หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
(หลักสูตรภาคพิเศษ) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ)
ชื่อย่อ : ศษ.ม. (การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
บุคคลพัฒนาการเรียนรู้บนพื้นฐานการเคารพและยอมรับในความแตกต่างที่หลากหลายของแต่ละบุคคล ผ่านการลงมือปฏิบัติ กระบวนการวิจัย การทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม
หลักสูตรให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การมีเจตคติในเชิงบวกต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษแบบเรียนรวม การจัดการเรียนรู้ และบริการสนับสนุนและการช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษบนพื้นฐานของหลักวิชาการ รวมทั้งมีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การคิดวิเคราะห์ และการทำงานเป็นทีม บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้บัณฑิตสามารถนำไปใช้ในการจัดการศึกษาหรือจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาหรือองค์กรที่ทำงานได้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาที่ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
- 1. ระบุหรือแสดงถึงความเป็นนักวิชาชีพที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพครู แสดงความรับผิดชอบ และการมีเจตคติที่ดีต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
- 2. แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบเรียนรวม การจัดการเรียนรู้และบริการสนับสนุนต่างๆ โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
- 3. แสดงทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการวิพากษ์ได้ตามหลักวิชาการบนพื้นฐานของกระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบเรียนรวม หลักสูตรพิจารณาจากข้อมูลการรายงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
- 4. แสดงถึงความสามารถในการเป็นผู้นำด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักวิชาชีพอื่นๆ โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
- 5. แสดงถึงความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
- 6. แสดงถึงการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบเรียนรวม โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- 1. จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์ - อาทิตย์และวันหยุดราชการ
- 2. จัดการเรียนการสอนเสริมในวัน - เวลาราชการ ในช่วงปิดภาคเรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ/หรือระดับอาชีวศึกษา
- - ภาคการศึกษาต้น จัดการเรียนการสอน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม
- - ภาคการศึกษาปลาย จัดการเรียนการสอน ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม
- - ภาคการศึกษาฤดูร้อน จัดการเรียนการสอน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา แผน ก แบบ ก 2
- 1. สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองจากคุรุสภา ทุกสาขาวิชา
- 2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- 3. มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 4. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
- สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา แผน ข
- 1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตร ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองจากคุรุสภาทุกสาขาวิชา
- 2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
- 3. มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 3 ปี
- 4. มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- 1. นักวิชาการทางการศึกษาพิเศษ
- 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 2
- 1. ใช้เวลาในการศึกษาตามแผนการศึกษา
- 2. ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
- 3. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 4. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
- 5. ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- 6. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุมวิชาการ (Proceeding) ตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย
- แผน ข
- 1. ใช้เวลาในการศึกษาตามแผนการศึกษา
- 2. ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตรคือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต และทำสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
- 3. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 4. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย
- 5. ต้องสอบผ่านประมวลความรู้ ตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- 6. ต้องเสนอสารนิพนธ์และสอบสารนิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- 7. สารนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้