นโยบายการจัดหาเอกสารจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดดำเนินการตามพันธกิจต่างๆ โดยจะครบรอบ 40 ปี ในปี พ.ศ.2552 กิจการของคณะฯ ได้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง   บางเรื่องมีแต่คำบอกเล่าต่อกันมา ซึ่งในที่สุดจะเลือนหายไปที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมเอกสารและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับคณะฯ เป็นครั้งคราว แต่ยังไม่มีการจัดหาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง รวมทั้งการอนุรักษ์และเผยแพร่ข้อมูล

จึงมีการดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี (Ramathibodi Archives and Museum) ขึ้น ใน พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์ ให้เป็นแหล่งรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุและวัตถุพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญของคณะฯ ตั้งแต่เริ่มการวางแผนก่อตั้ง การเปิดดำเนินงาน จนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ของคณะฯ  รวมทั้งเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ   อีกทั้งสร้างแรงบันดาลในให้บุคลากรรุ่นต่อมา โดยหอจดหมายเหตุและ

พิพิธภัณฑ์รามาธิบดีมีนโยบายการจัดหาเอกสารจดหมายเหตุและวัตถุพิพิธภัณฑ์ของคณะฯ ที่มีอายุมากกว่า 25 ปี สิ้นสุดการใช้งาน มีสภาพที่ดี  ดังนี้
       1. เอกสารลายลักษณ์อักษร   ครอบคลุมเอกสารเป็นต้นฉบับที่มีเพียงฉบับเดียวเว้นแต่กรณีหาต้นฉบับไม่ได้ ทั้งนี้อนุโลมให้เป็นสำเนา ที่มีการลงนามรับรองถูกต้องโดยมีผู้รับผิดชอบในเอกสารนั้นๆ   ได้แก่ เอกสารการประชุม เอกสารส่วนบุคคล เอกสารเกี่ยวกับการบริหารงาน เอกสารงานวิจัยต้นฉบับ สิ่งพิมพ์ หนังสือรุ่น วารสาร แผ่นพับ เอกสารการเรียนการสอน หลักสูตร และปริญญาต่างๆ เอกสารการบริการ สำนวนคดี และกฤตภาค 
       2. โสตทัศนจดหมายเหตุ ครอบคลุมเอกสารประเภทต่างๆ ที่สื่อความหมายด้วยภาพหรือเสียง ได้แก่ ภาพถ่าย ฟิล์มเนกาทีฟ สไลด์ โปสเตอร์ ปฏิทิน แถบบันทึกเสียง และแถบบันทึกภาพ ฯลฯ 
       3.  แผนที่ แผนผัง ครอบคลุมเอกสารประเภทต่างๆ ที่กำหนดไว้ ได้แก่ แผนที่ แผนผัง แบบแปลน และพิมพ์เขียว ฯลฯ 
       4.  สื่อคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมเอกสารบันทึกข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ไฟล์เอกสารที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ ซีดี และธัมบ์ไดร์ฟ ฯลฯ 
       5. เป็นวัสดุที่เกี่ยวกับบุคคล/สถานที่/เหตุการณ์สำคัญ ที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์แสดงต้นกำเนิด สะท้านพัฒนาการ และการปฏิรูปในด้านการบริหาร กฎหมาย การเงิน การเรียน การสอน การวิจัย และการรักษาของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เอกสารจดหมายเหตุ หมายถึง ข้อมูลทุกรูปแบบที่หน่วยงานผลิตขึ้นใช้ในการ ปฏิบัติงาน แต่สิ้นกระแสการปฏิบัติงานแล้ว และได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าในฐานะ เป็นข้อมูลชั้นต้นที่แสดงถึงการดำเนินงานและพัฒนาการของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งมีความ สำคัญต่อประวัติศาสตร์ของประเทศ ทั้งนี้หมายรวมถึงเอกสารส่วนบุคคลที่รับมอบจาก บุคคลสำคัญหรือทายาทด้วย
ประเภทของเอกสารจดหมายเหตุแบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
     1.  เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร  (Textual Archives) คือ  เอกสารที่สื่อข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่ว่าจะเขียนด้วยมือหรือพิมพ์ด้วยวัสดุการพิมพ์  ได้แก่  จดหมาย  หนังสือโต้ตอบ  เอกสารการประชุม  สมุดบันทึก ฯลฯ
     2.  เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ  (Audio – Visual Archives)  คือ  เอกสารที่สื่อโดยภาพหรือเสียง  ได้แก่  ภาพถ่าย  ฟิล์ม  สไลด์  โปสเตอร์  แถบบันทึกเสียง  ฯลฯ
     3.  เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่  แผนผัง  (Cartographic Archives)  ได้แก่  แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ฯลฯ
     4.  เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์  (Machine – Readable Archives)  เป็นเอกสารที่บันทึกข้อมูลและค้นคืนด้วยเทคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ได้แก่  diskette, CD ฯลฯ”[2]  จะเห็นได้ว่าเอกสารจดหมายเหตุแม้จะแบ่งได้เพียง 4 ประเภท  แต่ความหลากหลายของเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ได้ถูกถ่ายทอดลงบนเอกสารเหล่านั้นไว้อย่างชัดเจน  และรายละเอียดเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า  และการวิจัยต่อไป

วัตถุพิพิธภัณฑ์ Museum Collections ประกอบด้วย       
    1. อุปกรณ์โสตทัศน์ Audio-Visual Equipments
    2. อุปกรณ์การเรียน การสอน การวิจัย Instructional materials/ Research Tools
    3. ประติมากรรม งานศิลปะ ของที่ระลึก โล่รางวัล Sculpture / Souvenir /Thophy Award
    4. วัตถุสิ่งของที่เกี่ยวกับนักศึกษา Student affairs
    5. ภาพถ่าย ภาพเขียน สไลด์ ฟิล์ม Photo Drawing Slide Film
    6. นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ Innovation Invention
    7. ของส่วนบุคคล Private Collections
    8. เครื่องเรือน เครื่องใช้ในสำนักงาน/ครัวเรือน Furniture Collections
    9. เครื่องใช้ในงานพิธีต่างๆ Ceremony Equipments

ขั้นตอนการทำงานของหน่วยหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี คือ
    1. จัดหาเอกสารจดหมายเหตุ
         1.1. เอกสารจดหมายเหตุ
         1.2. วัตถุพิพิธภัณฑ์
    2. การจัดเก็บ 
         2.1. ตรวจเช็คสภาพ
         2.2. การให้รหัสหมวดหมู่
การจัดเก็บเอกสาร แบ่งออกเป็น 11 หมวด ได้แก่ หมวดงานสารบรรณ หมวดงานการประชุม หมวดงานบุคคล หมวดการเงิน หมวดงานพัสดุ หมวดโครงการ หมวดทุน หมวดงบประมาณ หมวดคำสั่ง หมวด ประกาศ และหมวดระเบียบ-ข้อบังคับ ( ใส่รหัสของเรา RAM )
        2.3. การคัดเลือกและการประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุ
หลักเกณฑ์ในการประเมินคุณค่าเอกสารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการ พิจารณาคุณค่าของเอกสาร คือ คุณค่าด้านการบริหาร คุณค่าด้านกฎหมาย คุณค่าด้านการเงิน และคุณค่าทางประวัติศาสตร์และการศึกษาค้นคว้าวิจัย 
    3. กระบวนการอนุรักษ์ 
        3.1. การป้องกัน (Prevention) คือ วิธีการชะลอการชำรุดหรือเสื่อมสภาพที่จะเกิดขึ้นกับเอกสาร โดยก่อนที่จะป้องกันไม่ให้เอกสารเกิดการชำรุดหรือเสื่อมสภาพได้ จำเป็นต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติของวัสดุที่ผลิตเอกสาร สาเหตุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดการชำรุดหรือเสื่อมสภาพ เพื่อที่จะสามารถเลือกวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเอกสารได้อย่างเหมาะสม และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการที่จะอนุรักษ์เอกสารนั้นๆ ให้คงอยู่ได้ตลอดไป
        3.2. การปฏิบัติการอนุรักษ์ (Conservation Treatment) คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเอกสาร โดยการกำจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นออกไปให้หมด จากนั้นจึงซ่อมแซมหรือเสริมสร้างให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียงสภาพเดิมที่สุด รวมทั้งความแข็งแรง รูปแบบ และเนื้อวัสดุ ทั้งนี้วิธีการที่นำมาใช้จะต้องไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับเอกสารและสามารถแก้ไขกลับไปเหมือนก่อนการปฏิบัติการอนุรักษ์ได้ 
    4. กระบวนการเผยแพร่
        4.1. จัดแสดงนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียนที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
               4.1.1. นิทรรศการถาวร
               4.1.2. นิทรรศการหมุนเวียน
        4.2 จัดทำสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รามาธิบดี
              4.2.1 เผยแพร่ประวัติศาสตร์คำบอกเล่า Oral History
              4.2.2 การทำโปสเตอร์นิทรรศการ
        4.3 จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านจดหมายเหตุ