่ 18 เดือน มกราคม 2558
Column: 
Easy Living
Writer Name: 
นพ.อธิพัฒน์ อธิพงษ์อาภรณ์ แพทย์ประจําาบ้านชั้นปีที่ 3 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ธรรมะกับโรคมะเร็ง สิ่งที่ไม่ไกลแค่ใช้ใจมอง

หากกล่าวถึงโรคมะเร็ง หลายๆ ท่านอาจจะนึกถึงโรคที่รุนแรง การรักษาที่ค่อนข้างใช้เวลานาน รวมถึงผลระยะยาวที่ดูทรมาน แม้ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปไกลมาก จนการรักษามะเร็งนั้นมีโอกาสหายจากโรคได้มากกว่าสมัย ก่อนสุดท้ายก็ไม่มีใครปฏิเสธว่าคนไข้ส่วนหนึ่งไม่หาย และระหว่างทางการรักษาสภาพจิตใจก็อาจจะเป็นทุกข์ไม่ต่างกับโรคทางกาย ถ้าผู้ป่วยและครอบครัวมีภูมิคุ้มกันทางใจที่แข็งแรง จะทําให้โรคและคุณภาพชีวิตดําเนินไปได้ดีขึ้นในช่วงที่เจ็บป่วย

หลายคนที่เป็นมะเร็งคงเคยได้รับคําแนะนํามาไม่มากก็น้อยว่า “ธรรมะ” จะช่วยให้ความเจ็บป่วยทางกายทุเลาลง รวมถึงผ่อนเบาความทุกข์ทางจิตใจเวลาอ่านหนังสือก็ดูเหมือนง่ายนะครับ แต่ใครจะรู้ว่าในทางปฏิบัตินั้นยากแสนเข็ญในขณะที่ร่างกายปกติก็ว่าปฏิบัติยากแล้ว นี่ต้องปฏิบัติในขณะที่ร่างกายอ่อนแออีก นี่ถือว่ายากเป็นทวีคูณต้องอาศัยความมั่นคงทางจิตใจ หรือ “สติ” อย่างมากในช่วงที่เกิดความทุกข์อย่างหนักทั้งนี้ผมขอเล่าประสบการณ์ตรงของตัวเองเป็นตัวอย่างนะครับ

เรื่องนี้เกี่ยวกับคนใกล้ตัว คือ แม่ของผมเอง ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2553 แม่ของผม ซึ่งเป็นคนที่ดูแลตัวเองค่อนข้างดี ตรวจสุขภาพประจําาปีเสมอ โดยรวมๆ แล้วท่านไม่ได้มีความเสี่ยงใด วันหนึ่งคุณหมอตรวจพบว่าท่านมีก้อนที่เต้านม ซึ่งผลการตรวจชื้นเนื้อจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพบว่าก้อนที่ว่านั้นเป็นเนื้อร้าย แม่ผมจึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม

ในฐานะที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลรักษาคนไข้เด็กที่เป็นมะเร็งเกือบทุกวัน จนคําว่ามะเร็งดูเป็นคําาธรรมดาสามัญสําหรับแพทย์อย่างผม แต่พอโรคๆ นี้กลับมาเกิดกับคนในครอบครัวของผมเอง คําที่ธรรมดาดูเหมือนจะไม่ธรรมดาอีกต่อไป การที่แม่ผมป่วยเป็นมะเร็งถือเป็นวิกฤติที่หนักที่สุดของผมและคนในครอบครัว

                                                                                          “ธรรมะ”
                                                                                            จะช่วยให้ความเจ็บป่วยทางกายทุเลาลง
                                                                                            รวมถึงผ่อนเบาความทุกข์ทางจิตใจ 
                                                                                            เวลาอ่านหนังสือก็ดูเหมือนง่ายนะครับ  
                                                                                            แต่ใครจะรู้ว่าในทางปฏิบัตินั้นยากแสนเข็ญ

          “ความสําคัญของคนไข้ที่เจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็ง 
                ไม่ใช่แค่รักษาให้หายยังไง  
                อีกสิ่งที่สําคัญคือ... ถ้าไม่หาย 
                เราจะอยู่กับมันให้มีความสุขได้อย่างไร”

ไม่ต่างอะไรกับความรู้สึกของครอบครัวคนไข้ ผมที่พอรับรู้ว่าลูกตนเองเป็นมะเร็ง พ่อและแม่ก็แทบจะหัวใจสลาย ในช่วงนั้นทุกคนในครอบครัวผมก็รู้สึกไม่ต่างกันครับ เรามีความกังวลมาก ทั้งเศร้า ทั้งทุกข์ ไม่อยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่เรารักเลย แต่พอทุกคนตั้งสติได้ก็กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงที่ว่า “ความสําคัญของคนไข้ที่เจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็ง ไม่ใช่แค่รักษาให้หายยังไง  อีกสิ่งที่สําคัญคือ... ถ้าไม่หาย  เราจะอยู่กับมันให้มีความสุขได้อย่างไร” ผมพาคุณแม่ไปรักษาที่โรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ที่ครอบครัวของเราคิดว่าเป็นที่ที่ดีและเหมาะสมมากที่สุดในตอนนั้น

ระหว่างที่รักษาตัว คุณแม่ต้องได้รับยาเคมีบําบัด ซึ่งเป็นยาที่ทําให้ภูมิต้านทานเราต่ำลง คนไข้ที่ได้รับยาชนิดนี้จะมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและติดเชื้อได้ง่าย คุณแม่ก็เช่นกันครับ คุณแม่ได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเคมีบําบัดแต่ คุณแม่ก็ผ่านไปได้จากการดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จากแพทย์และพยาบาล ตลอดจนกําลังใจจากตัวคุณแม่เองและครอบครัว

“กําลังใจ” สําหรับคนไข้ทุกคนสําคัญมากครับ โดยเฉพาะคนไข้มะเร็ง หากคนไข้ไม่มีกําลังใจแล้ว โรคที่ว่าแย่จะแย่ลงไปอีกเท่าตัวเลยทีเดียว สําหรับคุณแม่ผม ท่านศึกษาเรื่องธรรมะมานานมากแล้วครับ ท่านพยายามปลูกฝังให้ลูกทุกคนมีความศรัทธา เชื่อในเหตุและผลของพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า ผมเห็นคุณแม่อ่านหนังสือธรรมะและไปปฏิบัติธรรมอยู่บ่อยๆ แต่ตอนผมเป็นวัยรุ่นผมไม่ค่อยได้สนใจว่าคุณแม่จะไปปฏิบัติที่วัดไหน อ่านหนังสือเรื่องอะไร เพราะผมว่ามันไกลตัว ผมคงไม่จําเป็นต้องใช้หรอกครับ

จนช่วงหนึ่งของการเรียนแพทย์ ผมได้ไปเข้าค่ายที่ “วัดเขาวง  (ถ้ำนารายณ์)”  จังหวัดสระบุรี เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ที่นั่นได้สอนให้ผมรู้จักคําว่า “มรณานุสติ” เป็นครั้งแรก  ด้วยการถ่ายทอดเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายของเจ้าอาวาสวัด  ทําให้ผมเริ่มรู้สึกว่าธรรมะไม่ได้อยู่ไกลตัวเลย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เราเป็นบุคลากรการแพทย์ การรู้และเข้าใจธรรมะยังสามารถนํามาใช้กับคนไข้เราเองได้อีกด้วย แต่ผมไม่รู้เลยว่าธรรมะที่ผมได้รับมาได้มีประโยชน์กับผมจริงๆ เมื่อถึงวันที่คนที่เรารักต้องลาจากโลกใบนี้ไป

ในวันที่ผมจบการศึกษา  ผมได้รับหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเขียนโดย “พระไพศาล วิสาโล” หนังสือที่ท่านเขียนจะใช้ภาษาที่เรียบง่าย ที่แม้แต่คนธรรมดาที่ไม่เคยอ่านหนังสือธรรมะมาก่อนก็ยังเข้าใจ หนังสือของท่านจึงเข้าไปอยู่ในใจคนอ่านได้อย่างไม่ยาก ผมจึงติดตามผลงานของท่านเรื่อยมา ท่านเป็นผู้ที่บรรยายเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีพุทธ  โดยกล่าวถึงมรณานุสติค่อนข้างละเอียดและเข้าใจได้ง่ายทําให้ผมศึกษามาเรื่อยๆ จนในช่วงที่ทํางานก็ได้ลองนําาไปปฏิบัติกับคนไข้ของตัวเองบ้าง แต่ก็ไม่คิดว่าจะได้นําาไปใช้กับคนใกล้ตัวในเวลาอีกไม่นาน

หลังจากการรักษาของคุณแม่ในช่วงแรกผ่านไปได้ด้วยดี จนกระทั่งครอบครัวเบาใจว่าโรคมะเร็งน่าจะอยู่ในระยะที่สงบ อย่างไรก็ตาม เรายังพาคุณแม่ไปตรวจอย่างสม่ำเสมอ แต่ข่าวใหม่ที่เราได้รับนั้น ทําให้ความเบาใจมลายหายสิ้นข้อมูลที่ได้รับคือจากผลอัลตราซาวด์ในช่องท้องมีก้อนที่ลักษณะคล้ายก้อนมะเร็งลุกลามไปที่ตับ หลังจากการตรวจยืนยันด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ CT scan คุณแม่จึงได้รับการรักษาโดยให้ยาเคมีบําบัดอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ยาไม่สามารถช่วยอะไรคุณแม่ได้เลย คุณแม่จึงจากไปอย่างสงบในช่วงกลางปีที่ผ่านมา หลังจากการรักษาอย่างเต็มที่ของทีมแพทย์ผู้ดูแล

ผมจําได้ว่าวันที่แม่เสียชีวิต เป็นวันที่ผมอยู่เวรและเป็นช่วงก่อนสอบประมาณ 1 สัปดาห์ ตอนนั้นผมรับเวรจากเพื่อนไปได้เพียง 2 เตียง พอเวลา 8.40 น. พ่อโทรมาบอกผมว่าแม่ได้หมดลมหายใจแล้ว ผมคุยกับพ่อประมาณ 1 นาทีบอกพ่อเกี่ยวกับการดูแลแม่หลังจากที่เสียชีวิต ด้วยหน้าที่ผมต้องเดินมารับเวรเตียงที่ 3 ต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมจําได้ว่าตอนนั้นทุกอย่างต้องเดินต่อไปข้างหน้าและ “สติ” สําคัญที่สุดทุกอย่างที่ผ่านไปได้เพราะธรรมะเลยครับ

จากบทเรียนทั้งหมดที่ผมได้รับ ผมอยากบอกว่าแท้จริงแล้วเราสามารถใช้ธรรมะกับตนเองได้ทุกเวลา ทุกลมหายใจ ช่วงแรกที่แม่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ผมและครอบครัวพยายามให้กําลังใจซึ่งกันและกัน โดยหลักธรรมที่ใช้ในตอนนั้นคือ “ไตรลักษณ์”  ซึ่งเป็นกฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อคือ 1.อนิจจัง  คือความไม่เที่ยงของทุกสิ่งบนโลก ซึ่งสุขภาพของคนหรือแม้แต่ชีวิตก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีใครรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปในวันไหน  2.ทุกขัง หมายถึง ความเป็นทุกข์ ความที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  3.อนัตตา  หมายถึงความไม่ใช่ตัวตน เราไม่สามารถควบคุมสิ่งใดให้คงอยู่ตลอดไปได้ แม้แต่ชีวิต

อีกหลักธรรมหนึ่งที่ใช้คือ “มรณานุสติ” ดังที่กล่าวไปข้างต้น  เป็นสิ่งที่ทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ควรศึกษาไว้  ไม่เพียงแต่คนป่วยหรือคนใกล้เสียชีวิต เพราะความตาย ใกล้เราแค่นิดเดียวจนเราอาจจะเตรียมตัวไม่ทันหรือไม่แม้แต่คิดจะเตรียมตัวก็เป็นได้ โดยมรณานุสตินั้น เป็นการนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ทุกลมหายใจ เพราะความตายเกิดขึ้นได้ทุกเวลา หากถ้าเราต้องการปฏิบัติมรณานุสติกรรมฐาน สามารถเริ่มทําได้ตั้งแต่ตอนตื่น ตอนทํากิจกรรมต่างๆ และตอนนอน จนสุดท้ายสามารถระลึกได้ทุกลมหายใจก็จะเป็นสิ่งที่ดี

จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่ได้เล่ามา ยังมีหลักธรรมอีกหลายอย่างที่สามารถนํามาใช้ในระหว่างทางของชีวิตทุกคน โดยเฉพาะในช่วงที่ทุกข์ไม่ว่าทุกข์จากการเจ็บป่วยหรือทุกข์จากเรื่องของจิตใจก็ตาม เวลาเรามีทุกข์เราจะเข้าใจเหตุและผลของหลักธรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่แท้จริงแล้วเราควรศึกษาธรรมะตั้งแต่เรายังไม่เจอทุกข์นะครับ เพราะเมื่อไรก็ตามที่มีทุกข์ เราอาจนําธรรมะนั้นมาใช้ไม่ทัน โดยส่วนตัวผมคิดว่าหลักธรรมทั้งสองที่กล่าวมา จะเป็นธรรมะพื้นฐานให้คนที่ป่วยหนักทุกท่านควรระลึกและปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอโดยไม่จําเป็นต้องเป็นโรคมะเร็งเท่านั้น บุคคลทั่วไปก็สามารถนําไประลึกและปฏิบัติได้

                                                                           เพราะสุดท้ายแล้ว
                                                                                            เราไม่รู้เลยว่าเราจะจากโลกนี้ไปวันไหน
                                                                                            และการเตรียมตัวให้ดีก่อนจากไป 
                                                                                            เวลาอ่านหนังสือก็ดูเหมือนง่ายนะครับ  
                                                                                            ก็เป็นสิ่งที่ดีและควรทํา ...

Column File (PDF): 
เนื้อหาภายในฉบับที่ 18